Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541
สปอร์ท เอช เริ่มทำยี่ห้อใหม่ แชมเปี้ยน จากอเมริกา             
 


   
search resources

สปอร์ท เอช




นับแต่มกราคม 2541 เป็นต้นไป บริษัท ไนกี้ จากสหรัฐฯ จะเข้ามาดำเนินการตลาดขายผลิตภัณฑ์ไนกี้ด้วยตนเองในประเทศไทย นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้บริษัทสปอร์ท เอช ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การขายและทำตลาดให้ผลิตภัณฑ์ไนกี้มาตั้งแต่ปี 2527 ต้องหาสินค้าตัวใหม่เข้ามาทดแทน

แชมเปี้ยนหรือ Champion เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องกีฬาอีกยี่ห้อหนึ่งที่รู้จักกันดีในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในวงการนักบาสเกตบอลและผู้นิยมชมชอบกีฬาชนิดนี้ เจ้าของแบรนด์เนมนี้คือบริษัท ซาร่าห์ ลี ซึ่งมีสินค้าหลากหลายประเภทในความดูแล เช่น กีวี-น้ำยาขัดรองเท้า ขนมเค้ก ซาร่าห์ ลี เป็นต้น

พงษ์ศักดิ์ ธีรนิพัทธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทสปอร์ท เอช จำกัด กล่าวว่า "เราเริ่มวางตลาดสินค้าแชมเปี้ยนตั้งแต่เมื่อต้นปี 2540 ที่เรารู้ว่าไนกี้จะไม่ต่อสัญญาให้เราโดยการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ แต่ตอนหลังค่าเงินและภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เราขอลิขสิทธิ์มาผลิตเอง ซึ่งตอนนี้เราก็ได้มา 4 อย่าง คือ หมวก กระเป๋า ถุงเท้า และรองเท้า"

แชมเปี้ยนเป็นสินค้าที่กลุ่มลูกค้าวัยรุ่นสหรัฐฯ รู้จักเป็นอย่างดี แม้ยี่ห้อนี้มูลค่าสินค้ารวมจะไม่ติดอันดับ top five แต่ในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าบาสเกตบอลแล้วอยู่ในอันดับ top ten และสินค้าเสื้อผ้านั้นบริษัทฯ ก็กำลังเจรจาของสิทธิ์ในการผลิต คาดว่าจะได้ในปีนี้ โดยลิขสิทธิ์ที่ได้จะมีอายุประมาณ 3 ปี

ทั้งนี้ สปอร์ท เอช ขายสินค้าไนกี้มาตั้งแต่ยอดขายแค่ 2-3 ล้านบาทในปีแรกๆ (2527) มาถึงจุดสูงสุดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ทำยอดขายได้ถึง 600 ล้านบาท

ส่วนยอดขายแชมเปี้ยนในปีนี้ประมาณการไว้ที่ระดับ 200 ล้านบาท โดยมีงบการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ในช่วงแรกนี้ประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่ได้มากมายนักและทางบริษัทแม่คือซาร่าห์ ลี ไม่ได้ช่วยเรื่องงบ แต่ช่วยเรื่องตัว print งานโฆษณา แต่ส่วนมากบริษัทต้องทำเอง เนื่องจาก print โฆษณาตัวนั้นไม่เหมาะสมกับตลาดไทยเท่าใดนัก

ในเรื่องอัตราการเติบโตของยอดขายนั้น พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า "เราไม่กล้าทำนายเลย เพราะอย่างไนกี้ที่ปีที่แล้วเรายังทำอยู่นั้น ในตอนต้นปีเราทำนายว่าต้องโต 10% แต่ก็พอทราบว่าเศรษฐกิจไม่ค่อยดี พอกลางปีเมื่อมีปัญหาจริง เราก็พยายามรักษาตัวเลขไว้"

ทั้งนี้ ปี 2540 ที่ผ่านมา สปอร์ตเอชทำยอดขายไนกี้ได้รวม 600 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดขายที่เท่ากับปีก่อนหน้าหมายความว่าไม่อาจเติบโตได้ 10% ตามที่คาดหมายตั้งแต่ต้นปี

"ผมก็ถือว่ายอดขายเราไม่ได้ตก เพียงแต่ว่าไม่ได้พุ่งสูงเท่านั้น"

