Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541
พญาไทเพลสเข้าอบส.ก่อนก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด             
 


   
search resources

พญาไทเพลส
ต่อตระกูล ยมนาค




นับว่าเป็นโชคดีอย่างมาก ที่โครงการพญาไทเพลสเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกที่เข้าองค์การ อบส. ได้ทันการตั้งแต่ประมาณเดือนกรกฎาคม 2540 ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนั้นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม.ซี.ซี. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่สนับสนุนโครงการก็ถูกสั่งปิด การก่อสร้างโครงการก็เลยเสร็จเรียบร้อยตอนนี้เลยเร่งยอดขายอย่างเดียวเพื่อใช้เงินคืน อบส.

ต่อตระกูล ยมนาค กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ถือหุ้นรายใหญ่โครงการนี้ได้เปิดเผยว่า เงินกู้ อบส. ประมาณ 265 ล้านบาทนั้นประมาณเดือนธันวาคมได้ใช้คืนไปแล้วประมาณ 160 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามก็ยังมีปัญหาเกิดตามมาเช่นกันคือ จากโครงการทั้งหมดประมาณ 500 ยูนิตนั้นขณะนี้เหลือเพียงประมาณ 60 ยูนิตก็จริง แต่จากจำนวนทั้งหมดที่ขายได้นั้น มีลูกค้ายังค้างโอนอยู่เป็นจำนวนมากเพราะหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวไม่ได้ ทำให้มีโอนไปแล้วเพียง 50% เท่านั้น

"ปัญหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวเป็นปัญหาของโครงการอย่างมาก และเป็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลควรให้ความสนใจ เพราะแม้โครงการนี้จะอยู่ภายใต้การดูแลของ อบส. ซึ่งเป็นองค์การของรัฐแท้ๆ แต่ก็ยังไม่มีเครดิตพอที่จะดึงแหล่งเงินกู้ระยะยาวมาได้" ยุทธนา สันติกุล กรรมการอีกท่านหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

แหล่งเงินกู้ระยะยาวที่ทางโครงการกำลังติดต่อให้ก็เลย มีแต่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งระยะนี้มีคิวการกู้ยาวมาก การโอนก็ล่าช้าตามไปด้วย ทางบริษัทจึงจำเป็นต้องหากลยุทธ์ใหม่ทางการขายเพื่อปล่อยยูนิตที่เหลือให้หมดเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางด้านการเงิน

ต่อตระกูลเป็นอาจารย์และนักวิชาการ ที่คอยเป็นที่ปรึกษาให้ผู้ประกอบการรวยไปแล้วหลายคน วันดีคืนดีช่วงปี 2537 อาจารย์ต่อตระกูล ยมนาค อยากร่ำรวยเองบ้าง จึงชักชวนเพื่อนฝูง และผู้ใหญ่หลายท่านมาทำโครงการเอง คือ พญาไทเพลส อาคารพักอาศัยสูง 29 ชั้น ในพื้นที่ 2 ไร่ใจกลางเมือง บริเวณสี่แยกพญาไท เสร็จเรียบร้อยไปแล้วโดยพกเอาความมั่นใจเต็มร้อยว่า รูปแบบโครงการดีมาก ในขณะเดียวกันทำเลก็ดีกว่าอีกหลายๆ โครงการ เพราะอยู่ในใจกลางธุรกิจของกรุงเทพฯ สถานศึกษา โรงพยาบาล และห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง

แต่จะดีอย่างไรก็หนีไม่พ้น เจอพิษสงเศรษฐกิจตกต่ำฟาดเอาเต็มเปาเหมือนกัน จากจำนวนที่เหลือประมาณ 60 ยูนิตนั้นเป็นยูนิตที่มีขนาดประมาณ 50 ตร.ม. ราคาเฉลี่ยประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งจำนวนนี้หากเป็นช่วงเศรษฐกิจดีๆ ทางเจ้าของโครงการมักจะเก็บไว้ เพื่อรอเวลาปล่อยขายในราคาที่ดีกว่า แต่ ณ ปัจจุบันนี้ยากที่จะคาดเดาได้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ทางบริษัทเลยจำเป็นต้องปล่อยขายซึ่งปรากฏว่า ที่ผ่านมายอดขายจะได้ประมาณเดือนละ 1-2 ยูนิตเท่านั้น และแน่นอนคงต้องใช้เวลาในการขายนานมากกว่าจะหมด

