Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541
Reader's Digest เล่มเล็กแต่ตลาดไม่เล็ก             
 


   
search resources

Reader's Digest
ศุภชัย สุนทรผดุงสิน
Periodicals




กุมภาพันธ์ปี 2465 หนังสือ Reader's Digest ได้ปรากฏโฉมสู่สายตาชาวโลกเป็นเล่มแรก และนับจากนั้นเป็นต้นมาหนังสือหลายเล่ม หลายภาษา รวมทั้งสินค้าด้านเทคโนโลยี ต่างทยอยออกมาจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และปัจจุบัน Reader's Digest สามารถเข้าไปอยู่ในหัวใจของนักอ่านทั่วโลก ดูได้จากขณะนี้มียอดขายเดือนละ 27 ล้านฉบับจาก 19 ภาษา ผลการดำเนินงาน 3 ปีล่าสุด โดยปี 2538-2540 (สิ้นสุด 30 มิถุนายน) ที่มีรายได้ 3,068.5, 3,098.1 และ 2,839 ล้านเหรียญสหรัฐ และกำไรสุทธิปี 2538-2540 เท่ากับ 264, 80.6 และ 133.5 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ

โดยมีส่วนแบ่งรายได้จากอเมริกา 45% ยุโรป 41% และเอเชียแปซิฟิกและตลาดอื่นๆ 16% และมีผลิตภัณฑ์หลักๆ คือ หนังสือความรู้ทั่วไปและสิ่งบันเทิงต่างๆ สามารถทำรายได้สูงถึง 65% ของรายได้ทั้งหมด รองลงไป คือ นิตยสาร Reader's Digest 26% ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 6% และนิตยสารเฉพาะด้าน 3%

สำหรับคนไทยรู้จักหนังสือ Reader's Digest ที่แปลเป็นภาษาไทย ในนาม "Reader's Digest สรรสาระ" ที่เข้ามาบุกตลาดคนไทยเมื่อปี 2538 และเล่มแรกที่ออกวางจำหน่ายเมื่อเดือนเมษายน 2539 ขนถึงปัจจุบันมียอดจำหน่ายต่อเดือนสูงถึง 116,314 ฉบับ (ตรวจสอบและรับรองอย่างเป็นทางการโดย Audit Bureau of Circulations : ABC)

จุดเริ่มต้นของ Reader's Digest ในไทย เกิดจากความมั่นใจของบริษัทแม่ที่อเมริกาคาดว่าในอนาคต ตลาดนักอ่านในไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่นมาแล้ว ดังนั้น จึงได้ตั้งบริษัทลูกขึ้นชื่อ บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมี ศุภชัย สุนทรผดุงสิน เป็นกรรมการบริหารผู้จัดการใหญ่ ด้วยทุนจดทะเบียน 4 ล้านเหรียญสหรัฐ

"เราเริ่มจากไม่มีอะไรเลยในการตั้ง Reader's Digest ในไทย ช่วงแรกๆ ต้องรับการช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในอเมริกาและ Reader's Digest ในฮ่องกงอย่างมาก เดี๋ยวนี้เรายังต้องการพี่เลี้ยงเหมือนเดิมทั้งวิธีการผลิต บริหาร หรือด้านข้อมูล" ศุภชัย กล่าว

จากตัวเลขยอดขายที่ทำได้ระดับแสนเล่มภายในไม่ถึง 2 ปี นับว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียว เป็นผลมาจากการทำตลาดแบบเชิงรุกด้วยการส่งจดหมายไปตามที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งในจดหมายนั้นมีทั้งใบตอบรับสมาชิก ใบชิงโชครางวัลต่างๆ โดยผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกก็สามารถมีสิทธิ์ชิงรางวัลได้ ด้วยวิธีการทำตลาดดังกล่าวในไทยนี้ถือว่ายังใหม่อยู่มาก

วิธีการตลาดดังกล่าวของ Reader's Digest หลายๆ คนที่ได้รับจดหมายนอกจากจะได้รับใบตอบรับสมาชิกหรือใบชิงรางวัล ยังจะได้รับของชำร่วยต่างๆ นานา หรืออาจจะได้รับใบเสร็จรับเงินทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก แม้บางคนจะไม่ตอบกลับแต่ก็ยังจะได้รับจดหมายอยู่บ่อยครั้ง วิธีการนี้อาจเรียกได้ว่า ตื๊อเท่านั้นที่จะครองโลก แต่ทำให้เกิดความไม่พอใจและหงุดหงิดต่อหลายคนพอสมควร

