Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541
คาเธ่ย์แคปปิตอลเดินหน้า ยันปิดคาเธ่ย์ทรัสต์ไม่กระทบ             
 


   
search resources

คาเธ่ย์แคปปิตอล, บล.
ธนาธิป วิทยะสิรินันท์




การประกาศปิดตาย 56 ไฟแนนซ์ คือบทสรุปของการแก้ปัญหาเบื้องต้นของรัฐบาลไทย มีเพียง 2 สถาบันการเงินเท่านั้นที่แผนฟื้นฟูผ่านและได้เปิดดำเนินงานต่อไป เนื่องจากมีเม็ดเงินจากต่างชาติเข้ามาเพิ่มทุนจำนวนมาก คือ บงล. บางกอกอินเวสเม้นท์ และ บงล. เกียรตินาคิน

ส่วน บง. คาเธ่ย์ทรัสต์นั้นนับว่าเป็น 1 ใน 56 ไฟแนนซ์ที่สิ้นชื่อในครั้งนี้ อย่างไรก็ดี ธนาธิป วิทยะสิรินันท์ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายวาณิชธนกิจ บล. คาเธ่ย์แคปปิตอล ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า การปิดตัวของคาเธ่ย์ทรัสต์นั้นไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัท

"การดำเนินงานของเราไม่เกี่ยวกันเลย มีก็แต่เรื่องโครงสร้างผู้ถือหุ้นเท่านั้นที่ยังไม่ได้แยกออกมาเนื่องจากเดิม บง. ต้องถือหุ้นใน บล. เป็นเวลา 6 เดือนก่อน จึงจะแยกออกมาได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตอนโอนสินทรัพย์ รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เราแยกการดำเนินงานออกจากคาเธ่ย์ทรัสต์เมื่อประมาณต้นปี ก็ต้องให้ บง. ถือหุ้นอยู่ 6 เดือน พอเราทำเรื่องขอออกมาก็มีการประกาศปิดไฟแนนซ์พอดี เรื่องก็เลยยังค้างอยู่" ธนาธิปอธิบาย

อย่างไรก็ตามกลุ่มพานิชชีวะ และศรีเฟื่องฟุ้ง ยังแสดงความจำนงที่จะซื้อหุ้นของคาเธ่ย์แคปปิตอลออกมาเพื่อถือไว้โดยตรง ซึ่งขณะนี้ต้องรอตามขั้นตอนของทางการว่าจะขายสินทรัพย์ของคาเธ่ย์ทรัสต์ออกมาเมื่อไหร่

"เราก็อยากให้เร็วที่สุดเพราะตอนนี้มีปัญหาเรื่องภาพมันไม่ชัด กลัวว่าคนจะเข้าใจผิดว่าเราเกี่ยวด้วยหรือเปล่า แต่จริงๆ เราแยกออกมาเรียบร้อยแล้วแต่มันผิดเวลาไปหน่อย เรื่องจึงยังไม่เรียบร้อย แต่ผู้ถือหุ้นเราก็พร้อมจะซื้อออกมา"

สำหรับเรื่องเงินที่กู้มาจากคาเธ่ย์ทรัสต์ประมาณ 200 ล้านบาทนั้น บริษัทได้เตรียมเงินสดไว้แล้วตั้งแต่ที่มีการปิดไฟแนนซ์เมื่อประมาณกลางปี หากว่าจำเป็นต้องใช้คืนก็สามารถจ่ายคืนได้ ซึ่งอาจจะทำให้วงเงินหมุนเวียนของบริษัทลดลงไปบ้าง ทำให้ความยืดหยุ่นในระยะสั้นมีน้อยลง แต่ก็ไม่มีปัญหาเรื่องที่จะขาดสภาพคล่อง ซึ่งทางบริษัทได้ทำเรื่องชี้แจงกับทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว

ทั้งนี้เงินกู้ดังกล่าวจะถึงกำหนดชำระภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งธนาธิปเชื่อว่าตามเกณฑ์ของทางการแล้ว คาเธ่ย์แคปปิตอลจะต้องย้ายไปเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่ดีต่อไป จนกว่าจะครบกำหนดชำระ และน่าจะต่ออายุได้เนื่องจากที่ผ่านมาคาเธ่ย์แคปปิตอลเป็นลูกหนี้ชั้นดีมาตลอด

อย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจ คาเธ่ย์แคปปิตอลยังมองหาผู้ร่วมทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นอยู่ โดยเน้นผู้ร่วมทุนที่จะเข้ามาพัฒนาธุรกิจร่วมกันอย่างจริงจังมิใช่เข้ามาซื้อหุ้นทั้ง 100% หรือ 80% เพื่อใช้เป็นที่ผ่านออร์เดอร์เท่านั้น

ธนาธิปชี้แจงว่า "เราไม่ได้ต้องการขายบริษัททิ้งแล้วก็ไป เราต้องการคนที่เข้ามาช่วยกันทำธุรกิจ เพราะเชื่อว่าธุรกิจนี้ยังไปได้ พัฒนาได้ และยังมีโอกาสอีกมาก"

ที่ผ่านมามีบริษัทต่างประเทศเข้ามาพูดคุยด้วยหลายราย แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศไทยไม่มีความแน่นอน ทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการตัดสินใจ ขณะเดียวกันทางคาเธ่ย์แคปปิตอลก็มองว่าไม่ควรจะรีบเร่งนัก เพราะยังไม่อยากขายในราคาถูกระหว่างนี้ จึงควรจะร่วมมือกันไปก่อนโดยที่ยังไม่ต้องเข้ามาร่วมทุน

บล. คาเธ่ย์แคปปิตอลกำลังเตรียมการเซ็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับโบรกเกอร์ต่างชาติรายหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือกันในเรื่องของงานวิจัย ส่วนทางด้านวาณิชธนกิจและการบริหารสินทรัพย์นั้นจะตกลงกันเป็นแต่ละกรณีไป และในระหว่างนี้ต่างฝ่ายต่างก็สามารถเจรจาเรื่องร่วมทุนกับรายอื่นได้อย่างเปิดกว้าง แต่หากว่าการร่วมมือทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี การร่วมทุนกันในอนาคตก็อาจจะตามมาในที่สุด

สิ่งที่คาเธ่ย์แคปปิตอลคาดหวังจากการร่วมทุนกับต่างชาติก็คือ ต้องการเครือข่ายต่างประเทศในการส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา และเมื่อมีงานวาณิชธนกิจก็สามารถขายไปได้ทั่วโลก รวมถึงโนว์ฮาวต่างๆ ทั้งในเรื่องของการจัดการกองทุนและตลาดอนุพันธ์ และที่ขาดไม่ได้ก็คือการส่งเสริมในเรื่องภาพพจน์ที่เป็นสากลมากขึ้น รวมถึงเงินทุนที่จะเข้ามาใช้ในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น

สำหรับแผนการดำเนินงานของคาเธ่ย์แคปปิตอลปีนี้ ยังคงเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่แยกธุรกิจออกมาจากคาเธ่ย์ทรัสต์ กล่าวคือ ธุรกิจด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นั้น จะเน้นที่ลูกค้าสถาบัน ลูกค้าต่างประเทศ และลูกค้าขนาดกลางขึ้นไป ส่วนลูกค้ามาร์จินก็ได้ลดขนาดลงมาจาก 2,000-3,000 ล้านบาทเมื่อ 2 ปีก่อน ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 300 ล้านบาทเท่านั้น

"ทุกวันนี้เรายังมีลูกค้ามาร์จินอยู่บ้าง แต่ก็คัดเลือกมากนับเป็นโชคดี เพราะถ้าเรายังมีการปล่อยมาร์จินโลน 3,000 ล้านบาทอย่างเมื่อ 2 ปีก่อน ป่านนี้เราคงตายไปแล้ว" ธนาธิปกล่าว