สำหรับสินค้าแชมเปี้ยนนั้น พงษ์ศักดิ์กล่าวถึงอนาคตว่า "ในกรณีที่สินค้าที่ผลิตในไทย หากมีรูปแบบและคุณภาพในระดับที่พอใจและราคาซื้อขายสามารถตกลงกันได้ เราก็จะมีการส่งออกไปให้ แชมเปี้ยน ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะฮ่องกง แต่เราก็คงต้องเจอคู่แข่ง ไม่ว่าจะในจีน อินโดนีเซีย หรือกระทั่งเวียดนาม"

ในจีนนั้นยังไม่ได้มีการวางผลิตภัณฑ์แชมเปี้ยน แต่มีการสั่งให้ออกไปที่ญี่ปุ่น ซึ่งที่นั่น บริษัท ซาร่าห์ ลี เป็นคนไปทำตลาดเอง "เราก็หวังว่าต่อไป บริษัทอาจจะมาสั่งจากไทยบ้าง เพราะว่าในเรื่องของราคานั้น เราสามารถแข่งขันได้ แต่ตอนนี้ priority ของเราคือการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์เนมของเขา และวางตลาดในประเทศให้ได้ดีก่อน"

หากสปอร์ท เอช จะไปวางขายที่ประเทศอื่นนั้นต้องให้บริษัทแม่เป็นคนสั่งให้บริษัทฯ ผลิต และเขาจะเป็นคนเอาไปจำหน่ายในตลาดต่างๆ เอง เพราะสินค้านี้มีลิขสิทธิ์

ทั้งนี้ regional headquater ของซาร่าห์ ลี ตั้งอยู่ที่ฮ่องกง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง และมีอีกบริษัททำหน้าที่เป็นตัวแทนขายไลเซนส์ให้ผู้อื่นไปดำเนินการผลิตในประทศนั้นๆ

สินค้าที่สปอร์ต เอช ผลิตภายใต้แบรนด์เนมดังต่างๆ นั้นมีส่วนประกอบที่เป็นวัตถุดิบพื้นเมืองอยู่ไม่น้อย บางชิ้นมีถึง 100% เช่น หมวก และกระเป๋าบางรุ่นก็ใช้วัตถุดิบในประเทศ 100% บางรุ่นก็มีการนำเข้าผ้าจากไต้หวัน เป็นต้น แม้กระทั่งรองเท้านั้น ก็พยายามใช้วัตถุดิบในประเทศให้มากที่สุดบางรุ่นใช้ได้ถึง 80% แต่บางรุ่นอาจจะได้แค่ 50% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าสามารถหาวัตถุดิบในประเทศได้หรือไม่

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา สปอร์ต เอช มีสินค้ารุ่นเดียวที่ออกมา เป็นรองเท้าผ้าใบสำหรับเทนนิสหรือบาสเกตบอลสำหรับคนที่ไม่ชอบใส่หุ้มข้อ และในปีนี้บริษัทฯ จะเริ่มมีออกมาหลายแบบ ทั้งรองเท้าวิ่ง บาสเกตบอล รองเท้าฟุตบอล

นอกจากธุรกิจตัวนี้แล้ว บริษัทฯ ได้เปิดร้าน sport zone เพื่อขายเครื่องกีฬาหลายๆ ยี่ห้อหลายๆ แบบ มีทั้งแชมเปี้ยน ไนกี้ แพน อาดีดาส ฯลฯ โดยเน้นหนักเทนนิสและฟุตบอล ตอนนี้อยู่ในช่วงดำเนินการปรับปรุงตกแต่งใหม่จากร้านค้าเดิมที่มีอยู่ ซึ่งคาดว่าจะเปิดได้ 10 แห่ง แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ 7 แห่ง และต่างจังหวัด 3 แห่ง ซึ่งใช้งบประมาณทำ sport shop ประมาณ 10 ล้านบาท

ตลาดรวมของรองเท้าที่เป็นอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ มีอัตราการเติบโตปกติปีละ 15%-20% แต่ปีนี้ไม่น่าจะโตและใน 2 ปีนี้ก็ไม่น่าจะโต "แต่ก็ไม่แน่ ผมกำลังมองในมุมที่ว่า มองวิกฤติให้เป็นโอกาสนั้น มันก็อาจจะเป็นไปได้คือคนจะมีเวลามากขึ้น จะออกกำลังกายเพื่อคลายเครียดมากขึ้น ดังนั้น แทนที่ตลาดจะไม่โตก็อาจจะโตขึ้นมาเพราะเหตุนี้ได้"

