Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541
ประพัฒน์ โพธิวรคุณ แนะผู้ส่งออกเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด             
 


   
search resources

ประพัฒน์ โพธิวรคุณ




"ภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังเข้าสู่การปรับตัวครั้งใหญ่และเป็นครั้งที่สำคัญอย่างยิ่ง ภายใต้การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจำเป็นต้องอาศัยนโยบาย มาตรการ ตลอดจนแผนงานและโครงการที่ชัดเจน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา ยิ่งกว่านั้นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ก็มีส่วนสำคัญที่จะต้องช่วยกันรักษาศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจำเป็นต้องหันมาให้ความร่วมมือร่วมใจในการปรับปรุงกระบวนการผลิต การบริหาร การจัดการการค้าและบริการ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืนต่อไป" เป็นคำกล่าวของ ประพัฒน์ โพธิวรคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่กล่าวไว้เมื่อครั้งไปร่วมบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจการเงิน การส่งออก และอุตสาหกรรมในปี 2541 จะเป็นอย่างไร" ที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดขึ้น

ประพัฒน์ได้บรรยายในหัวข้อ "การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป" ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

การเพิ่มสภาพคล่องของธุรกิจและการเพิ่มขีดความสามารถแก่อุตสาหกรรมไทย เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึงการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทยให้มีความแข็งแกร่ง และสามารถแข่งขันกับนานาประเทศในโลกได้นั้น สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการทุกรายต้องทำคือ "การช่วยเหลือตนเอง" ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจของตนเอง และโอกาสนี้เป็นโอกาสที่เหมาะสมที่จะปฏิรูปโครงสร้างการบริหารทั้งหมดของบริษัทด้วย

เริ่มจากการ "รัดเข็มขัด" ลดการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพและที่ไม่มีตลาดรองรับในอนาคต ลดกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และพยายามลดปริมาณสินค้าคงเหลือให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมทั้งมีการจัดระบบการบริหารสินค้าคงเหลือและลูกหนี้ให้มีประสิทธิภาพ โดยเคร่งครัดกับการพิจารณาการให้สินเชื่อลูกค้ากับลูกค้าชั้นดีเท่านั้น และต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้าเหล่านั้นไว้ ด้วยการขยายระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชั้นดี ที่ได้เลือกสรรจากกระบวนการพิจารณาที่รัดกุมแล้ว อีกทั้งต้องมีการเพิ่มระบบช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังผู้ขายปลีกโดยตรง โดยไม่ผ่านคนกลางเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน

นอกจากนั้นต้องมีการจัดโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสม เช่นการนำหนี้ระยะยาวมาใช้ในการลงทุนระยะยาว มีการขอขยายเวลาชำระเงินจาก SUPPLIERS ต่างประเทศ และพยายามลดการใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐให้น้อยที่สุด ด้วยการลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ใช้ชิ้นส่วนในประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และผู้ประกอบการรายใดที่ไม่เคยทำการประกันความเสี่ยง ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศก็เริ่มทำได้แล้ว

และผู้ประกอบการต้องรู้จักใช้ "ข้อมูล" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจให้เป็นประโยชน์ ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้มีการรวบรวมข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เคยไปใช้ข้อมูลเหล่านั้น ส่วนใหญ่จะใช้จากความรู้สึกเอาเท่านั้น ฉะนั้นในวันนี้ ผู้ประกอบการจะต้องมีวิธีการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น รู้จักการใช้สถิติข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ และที่สำคัญคือการนำเสนอข้อมูลธุรกิจต่อทางการ จะต้องโปร่งใสและตรงกับความเป็นจริงทุกประการ เนื่องจากข้อมูลที่ทางการจัดทำไว้นั้นก็เป็นข้อมูลที่ได้จากผู้ประกอบการทั้งสิ้น ดังนั้นหากข้อมูลที่แจ้งไปเป็นเท็จก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งระบบอุตสาหกรรมได้

การร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยกับประเทศต่างๆ ในโลก ประพัฒน์จึงเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา ในรูปแบบของการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อกำหนดทิศทาง การวางแผน นโยบายต่างๆ รวมไปถึงการติดตามและประสานงาน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประเภทนั้นๆ

โดยคณะกรรมการชุดนี้ต้องดำเนินการในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการเร่งส่งเสริมการพัฒนาการผลิตวัตถุดิบให้มีคุณภาพมาตรฐาน ปรับลดขั้นตอนในกระบวนการผลิตและปรับปรุงความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า เรื่องการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิตในประเทศได ้ให้ต่ำลงหรือใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง รวมทั้งเรื่องการปรับปรุงการให้บริการของภาครัฐ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ

นอกจากนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนควรจัดทีมงานเพื่อเจรจาขยายตลาดคู่ค้าในต่างประเทศในเชิงรุก รวมทั้งพยายามรักษาตลาดเดิมไว้ด้วย และสำหรับหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการส่งออก ควรทำหน้าที่ประสานงานในการเจรจาปัญหาการกีดกันทางการค้าต่างๆ รวมทั้งควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในระบบการเตือนภัยล่วงหน้า มิใช่รอให้ภัยมาถึงตัวแล้วค่อยมาหาวิธีแก้ไขกันเฉพาะหน้าอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ยิ่งไปกว่านั้น ในภาคอุตสาหกรรมเองก็ต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เพราะหัวใจของความสามารถในการแข่งขันก็อยู่ที่ "คน" รวมทั้งมีการปรับปรุงการผลิตสินค้าระดับกลางและระดับสูงที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และส่งเสริมการสร้าง BRAND NAME ของสินค้าไทยให้เข้าสู่ตลาดโลกให้ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ภาคเอกชนจะสามารถดำเนินการได้ ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us