Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541
มีแต่คนระแวง(เท่านั้น)ที่จะอยู่รอด(ในธุรกิจ)             
 


   
search resources

Andrew Grove




ถึงฉบับสุดท้ายของปีในแต่ละปี Time Magazine จะมีการลงคะแนนเสียงคัดเลือกบุรุษแห่งปี หรือ Man of the Year พร้อมกับเสนอเรื่องจากปกที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับคนนั้นโดยส่วนใหญ่ Man of the Year จะเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงกับมนุษยชาติ และในปีนี้คนที่ได้รับตำแหน่งนี้ไปครองคือ Andrew Grove ซึ่งเป็น CEO ของบริษัท Intel หรือ อินเทล ซึ่งผมเชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักบริษัทดังกล่าวเป็นอย่างดี เนื่องจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (ซึ่งเกือบจะกลายเป็นอุปกรณ์สามัญประจำบ้านพักอาศัย) กว่า 90% ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ของอินเทล

Time เขียนแซว Grove ไว้ในบทความของนิตยสารถึงความระแวงของเขา และความหินของเขากับลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงาน ถึงขนาดที่นิตยสาร Fortune เองเคยจัดให้ Grove เป็นเจ้านายที่หินที่สุดคนหนึ่งของอเมริกา

Grove เขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่ง เพิ่มตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว ชื่อของหนังสือเล่มนี้น่าสนใจมาก เขาใช้ชื่อว่า Only the paranoid survive แปลเป็นภาษาไทยคงจะได้ชื่อว่า "มีแต่คนระแวง (เท่านั้น) ที่จะอยู่รอด (ในธุรกิจ)

หนังสือเล่มนี้มี 9 บท ผมเองคิดว่าบทที่น่าสนใจที่สุด คือ บทนำของหนังสือ เพราะเป็นบทกล่าวนำที่สรุปแนวคิดของเขาไว้อย่างได้ใจความแบบสั้นกะทัดรัด ส่วนบทอื่นๆ ก็คือ การขยายความและตัวอย่างจากประสบการณ์การบริหารของเขา

Grove เกริ่นนำหนังสือของเขาด้วยคติประจำใจที่นำไปใช้เป็นชื่อหนังสือ โดยเขาเชื่อว่าเมื่อธุรกิจเติบใหญ่ขึ้น พร้อมกันนั้นมันก็ได้เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการทำลายตัวเอง เพราะเมื่อธุรกิจของคุณเจริญขึ้น ทุกคนก็พร้อมที่จะเข้ากอบโกย หรือสูบเอาทุกสิ่งจากคุณไป จนไม่เหลืออะไร หน้าที่สำคัญในลำดับต้นของ CEO สำหรับ Grove ก็คือ คอยระมัดระวังเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมกับปลูกฝังความคิดดังกล่าวให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาของตัว

Grove บอกว่ารูปธรรมของความระแวดระวังดังกล่าวคือ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ ความกังวลว่าเขาจะนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดเร็วเกินไป เขากังวลว่าเขาจ้างคนถูกประเภทของงานหรือไม่ และแน่นอนรวมไปถึงความกังวลว่าคู่แข่งจะรู้ถึงความลับทางธุรกิจของเขา และนำมาใช้เป็นประโยชน์

อย่างไรก็ตามความระแวง หรือความกังวลเหล่านี้เทียบไม่ได้กับ ความกังวลในสิ่งที่เขาเรียกว่า จุดเปลี่ยนทางยุทธศาสตร์ (Stratigic inflection points)

เขาอธิบายว่าจุดเปลี่ยนทางยุทธศาสตร์ คือ ภาวะที่เป็นจุดตัดสินความเป็นความตาย ความเจริญรุ่งเรือง หรือความล้มเหลวของธุรกิจนั้น เป็นภาวะที่พื้นฐานในการทำธุรกิจนั้นๆ จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจจะนำไปสู่การทะยานไปข้างหน้าของธุรกิจ หรือถ้าหากคุณตัดสินใจผิดพลาดในการเปลี่ยน (ซึ่งรวมถึงการอยู่เฉยๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร) นั่นหมายถึงจุดจบของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้น

Grove อธิบายว่า สำหรับเขาแล้ว จุดเปลี่ยนทางยุทธศาสตร์ อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมนั้น หรืออาจถูกกำหนดจากการที่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจ แต่แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้เพียงแค่การเปลี่ยนเทคโนโลยี หรือการเอาชนะทางการตลาด แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดไปจากพื้นฐานเดิมของธุรกิจนั้น ซึ่งรวมถึงแนวคิดในการประกอบธุรกิจนั้นด้วย

การนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ หรือการเอาชนะคู่แข่งทางธุรกิจด้วยวิธีเดิมๆ ที่เคยทำมาจึงไม่เพียงพอ และไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ และ Grove เชื่อว่าเมื่อภาวะดังกล่าวมาถึง บริษัทที่เลือกการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เชิงเทคนิค เช่นใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต การลดต้นทุน หรือการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบเดิมๆ จะลงท้ายด้วยการเริ่มต้นของการนับถอยหลังไปสู่การตกต่ำของธุรกิจนั้น

