Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 มีนาคม 2548
ผ่าแผนโละ NPA แสนล้าน บสท.เน้นที่ดินทำเลทอง             
 


   
www resources

โฮมเพจ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย

   
search resources

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
Real Estate




ผ่าแผนบริหารสินทรัพย์อสังหาฯ ของบสท.มูลค่า 6 หมื่นล้าน เน้นทำเลย่านระบบขนส่งรางคู่ ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน บีทีเอส และที่ดินรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ยอมรับครอบครองที่ดินสูงสุดของประเทศกว่าแสนล้าน เชื่อช่วยผลักดันเศรษฐกิจขยายตัว พร้อมเร่งจัดตั้ง Property Company รองรับการโอนเอ็นพีเอ วางแนวทางออกตั๋วเงินและเกณฑ์ผู้ร่วมทุน ดันเข้าตลาดหุ้นแปลงหุ้นเป็นเงินสดคืนเจ้า หนี้ "สมเจตน์" เผยแก้หนี้สำเร็จ 68% พร้อมให้โอกาส ลูกหนี้ที่เหลือแค่กลางปีนี้

นายเชาวรัตน์ เชาวน์ชวานิล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาสินทรัพย์ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยถึงการบริหารจัดการสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ว่า บสท.เปิดทางเลือกไว้หลายช่องทางในการผลักดันให้เอ็นพีเอออกสู่ตลาด โดยในช่วงแรกบสท.ให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ประเภทสิ่งปลูกสร้างและที่ดินในทำเลเครือข่ายระบบรางและขนส่งในกรุงเทพฯ ประกอบด้วยสินทรัพย์ในเครือข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน แอร์พอร์ตลิงก์และสนามบินสุวรรณภูมิ

ทั้งนี้ บสท.ครอบครองที่ดินมากที่สุดในประเทศ ซึ่งมีมูลค่ารวม 6 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่คือ 60% เป็นที่ดินในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีสินทรัพย์อีกบางส่วนที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบประเภทและความชัดเจนอีกครั้ง คาดว่ารวมแล้วสินทรัพย์ดังกล่าวเหลือไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท

นายเชาวรัตน์ กล่าวว่า บสท.กำลังเร่งรวบรวมที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งจะมีการแบ่งประเภทและจัดแพกเกจในการส่งเสริมการขาย สำหรับโครงการที่เริ่มดำเนินการไปแล้วคือโครงการ "เปิดคลังสมบัติสุวรรณภูมิ" ซึ่งจะเปิดให้ดูทรัพย์ในวันที่ 15-17 มี.ค.นี้

วิธีการจัดการเอ็นพีเอของบสท.สามารถส่งเสริมธุรกิจและการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ และการขายทรัพย์จะมีทุกช่องทาง ทั้งจัดกิจกรรมเฉพาะทรัพย์ เปิดประมูลขายเป็นล็อต

"บริเวณหนองงูเห่า เป็นแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้การจำหน่ายทรัพย์มีความคล่องตัวและตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เพราะเป็นแหล่งที่มีศักยภาพสูงอีกทำเลหนึ่ง ขณะนี้มีนักธุรกิจบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่และรายเล็กทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดกว่า 400 ราย มาลงทะเบียนเข้าร่วมประมูล" นายเชาวรัตน์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้กระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ระยะทาง 23 กม.เป็นอันดับแรก จากทั้งสิ้น 7 สายทาง และมีผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ความสนใจทรัพย์ที่เป็นเอ็นพีเอของบสท.ที่อยู่ตามแนวทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง เช่น โครงการพัฒนาอพาร์ตเมนต์ 4 อาคาร ความสูงอาคารละ 8 ชั้น บนพื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน ติดถนนบางใหญ่-รัตนาธิเบศร์ ความคืบหน้าของงานก่อสร้าง 80% โดยเอ็นพีเอแปลงดังกล่าว อยู่ใกล้กับสถานีขึ้น-ลงรถไฟฟ้าสายสีม่วง บริเวณสถานีรัตนาธิเบศร์ ราคาขาย 197 ล้านบาท ซึ่งรูปแบบโครงการสามารถนำไป ปรับเป็นคอนโดมิเนียมได้

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเมโทร ซิตี้ พาร์ค อยู่ใกล้กับโครงการแรกและอยู่ติดถนนกาญจนาภิเษก แผนพัฒนาเดิมเป็นคอนโดมิเนียม พื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ ก่อสร้างเป็นอาคารแล้ว 5 อาคาร ความสูง 7 ชั้น มูลค่าขาย 220 ล้านบาท โครงการนี้ใช้พื้นที่ก่อสร้างไปแล้วเพียงบางส่วน ยังเหลือพื้นที่อีกส่วนใหญ่เกือบ 20 ไร่ ที่จะรองรับการพัฒนาในอนาคตอีก และโครงการบ้านสินทรัพย์นคร วิลเลจ อยู่ติดถนนสายบางรักใหญ่-บ้านใหม่ บางใหญ่ อยู่ด้านหลังโครงการ บางใหญ่ซิตี้ เนื้อที่ 161 ไร่ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ดินเปล่าและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งผังเดิมแบ่งออกเป็น 149 แปลง เดิมมีแผนที่จะสร้างเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น และทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น จำนวน 832 ยูนิต ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง มีเพียงบ้านตัวอย่างจำนวน 5 หลัง มูลค่าขาย 200 ล้านบาท
เร่งตั้ง Property Company