อาจารย์ต่อตระกูล ก็เลยปล่อยหมัดเด็ดออกมาคือพุ่งเป้าไปยังลูกค้าของ 42 ไฟแนนซ์ที่ถูกประกาศปิดไปรอบที่ 2 และปัจจุบันได้ปิดกิจการไปแล้วโดยถาวร ซึ่งกลุ่มนี้จะมีตั๋วเงินฝากอยู่ที่ธนาคารกรุงไทยประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยให้เอาตั๋วเงินฝากนั้นมาแลกซื้อโครงการพญาไทเพลสได้ สำหรับขั้นตอนปฏิบัติของกรณีตั๋วเงินฝากแลกซื้อคอนโดก็คือ ขั้นตอนแรกทางโครงการตรวจสอบว่าตั๋วเงินฝากของลูกค้าเป็นไปตามประกาศของ คปต. 42 หรือไม่ ตรวจสอบมูลค่าตั๋วเงินฝากและอายุของตั๋วเงินฝาก เมื่อถูกต้องแล้วก็คำณวนจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องชำระจริง หลังจากนั้นก็แจ้งให้ลูกค้าดำเนินตามขั้นตอนของ คปต. 42

ต่อจากนั้นก็แจ้งให้ลูกค้าดำเนินการตามขั้นตอนของ คปต. 42 เริ่มจากแจ้งให้ลูกค้ายื่นเรื่องขอเปลี่ยนตั๋วเงินฝากของ 42 ไฟแนนซ์ เป็นตั๋วเงินฝากของธนาคารกรุงไทยขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ เมื่อเปลี่ยนตั๋วเป็นของธนาคารกรุงไทยแล้ว ให้ไปยื่นเรื่องเข้าร่วมโครงการ คปต. 42 ที่ธนาคารกรุงไทยสำนักงานใหญ่ หลังจากยื่นเรื่องแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ทางกรุงไทยจะนัดสลักหลังตั๋ว พร้อมเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยทางธนาคารกรุงไทยจะโอนเงินเข้าบัญชีของลูกค้าในวันทำการถัดไป ตามอัตราที่ระบุไว้ พร้อมทั้งหักภาษีเงินได้ 15%

เมื่อลูกค้าได้รับเงินแล้วก็ให้นำมาชำระส่วนที่เหลือให้กับโครงการพญาไทเพลส หลังจากนั้นก็ทำสัญญาซื้อขาย

"ผมเชื่อมั่นว่า ใน 42 ไฟแนนซ์นั้นต้องมีคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการที่อยู่อาศัยจริง แต่เงินไปติดอยู่ที่สถาบันการเงิน รวมทั้งบางรายอาจจะต้องการเอาตั๋วเงินมาเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินไว้ดีกว่า โดยเฉพาะโครงการของเราที่สร้างเสร็จแล้วและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกวัน" ต่อตระกูล กล่าวย้ำ

ถึงแม้โดยกลยุทธ์นี้ทางโครงการมั่นใจเป็นอย่างมากว่าจะประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตามก็ได้มีการเตรียมแผนต่อๆ ไปไว้รองรับเหมือนกัน เช่นกำลังพุ่งเป้าไปยังลูกค้าที่มีแหล่งเงินแน่นอนเช่นสหกรณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือกรมการแพทย์ทหารบก รวมทั้งได้จัดแคมเปญพิเศษ ประกาศรับสมัครทีมงานขายตรงอิสระ เพื่อให้การขายกว้างขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ว่างงานในตอนนี้ด้วย

ทางออกของบริษัทอีกอย่างหนึ่งก็คือ พยายามเอาโครงการดังกล่าวไปขายต่างประเทศ โดยเฉพาะฮ่องกงและไต้หวัน เพื่อดึงเอายอดขายเข้ามา และหลังจากนี้เห็นทีอาจารย์คงหยุดสร้างโครงการใหม่ไปอีกนานทีเดียว คอยรับเป็นที่ปรึกษาทางด้านเรียลเอสเตทอย่างเดียว จะแน่นอนกว่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us