ตัวอย่างที่ดีของภาวะหรือช่วงเวลาที่คุณต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของการทำธุรกิจ ก็คือ ในกรณีของ อินเทล ที่ Grove บริหาร

ในยุคนั้น อินเทลซึ่งถือกำเนิดมาในปี ค.ศ. 1968 ทำธุรกิจผลิตหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ (RAM) ทุกคน ทั้งในและนอกบริษัทเข้าใจดีว่า อินเทลคือบริษัทผลิตหน่วยความจำ ทุกอย่างไปได้ด้วยดี และเข้าสู่จุดสูงสุดในปี 1983 ความต้องการหน่วยความจำมีมากเสียจนผลิตไม่ทัน อินเทลต้องเพิ่มกำลังการผลิต และเปิดโรงงานใหม่ขึ้นอีกหลายแห่ง

แต่พอถึงช่วงปลายปี 1984 วิกฤตการณ์ก็เริ่มปรากฏให้เห็น ความต้องการในหน่วยความจำเริ่มลดลง ในขณะที่กำลังการผลิตมีมากเกินต้องการ และปัญหาถูกซ้ำเติมจากการที่บริษัทญี่ปุ่นดั๊มป์ราคาหน่วยความจำ มีการประชุมในระดับผู้บริหารหลายต่อหลายครั้งเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าว ข้อเสนอมีตั้งแต่ขยายกำลังการผลิตให้มากขึ้นเพื่อสู้กับสงครามดั๊มป์ราคา หรือการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อผลิตหน่วยความจำที่มีคุณภาพดีกว่า รวมไปถึงการคิดค้นหน่วยความจำชนิดใหม่

ทุกความเห็นในการกอบกู้วิกฤตการณ์ล้วนวนเวียนอยู่ในธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ของอินเทล นั่นคือหน่วยความจำ ในขณะที่สถานการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ ในกาลงปี 1985 ในการพูดคุยระหว่าง Grove และ Moore ซึ่งเป็น CEO ของอินเทลขณะนั้น Grove ตั้งคำถามกับ Moore ว่าถ้าหากกรรมการบริหารอินเทลปลดเขาทั้งสองคนแล้วตั้ง CEO คนใหม่ Moore คิดว่า CEO คนใหม่จะแก้ไขปัญหาอย่างไร

Grove เล่าว่า Moore ตอบโดยไม่ลังเลว่า เขาคงจะกำจัดเราทั้งสองออกไปจากความ (ทรง) จำ ในตอนนั้นเองที่ Grove เกิดความคิดขึ้น เขาบอกกับ Moore ว่า ถ้าอย่างนั้นทำไมเราทั้งสองคนไม่เดินออกไป แล้วกลับมาจัดการมันด้วยตัวเราเอง

นั่นคือการผ่านจุดเปลี่ยนทางยุทธศาสตร์ โดยการให้กำเนิดขึ้นของสิ่งที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบันของโลโก Intel inside นั่นคือ อินเทลสามารถผ่านพ้นวิกฤตของภาวะหน่วยความจำล้นตลาด โดยเปลี่ยนยุทธศาสตร์ไปสู่การเป็นผู้ผลิต Microprocessor ที่ปัจจุบันครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 90%

สิ่งที่ Grove บอกกับเราก็คือ ไม่ใช่ว่าคุณจะเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในขณะเดียวกันคุณก็เป็นผู้กระทำด้วย เพราะการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของอินเทลเอง รวมถึงการออกแบบ Microprocessor ใหม่ๆ ส่งผลให้ชีวิตของเราในปัจจุบันไม่เหมือนเดิม

ปัญหาก็คือ เมื่อไหร่เราจะทราบว่า ถึงภาวะที่คุณต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และแนวคิดในการทำธุรกิจใหม่หมด

Grove บอกว่า เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่คุณจะทราบว่า ธุรกิจของคุณกำลังอยู่ตรงขอบเหวหรือไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อหลายสิ่งหลายอย่างในธุรกิจของคุณไม่เหมือนเดิม เช่นคู่แข่งคนสำคัญของคุณไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป ธุรกิจที่คุณเคยแข่งขันด้วยเปลี่ยนไปจากเดิม หรือกระทั่งลูกน้องคนเก่งของคุณกลับกลายเป็นคนที่ดูจะไม่สามารถแก้ปัญหาเดิมๆ ที่เขาเคยทำได้ หรือเมื่อไหร่ที่ตัวคุณเองรู้สึกว่า คุณไม่เข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในธุรกิจที่คุณดูแลอยู่ นั่นคือสัญญาณบอกว่า มันถึงเวลาที่คุณจะต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่ นั่นหมายความว่า CEO ต้องคอยระแวง และคอยตรวจสอบว่าภาวะของการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจมาถึงหรือยัง

สำหรับปีใหม่นี้นอกจากความท้อถอยกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่กระหน่ำประชาชนชาวไทย รวมถึงเพื่อนบ้านของเราในภูมิภาคนี้ การอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วมองออกไปข้างหน้า อาจทำให้เราเห็นแสงสว่างที่ปลายทาง และจุดประกายความคิดที่จะผ่านพ้นวิกฤตการณ์ มากกว่าการเอาของเก่าหรือของใช้แล้วมาขายที่ตลาดนัดของคนเคย (และไม่เคย) รวย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us