Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มีนาคม 2548
ลุ้นศาลชี้ขาดประชัยซื้อTPI วายุภักษ์แหยง             
 


   
www resources

โฮมเพจ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (TPI) - ทีพีไอ

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
Chemicals and Plastics
Energy




ศาลล้มละลายกลางนัดตัดสินชี้ขาดกรณี "ประชัย" ขอซื้อหุ้น "ทีพีไอ" ทั้งหมดคืนในวันที่ 9 มี.ค.นี้ คาดสามารถคืนหนี้ให้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ทั้งหมดได้ในปีนี้ ขณะที่วายุภักษ์ 1 ลังเลเข้าเสียบ หวั่นขัดหลักเกณฑ์การลงทุน

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ศาลล้มละลายกลางได้นัดพร้อมพิจารณาคดีกรณีที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ในฐานะ ผู้บริหารแผนลูกหนี้ ซึ่งได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยศาลล้มละลายกลางได้รับคำร้องและนัดพร้อมในวันที่ 9 มีนาคมนี้ โดยเชิญตัวแทนสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ และผู้บริหารแผนเข้าร่วมพิจารณาคำร้อง

ทั้งนี้ นายประชัยร้องขอให้ผู้ถือหุ้นเดิมของทีพีไอมีสิทธิในการซื้อส่วนทุนตามแผนทั้งหมดที่ได้เสนอก่อนหน้า โดยนายประชัยพร้อมซื้อหุ้นคืนทั้งหมด 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามแผนนายประชัยระบุว่าสามารถคืนหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ทั้งหมดภายใน 1 ปี โดยส่วนแรกจะชำระคืน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่วนที่เหลือ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จะคืนในเดือนธันวาคม

"กระบวนการขอซื้อหุ้นทีพีไอคืนของนายประชัยยังคงเดินหน้าต่อไป และนายประชัยก็ยืนยันว่าพร้อมที่จะซื้อหุ้นคืน หากผู้บริหารแผนกระทรวงการคลัง และเจ้าหนี้เปิดโอกาสให้ซื้อคืน" รายงานข่าวระบุ

อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการไกล่เกลี่ยระหว่างนายประชัยกับกระทรวงการคลังและเจ้าหนี้ เพื่อขอซื้อหุ้นคืนในช่วงก่อนหน้าไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากในวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา นายเสงี่ยม สันทัด ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระดับ 10 กระทรวงการคลัง ในฐานะตัวแทนกระทรวงการคลัง ได้แถลงต่อศาลล้มละลายกลางว่า กระทรวงการคลังไม่อาจพิจารณาข้อเสนอในการขอซื้อส่วนทุนตามคำขอของผู้บริหารลูกหนี้ และขอยุติกระบวนการไกล่เกลี่ยหลังจากนี้ไป เพื่อที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และสาเหตุที่ต้องยุติ เพราะมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของกระทรวงการคลังและพันธมิตรที่เข้ามาฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ และไม่ต้องการให้ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย

รายงานข่าวจากคณะกรรมการกองทุนวายุภักษ์ 1 เปิดเผยว่า กองทุนวายุภักษ์ 1 ยังไม่สามารถเข้าไปร่วมลงทุนในทีพีไอได้ เนื่องจากขัดหลักเกณฑ์การลงทุนของวายุภักษ์ 1 เพราะกรอบการลงทุนจะต้องลงทุนในหุ้นที่กระทรวงการคลังถือ และอยู่ใน SET 50 หากไม่มีการปรับเกณฑ์การลงทุนกองทุนวายุภักษ์ จะทำให้ไม่สามารถเข้าไปลงทุนในกิจการของทีพีไอได้ จากที่ก่อนหน้าแสดงความจำนงเข้าลง ทุนในวงเงิน 4 พันล้านบาท

ขณะที่นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า กบข.อยู่ระหว่างการประเมินสถานะทางการเงินของทีพีไอ โดยจะเข้าร่วมลงทุนกับกองทุนไทยทวีทุน ซึ่งถือหุ้นร่วมกับรัฐบาลบรูไน โดยกบข.ได้กันเงินสำหรับลงทุนในทีพีไอประมาณ 4 พันล้านบาท

เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา นายสนิท จันทรวงศ์ ส.ว.อุบลราชธานี และนายบุญเลิศ ไพรินทร์ ส.ว. ฉะเชิงเทรา ในฐานะผู้ถือหุ้น ซึ่งมีส่วนได้เสียในกิจการบริษัททีพีไอ ได้มอบอำนาจแก่ตัวแทนเข้าร้องทุกข์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ดำเนินคดีเพิ่มเติมกับพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์,นายทนง พิทยะ และนายพละ สุขเวช ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานแทนกระทรวงการคลังในการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ โดยกล่าวหาว่า สมรู้ร่วมคิดกันทำให้ทีพีไอได้รับความเสียหาย จากการที่ร่วมกันจัดประชุมคณะผู้บริหารเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2546 อนุมัติว่าจ้าง บริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น ให้เป็นผู้บริหารกิจการและทรัพย์สินของทีพีไอด้วยค่าจ้างเดือนละ 20 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังปฏิบัติไม่ชอบในการอนุมัติค่าตอบแทนคณะผู้บริหารแผนซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจในการรับเงินที่มิควรได้จากภาคเอกชน ประกอบด้วยพล.อ.มงคลเองเดือนละ 1 ล้านบาท, นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา, นายพละ สุขเวช, นายอารีย์ วงศ์อารยะ,นายทนง พิทยะ คนละ 750,000 บาทต่อเดือน และคณะที่ปรึกษาคือ นายนิพัทธ พุกกะณะสุต,นายวิจิตร สุพินิจ, นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ และนายวีระพงษ์ รามางกูร คนละ 200,000 บาทต่อเดือน

ในส่วนของตำรวจได้ตั้งคณะทำงานขึ้น 10 คน เพื่อสืบสวนเรื่องดังกล่าว

โดยการอนุมัติค่าตอบแทนแก่ตัวเองและค่าที่ปรึกษาดังกล่าวมาตั้งแต่กรกฎาคม 2546-มิถุนายน 2547 ประมาณ 12 เดือน ได้ใช้จ่ายเงินทีพีไอไปแล้วกว่า 422 ล้านบาท ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 29.5 ล้านบาท

การร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีบุคคลทั้ง 3 นี้ เป็นการกล่าวโทษเพิ่มเติม จากก่อนหน้านี้ได้แจ้งความดำเนินคดีข้อหาเดียวกันกับร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ อดีตรมว.คลัง ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอ และนายอารีย์ วงศ์อารยะ, นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา และบริษัทซินเนอจี โซลูชั่นกับพวก ซึ่งได้รับแจ้งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นพิจารณาคดีนี้แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us