|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"บล.ภัทร" เผยยังสรุปไม่ได้ "ไทยเบรฟเวอร์เรจ" เข้าตลท.เมื่อไหร่ต้องรอตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุดีลในมือปีนี้ยังมี "ทศท-กสท-โกลว์พลังงาน" ขณะที่บล.ภัทร เตรียมระดมทุนในไตรมาส 2 เสนอขาย 60 ล้านหุ้น พาร์ 5 บ.หวังขยายธุรกิจ เน้นอินเทอร์เน็ตเทรดดิ้ง-บทวิเคราะห์ หวังเพื่อมาร์เกตแชร์นักลงทุนต่างชาติ
นายสุวิทย์ มาไพศาลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด เปิดเผยถึงการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของบริษัท ไทยเบรฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) หรือเบียร์ช้าง ว่า การเข้าจดทะเบียนของเบียร์ช้างไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะเข้าช่วงไหน ขึ้นอยู่กับทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งขณะนี้บริษัทก็อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ
ทั้งนี้ บริษัทรับเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในปีนี้เบื้องต้น 4 บริษัท ซึ่งประกอบด้วย ทศท คอเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TOT, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), บริษัทโกลว์พลังงาน และเบียร์ช้าง
ส่วนความคืบหน้าในการเข้าจดทะเบียนใน ตลท.ของภัทร ซึ่งบริษัทจะเสนอขายหุ้นจำนวน 60 ล้าน มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 5 บาท โดยการคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลท.ประมาณไตรมาส 2/2548 ซึ่งมองว่าเป็นจังหวะที่เหมาะสม เพราะภาวะตลาดดี จากการที่นักลงทุนต่างประเทศยังคงเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทแต่งตั้งบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 800 ล้านบาท
นายสุวิทย์ กล่าวว่า การเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อต้องการเงินระดมทุนเพื่อไปขยายธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ และที่ต้องการเข้าตลท.ในปีนี้เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี
สำหรับในปีนี้บริษัทยังไม่มีแผนที่จะมีการเปิดสาขาใหม่ แต่จะมีการลงทุนในเรื่องของด้านบุคลากร และเรื่องระบบอินเทอร์เน็ตเทรดดิ้ง โดยจะใช้เงินลงทุนในส่วนดังกล่าวประมาณ 5-8 ล้านบาท และบริษัทจะเน้นในเรื่องการทำบทวิเคราะห์ให้มากขึ้น และครอบคลุมทุกกลุ่ม เพื่อช่วยทำให้สัดส่วนลูกค้าสถาบันของบริษัทเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อบริษัทมีลูกค้าสถาบันมากขึ้น ก็จะส่งผลให้บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์)เพิ่มขึ้น จากการที่นักลงทุนสถาบันจะซื้อหุ้นในจำนวนที่มาก
"การที่มาร์เกตแชร์ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับการซื้อขายของนักลงทุนสถาบัน เพราะเมื่อนักลงทุนสถาบันจะมีการซื้อหุ้นในปริมาณที่สูง ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มนักลงทุนสถาบันให้มากขึ้น โดยการทำบทวิเคราะห์ให้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันบริษัทมีมาร์เกตแชร์ในส่วนของนักลงทุนประมาณ 12% ของจำนวนนักลงทุนสถาบันทั้งหมด" นายสุวิทย์กล่าว
|
|
 |
|
|