Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541
แนวคิดสุทธิพล ทวีชัยการ กับศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ             
 


   
search resources

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
สุทธิพล ทวีชัยการ




"คดีทรัพย์สินทางปัญญาและคดีการค้าระหว่างประเทศมีความยุ่งยากซับซ้อน และมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและคดีแพ่งโดยทั่วไป" เหตุผลหลักนี้ทำให้เป็นที่มาของการตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งต้องการให้เกิดศาลชำนัญพิเศษ พิจารณาคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 ด้วยความเชื่อมั่นของกระทรวงยุติธรรมที่จะทำให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นศาลระบบใหม่ที่มีความทันสมัย และเป็นสากลสอดคล้องกับระบบการค้าระหว่างประเทศที่มีการขยายตัวมากขึ้น

สำหรับประเทศไทยเองนั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญานี้ เป็นศาลเดียวในโลกที่เป็นที่รวมของการตัดสินคดีความด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศเข้าไว้ด้วยกัน เปิดดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2540 ที่ผ่านมา

สุทธิพล ทวีชัยการ ซึ่งรับหน้าที่เป็นเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลางกล่าวย้ำบทบาทว่า เป็นเขตอำนาจพิพากษาเฉพาะคดีด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ ที่มีวิธีพิจารณาพิเศษแตกต่างจากคดีทางอาญา และคดีแพ่งทั่วไป อธิบดีศาลมีอำนาจในการออกข้อกำหนด และมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในกิจการหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิพากษาสมทบ

ที่สำคัญก็คืองานของศาลนี้ต่างจากระบบของศาลทั่วไป การดำเนินงานของศาลต้องได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ คำตัดสินของศาลต้องอยู่ในระดับมาตรฐานสากล

ขั้นตอนที่จะพิจารณาก็ต้องมีความรวดเร็วรัดกุม ไม่ต้องมีการพิจารณาถึงระดับ 3 ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา แต่จะมีการพิจารณาเนื้อหาของคดีโดยละเอียดก่อนส่งเข้าทำการพิจารณา

หากฝ่ายโจทก์ หรือจำเลยยังไม่พอใจต่อคำตัดสินนั้น สามารถทำเรื่องอุทธรณ์ถึงระดับศาลฎีกาได้เลย และระดับผู้พิพากษาประจำ 2 ท่านที่นั่งบัลลังก์ในศาลนี้ ก็ถูกคัดสรรมาจากผู้พิพากษาในระดับ 5 ถึงระดับ 6 ขึ้นไป ซึ่งมีอำนาจเท่าเทียมถึงในระดับศาลฎีกา จึงทำให้สามารถตัดขั้นตอนในระดับศาลอุทธรณ์ได้ และเป็นผู้มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และการพิจารณาตัดสินส่วนใหญ่ต้องใช้ภาษาสากล

สุทธิพลกล่าวว่า การเกิดของศาลแห่งนี้ไม่ได้มาจากแรงบีบของต่างประเทศ ด้านสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญากับการค้าระหว่างประเทศ ที่ต้องการให้ไทยคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญากับประเทศคู่ค้า แต่คดีความที่เกิดขึ้นในศาลที่ผ่านมานั้น ไม่ว่าจะเป็นคดีทางแพ่ง หรือทางอาญา ได้รับการร้องเรียนเสมอว่าศาลนั้นขาดความรู้ความสามารถและไม่คล่องตัวเพียงพอที่จะใช้ได้

ทั้งนี้ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ต้องการทราบว่ากฎหมายของไทยให้ความคุ้มครองกับผู้ลงทุนมากน้อยแค่ไหน หากเห็นว่ากฎหมายไทยมีความเป็นสากลและให้ความคุ้มครองได้เหมือนนานาประเทศ ก็จะให้ความไว้วางใจในการเข้ามาทำกิจการในประเทศไทย

เสียงร้องเรียนดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมเองก็ได้เร่งหาวิธีการที่จะทำให้ศาลที่พิจารณามีความรู้ความสามารถมากขึ้น