"ช่วงแรกๆ จะส่งจดหมายไปตามบ้าน และเนื่องจากเรายังใหม่มากคนไทยไม่รู้จักและยังไม่เข้าใจ ทำให้คนที่ได้รับจดหมายโทรเข้ามาและไถ่ถามว่า 'อะไร' นี่คือปัญหาของเรา และบางคนยังโทรมาบอกว่าวิธีการอย่างนี้เป็นวิธีการไม่ถูกต้อง 'หลอกลวง' แต่ช่วงนี้ก็เริ่มลดลงจนเกือบหมดแล้ว และเราคาดว่าปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะค่อยๆ หมดไปและคาดว่าไม่เกิน 5 ปีการทำงานของเราจะง่ายขึ้นกว่านี้" ศุภชัย กล่าว

จากยอดขายรวมทั้งหมดต่อเดือนเกือบทั้งหมดจะมาจากการเป็นสมาชิกที่มีสูงถึง 111,959 ฉบับ จำหน่ายตามแผงทั่วไป 4,000 ฉบับ และจำหน่ายให้กับบริการการบินไทยอีก 355 ฉบับ และจากข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกของ Reader's Digest ในไทยปรากฏว่าผู้อ่านจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ 90.5% ต่างจังหวัด 9.5% โดยผู้อ่านส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 26-35 ปี รองลงไปอายุประมาณ 36-45 ปี มีรายได้อยู่ในช่วง 25,001-75,000 บาทต่อเดือน และส่วนใหญ่จะเป็นผู้บริหารภาคเอกชน รองลงไปเป็นภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจนั่นหมายความว่าผู้อ่าน Reader's Digest ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดประมาณ 85% จะมีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า

ที่ผ่านมา ศุภชัย ได้นำหนังสือเข้ามาจำหน่ายในไทยเพียงไม่กี่เล่ม โดยหนังสือที่สามารถทำรายได้ให้ Reader's Digest ประเทศไทยมากที่สุดเป็นหนังสือความรู้ทั่วไป เทป วิดีโอ ประมาณ 55% นิตยสาร Reader's Digest สรรสาระประมาณ 35% และจากค่าโฆษณาประมาณ 10% และสามารถทำยอดขายให้บริษัทแม่เป็นอันดับ 4 รองจากไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินเดีย ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามการรุกด้านการตลาดในไทยยังไม่เต็มที่ เพราะหนังสือที่บริษัทจะนำเข้ามาหรือผลิตออกมาจำหน่ายยังมีอีกมาก เรื่องนี้ ศุภชัย เปิดเผยว่า ปี 2541 จะมีหนังสือออกวางจำหน่าย คือ หนังสือเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ, การปรุงอาหาร, ความเร้นลับด้านธรรมชาติและศาสตร์แห่งศัพท์ ซึ่งจะเน้นภาษาอังกฤษ

"คิดว่าคนไทยยังอ่านหนังสือเราไม่มาก ตัวเลขแสนเล่มยังน้อยไป ซึ่งตามความรู้สึกน่าจะประมาณ 3 แสนเล่ม เพราะพฤติกรรมการอ่านหนังสือคนไทยยังไม่มากเท่ากับฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ดังนั้นเราคาดว่าในอนาคตการอ่านหนังสือคนไทยจะมากขึ้นเรื่อยๆ และเราจะบุกตลาดมากขึ้น"

และในปี 2541 นี้ นับว่าเป็นก้าวสำคัญของ Reader's Digest ในไทยอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นปีแห่งความซบเซาทุกวงการ ดังนั้นคนไทยส่วนใหญ่จะต้องประหยัดกันมากขึ้น การใช้จ่ายคงต้องคำนึงถึงความจำเป็นสำคัญเช่นเดียวกับการใช้จ่ายเพื่อซื้อหนังสือสักเล่ม เรื่องนี้ ศุภชัย เล่าว่า นโยบายของบริษัท คือ การไม่ขึ้นราคาซึ่งจะเน้นปริมาณยอดขายดีกว่าขึ้นราคาแล้วยอดขายลดลง

"และปีนี้การเติบโตเราจะสวนกระแส โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ว่าจะโตกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 10% และมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 900% สาเหตุที่สูงเช่นนี้เพราะมีสินค้ามากขึ้น อีกทั้งค่อนข้างโชคดี คือ รายได้จากค่าโฆษณาจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20% จากที่เคยทำได้เดือนละ 1 ล้านบาท" ศุภชัย กล่าว

คงจะต้องติดตามกันต่อไปว่าหนังสือระดับโลกอย่าง Reader's Digest จะฝ่าฝันเศรษฐกิจปี 2541 ไปได้หรือไม่ เพราะหลายๆ คนยังดูไม่ออกว่าอัตราการเติบโตที่ผ่านมาเป็นของจริงหรือของปลอม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us