นอกจากแชมเปี้ยนแล้ว พงษ์ศักดิ์คาดว่าจะทำยี่ห้ออื่นอีก ทั้งนี้วัตถุประสงค์ที่ตั้งบริษัท สปอร์ท เอช ขึ้นมาเมื่อปี 2527 นั้นก็เพื่อจำหน่าย ไนกี้ อย่างเดียว ไม่ได้ทำยี่ห้ออื่นเลย จนกระทั่งมาทราบว่าไนกี้ไม่ต่ออายุให้ บริษัทจึงไปติดต่อยี่ห้อแชมเปี้ยนมา "จากนี้เราจะเปลี่ยน โดยเรากำลังติดต่อยี่ห้ออื่นเข้ามาเพิ่มอีก 2-3 ยี่ห้อ ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่มีปัญหากับแชมเปี้ยน ในตัวสัญญาเราเขียนไว้ชัดเจน แต่ในช่วงที่ผ่านมานั้นเนื่องจากตลาดขยายมาก เราไม่มีเวลาไปดูยี่ห้ออื่น ได้แต่ทำตัวที่เราขายอยู่ให้ดีที่สุดเท่านั้น"

ซึ่งยี่ห้อที่บริษัทฯ กำลังติดต่ออยู่นั้น ต้องรอดูเวลาอีกสักพัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีเวลานี้ทำให้ต้องใช้เวลาอีกระยะในการตัดสินใจ

สปอร์ท เอช เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่มสหยูเนี่ยน กับกลุ่มสหพัฒน์ โดยมีบริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง ถือหุ้น 25% บริษัท บางกอกรับเบอร์ 25% และบริษัทสหยูเนี่ยน 50% ดังนั้นบริษัทแม่จึงเป็นบริษัทมหาชนทั้งนั้น ซึ่งก็ช่วยเอื้อประโยชน์ในการติดต่อธุรกิจกับต่างชาติ เพราะเขาจะมีความมั่นใจในบริษัท

"ผมทำงานอยู่กับกลุ่มนี้มานาน โดยทำตัวไนกี้มาตั้งแต่ปี 2523 ที่เราติดต่อเอาเข้ามาผลิตและปี 2525 ติดต่อเข้ามาจำหน่าย จนปี 2527 ที่ตั้งสปอร์ท เอช มาขายไนกี้อย่างจริงจัง" พงษ์ศักดิ์กล่าว

มูลค่าตลาดของเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋ากีฬาอยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านบาท ในส่วนของแบรนด์ต่างประเทศ (ไม่รวม แพน บาจา) ซึ่งมาร์เก็ตแชร์ของไนกี้อยู่ที่ประมาณ 50% อาดิดาสประมาณ 20-25% รีบอคตกอันดับไปอยู่ที่ 10% -15% ที่เหลือก็เป็นแบรนด์เล็กๆ

พงษ์ศักดิ์อธิบายว่า "ปัจจัยที่ทำให้ไนกี้ขายดีคือ แนวคิดที่เราสร้างไนกี้มานั้นก็คือเราผูกกับกีฬามาตลอดว่ากีฬาก็คือไนกี้ โดยเฉพาะกีฬาวิ่ง ซึ่งเราให้การสนับสนุนหรือจัดการวิ่ง เช่น วิ่งเพื่อสุขภาพ วิ่งแบบ 10 กิโลฯ วิ่งมาราธอนต่างๆ ทุก match ที่เราจัดนั้นเพื่อการกุศลทั้งนั้น ซึ่งนี่เป็นนโยบาย เรายอมรับว่าไนกี้โตมากับการวิ่งเป็นหลักจะขายดีมากในเรื่องรองเท้าวิ่ง

ส่วนตัวแชมเปี้ยนนั้น แม้ว่าจะมีภาพลักษณ์เป็นบาสเกตบอล เราก็ยังคงภาพนั้นไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ก็จะเน้นเรื่องกีฬาด้านอื่นๆ ด้วย

อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่สินค้าเครื่องกีฬามีมูลค่าตลาดที่โตขึ้นมานั้น ส่วนหนึ่งก็เกี่ยวกับความนิยมเรื่องการรักษาสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นของคนไทยด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us