เริ่มด้วยการตั้งแผนกเฉพาะที่เกี่ยวข้องฝึกอบรม ให้ความรู้กับผู้พิพากษาวิชาเฉพาะการส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขให้ดีขึ้นได้เต็มที่ เพราะผู้พิพากษาถูกโยกย้ายสับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา จึงหาผู้ชำนาญเฉพาะด้านไม่ได้

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ นี้ให้อำนาจที่จะสามารถคัดเลือกผู้พิพากษาศาลสมทบ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้พิพากษาจริง แต่เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารกิจการ นักวิชาการ ข้าราชการระดับสูง ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ และมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะในกิจการที่เป็นคดีกันอยู่ อันจะช่วยให้ศาลฯ มีความรู้อย่างแท้จริงในการตัดสินคดีที่เป็นข้อพิพาทกันอยู่

ผู้พิพากษาศาลสมทบที่มีอยู่ทั้งสิ้น 40 คน จากผู้สมัครจำนวน 119 คน ที่คัดเลือกเหลือ 48 คนและผ่านการฝึกอบรมจนเหลือจำนวน 40 คน ที่จะเข้าร่วมพิจารณาคดีกับผู้พิพากษาประจำ 18 คน

"การคัดเลือกนั้น เราใช้ความเข้มงวดอย่างมาก ผู้สมัครแต่ละท่านทั้งที่สมัครเองและถูกเสนอชื่อเข้ามา ต้องมีการพิจารณาถึงวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ด้านการทำงานซึ่งจะมีผู้บริหารบริษัทที่มีชื่อเสียง ซึ่งจบการศึกษาจากต่างประเทศ มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดี เนื่องจากมีความจำเป็นในการพิจารณาคดี และผ่านการฝึกอบรมอย่างเข้มงวด ก่อนที่จะได้รับการบรรจุเข้าเป็นผู้พิพากษาสมทบ"

ไม่เพียงแต่บุคลากรจากภายนอกที่ต้องใช้ผู้มีความสามารถอย่างมาก แม้แต่บุคลากรในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เองนั้น ก็ต้องมีการผ่านการคัดเลือก และฝึกอบรมตั้งแต่อธิบดีผู้พิพากษาฯ อัครวิทย์ สุมาวงศ์ ซึ่งจบการศึกษาด้านกฎหมายจากประเทศอังกฤษ

สำหรับสุทธิพล ในตำแหน่งเลขานุการศาลฯ นั้นจบการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2525 และได้ทุนเล่าเรียนหลวงจากมูลนิธิอานันทมหิดลไปศึกษาปริญญาโทด้านกฎหมาย และทรัพย์สินทางปัญญาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปริญญาโทด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย จากนั้นก็ได้ทุนจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านการวิเคราะห์อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ

และยังได้ร่วมทำงานในบริษัทที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศหลายแห่ง ที่สหรัฐฯ เป็นเวลา 2 ปีก่อนเดินทางกลับประเทศไทย และเข้าทำงานเป็นนิติกร 5 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ก่อนย้ายโอนมาเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา และจับงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเต็มตัว ทำให้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขานี้

สุทธิพลเชื่อมั่นว่าประสบการณ์ด้านกฎหมายในสหรัฐอเมริกาด้วยเวลาถึง 9 ปีนั้นจะสามารถนำมาใช้ปรับปรุงกิจการของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันสมัย ตั้งแต่งานด้านห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ที่เชื่อมต่อกับนานาประเทศ การออนไลน์ระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานของศาล ตลอดจนมาตรการด้านรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับศาลที่พิจารณาคดีความ

แม้จะต้องใช้เวลาถึง 5 ปีกว่าจะลงตัว เนื่องจากรัฐบาลยังติดขัดในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ

งานด้านคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ประมาณ 700-800 คดีต่อปี กับคดีด้านการค้าระหว่างประเทศประมาณ 1,000 คดีต่อปี คดีส่วนใหญ่เป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หากมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต อาจต้องมีการแยกจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศจากกัน

ไม่เพียงเป็นการรองรับนักลงทุนจากต่างประเทศ สำหรับคนไทยเองนั้นก็จะได้รับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา และทำการค้าระหว่างประเทศทัดเทียมกันด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us