ทางด้านวาณิชธนกิจ จะแบ่งออกเป็นทีมย่อยๆ แต่ละทีมดูประมาณ 2-3 อุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในแต่ละอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ซึ่งก็ดูกันอยู่ประมาณ 15 อุตสาหกรรมหลักๆ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพัฒนาธุรกิจซึ่งจะดูโครงการใหม่ๆ และอาจจะเข้าไปร่วมในฐานะที่ปรึกษาหรือลงทุนด้วยการถือหุ้นประมาณ 5-10% ในโครงการที่มีศักยภาพ

"ช่วงนี้ด้านวาณิชธนกิจจึงมีงานเยอะมาก แต่ได้เงินยาก เพราะตอนนี้คู่แข่งน้อยลง และบริษัทจำนวนมากต้องการหาผู้ร่วมทุน หาเงินกู้ งานจะเข้ามามากแต่ทำให้สำเร็จได้ยากเพราะตอนนี้มีคนจะขาย แต่หาคนซื้อไม่ได้ นักลงทุนต่างชาติก็ลังเล และพยายามกดราคา"

ส่วนการบริหารสินทรัพย์นั้น คาเธ่ย์แคปปิตอลเพิ่งได้รับไลเซนส์ในการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาเมื่อประมาณ 2 เดือนก่อน

ธนาธิปเล่าว่า เดิมทีบริษัทได้ยื่นขอไลเซนส์จัดการกองทุนเลี้ยงชีพไป ตั้งแต่ตอนขอแยกธุรกิจออกมาจากคาเธ่ย์ทรัสต์ แต่ปรากฏว่าพอแยกออกมาแล้ว ไลเซนส์กลับไปติดอยู่ที่คาเธ่ย์ทรัสต์ ขณะที่คนทำงานอยู่ที่คาเธ่ย์แคปปิตอล ทำให้บริษัทต้องทำเรื่องขอย้ายไลเซนส์มา 6 เดือนผ่านไปก็ยังไม่สามารถย้ายได้ ดีลนับ 100 ล้านบาทที่มีอยู่ในมือตอนแรกก็ต้องปล่อยไป จนในที่สุดคณะกรรมการตัดสินใจยื่นขอไลเซนส์ใหม่และเพิ่งได้รับมาเมื่อ 2 เดือนนี้

ขั้นแรกคาดว่าจะพยายามกลับไปตามลูกค้าเก่าก่อนว่าหนีหายไปทำกับโบรกเกอร์อื่นหรือยัง พร้อมทั้งหาลูกค้าใหม่เข้ามา โดยมุ่งไปที่กองทุนบำนาญข้าราชการ (กบข.) และธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยบริษัทจะจ้างผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจากต่างประเทศเข้ามาดูแล เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือ

"ธุรกิจนี้แม้จะมีคู่แข่งเยอะ แต่ก็เชื่อว่าการขยายตัวจะสูงมากด้วยเช่นกัน เพราะมันเริ่มจากศูนย์ ถ้าต่อไปกองทุนนี้มีเป็นล้านล้านบาท เราได้แค่ 1% ก็หมื่นล้านบาท ธุรกิจนี้ได้ 2,000-3,000 ล้านบาทก็มีความประหยัดต่อขนาดแล้ว" ธนาธิปกล่าว

สำหรับกองทุนส่วนบุคคลนั้น เขาติงว่าค่าไลเซนส์ปีละ 1 ล้านบาทนั้น สูงเกินไปหากจะเริ่มทำธุรกิจช่วงนี้ เพราะจากการศึกษาพบว่า ธุรกิจนี้จะคุ้มทุนได้ต้องมีกองทุนให้บริหารจัดการประมาณ 200-300 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us