นายเชาวรัตน์ กล่าวถึงความคืบหน้าจัดตั้ง Property Company ว่า เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการจัดการทรัพย์สินของบสท.ที่ต้องการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยรูปแบบจะมีการปรับเปลี่ยนบางส่วนเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ซึ่งจะวางแนวทางไว้ 1.ความเป็นไปได้ของตลาดที่จะรองรับทรัพย์สินนั้นๆ 2. ด้วยความไม่ชำนาญในด้านการพัฒนาอสังหาฯ ทำให้ต้องสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาร่วมทำงาน เพื่อจะได้อาศัยเทคโนโลยีและการตลาดมาเป็นส่วนผลักดัน Property Company ให้เดินหน้า ส่วนเรื่องทุนไม่มีปัญหาเพราะ บสท.มีทุน และ 3. โมเดลที่ให้ผลตอบแทนทั้งสองฝ่ายต้องเอื้อประโยชน์ในการจูงใจให้ผู้ร่วมทุนเข้ามา เช่น เลือกทำเลที่จูงใจให้ผู้ร่วมทุนต้องการพัฒนา ประกอบกับผู้ที่เข้ามาร่วมทุนต้องมีชื่อเสียงที่ดี เป็นต้น

"ช่วงระยะ 3 ปี บสท.จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน Property Company ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาวิธีชำระค่าทรัพย์สินที่บสท.จะโอนมาให้ เช่น อาจจะออกตั๋วเพื่อซื้อทรัพย์โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ย หน้าตั๋ว และเมื่อมีรายได้ค่อยไถ่ถอนตั๋วเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่าย เหมือนที่กรณีธนาคารนครหลวงไทยจัดตั้งเอเอ็มซีเพชรบุรี โดยเอเอ็มซีเพชรบุรีออกตั๋วเอเอ็มซีโน้ตให้ โดย Property Company คาดว่าจะสรุปได้ภายในไตรมาส 3 ในส่วนพร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาและสามารถทำควบคู่ไปกับ Property Company ได้ แต่ส่วนนี้ต้องเกิดก่อน" นายเชาวรัตน์ กล่าว

อนึ่ง ตามแผนเดิมขนาดของทรัพย์สินที่จะโอนให้ Property Company คาดว่าประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท ทั้งนี้เหตุผลหลักๆที่ทำให้ Property Company เดินหน้าช้า เพราะต้องมีการคัดเลือกทรัพย์สินที่จะโอนเข้ามา ราคาซื้อขาย ขณะที่สถาบันการเงิน (เจ้าหนี้) ยังไม่พร้อมที่จะรับโอนหุ้นหลังจากที่จัดตั้ง Property Company ไปได้ระยะหนึ่ง เพียงแต่ต้องการให้บริหารจัดการไปก่อน หลังจากนั้นหากมีโอกาสจะผลักดันเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเปลี่ยนสภาพหุ้นเป็นเงินคืนเจ้าหนี้ แต่ในส่วนนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานสร้างความแข็งแกร่งให้กับ Property Company ทั้งในด้านรายได้ และอนาคตขององค์กร เป็นต้น

ทั้งนี้ การหารายได้จากทรัพย์สิน นายเชาวรัตน์ อธิบายว่า สามารถดำเนินการได้ 2 ประเภท คือ 1. ถ้าเป็นทรัพย์สินประเภทไม่ให้เช่า หากบสท.ต้องการ ให้ทรัพย์เหล่านั้นไม่เสื่อมลงจะเปิดให้ลูกหนี้เช่า เป็นเพียงระยะสั้น หรือ 2.ทรัพย์สินประเภทให้เช่า เช่น โกดัง อาคารสำนักงานจะให้ลูกหนี้เช่าต่อ เพื่อสร้างรายได้ และลูกหนี้สามารถซื้อทรัพย์ได้

แก้หนี้เบ็ดเสร็จกลางปี

นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการ บสท.เปิดเผยความคืบหน้าในการจัดการหนี้ว่า ขณะนี้ได้ข้อยุติคือสามารถตกลงกันได้ 68% หรือกว่า 7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 10% ของมูลหนี้รวม 7.7 แสนล้านบาท หนี้ดังกล่าวอยู่ระหว่างการผ่อนส่ง หากเศรษฐกิจยังขยายตัวต่อไป เชื่อว่าลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตามที่ตกลงกัน โดยยังมีลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการติดต่อขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นครั้งที่ 2 อีก 30% ซึ่งบสท.ได้ยึดสินทรัพย์และหลักประกันลูกหนี้ไว้หมดแล้ว เพียงแต่บสท.ต้องการให้ลูกหนี้ยินยอมที่จะปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกับ บสท. เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป ขณะเดียวกันบสท.ก็ไม่ต้องทำการฟ้องร้องทางกฎหมาย

"ที่ยังไม่มีการเจรจาหรือติดต่อไม่ถึง 2% คาดว่าภายในกลางปี หนี้ทั้งจำนวนจะได้ข้อยุติ หากไม่สามารถตกลงกันได้ บสท.ก็จำเป็นต้องส่งฟ้อง"

นายสมเจตน์ กล่าวว่า ปี2548 เป็นปีที่มุ่งการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ในครอบครองให้กลับมาเป็นเงินสด เพื่อใช้หนี้คืนธนาคาร โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่ของบสท.ในปัจจุบัน เป็นที่ดิน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6 หมื่นล้านบาท นับเป็นหน่วยงานที่มีที่ดินมากที่สุดในประเทศ

"เมื่อการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ได้ข้อยุติทั้งหมด ภาระสำคัญคือ การแปลงที่ดินเป็นเงิน แม้จะไม่ง่ายนักแต่เชื่อว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมดก่อน บสท.จะปิดตัวเองในปี 2553" กรรมการผู้จัดการบสท.กล่าว

ทั้งนี้ บสท.รับโอนหนี้จากสถาบันการเงินรวมทั้งสิ้น 7.7 แสนล้านบาท เป็นหนี้จากสถาบันการเงินของรัฐ 80% เอกชน 20%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us