Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548
โรงเรียนนานาชาติ (3)             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

International School




โรงเรียนนานาชาติในบ้านเรามีการปรับตัวครั้งใหญ่เช่นเดียวกันมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน โดยเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ด้วยนโยบายเปิดเสรีทำให้เกิดการลงทุนด้านธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในบ้านเราอย่างมากทีเดียว

ในสายตาของผม โรงเรียนนานาชาติที่ผมยกขึ้นมา แบ่งคร่าวๆ ได้ 3 กลุ่มใหญ่

กลุ่มแรก โรงเรียนนานาชาติดั้งเดิม เกิดขึ้นตอบสนองชาว ต่างชาติที่มาทำงานในประเทศไทย และบุตรหลานของเจ้าหน้าที่ กระทรวงการต่างประเทศของไทย กลุ่มนี้อาจจะเรียกว่าปิดตายสำหรับคนทั่วไปในช่วงก่อนนโยบายเปิดเสรีในปี 2535 และเริ่มเปิด กว้างอย่างชัดเจนหลังวิกฤติการณ์ปี 2540 เป็นโรงเรียนที่เกิดขึ้นใน เมืองไทยมาแล้วประมาณ 50 ปี หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงแรกเปิดสอนหลักสูตรแบบอังกฤษ แต่มาระยะหลังมีการเปลี่ยน แนวทางโดยเฉพาะโรงเรียนนานาชาติ ร่วมฤดี ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ระบบการศึกษาแบบอเมริกัน เมื่อสังคมไทยมีความผูกพันกับสหรัฐฯมาก ขึ้น ตั้งแต่เกิดสงครามเวียดนามเป็นต้นมา ขณะเดียวกันธุรกิจของ สหราชอาณาจักรก็ค่อยๆ ถอนตัวออกจากเมืองไทยในช่วงเศรษฐกิจ ไทยเติบโตอย่างมากช่วงปี 2533-2535 โรงเรียนนานาชาติกลุ่มนี้จำเป็นต้องเติบโต เนื่องจากมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นทั้งสามแห่ง ที่เคยอยู่ในกลางเมืองก็จำเป็นต้องขยับขยายย้ายออกชานเมืองและลงทุนสร้างโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนเหล่านี้ ให้ความสนใจเปิดรับบุคคลภายนอกอย่างเต็มที่ และถือเป็นกลุ่มโรงเรียนที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ถือเป็นโรงเรียน ขนาดใหญ่ที่มีนักเรียนเกิน 1,000 คน

กลุ่มที่สอง โรงเรียนเครือข่ายของโรงเรียนชั้นนำของอังกฤษ เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา มีการลงทุนสร้างโรงเรียนนานาชาติ โดยได้ License จากโรงเรียนชั้นนำของอังกฤษ มาถึง ปัจจุบันมี 4 แห่งด้วยกัน นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง โรงเรียน มีชื่อเสียงเก่าแก่ของอังกฤษ เลือกที่จะเปิดตลาดโดยตรง นอกสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรกที่เมืองไทย ประเทศที่มีความเป็นนานาชาติน้อยกว่าประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของเขา เป้าหมาย ของธุรกิจโรงเรียนกลุ่มนี้ค่อนข้างกว้างขึ้น เพื่อตอบสนองความเป็น ศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ดังนั้นจึงตั้งในทำเลใกล้ สนามบิน ในชุมชนธุรกิจ และเมืองนานาชาติ อย่างภูเก็ต เป็นต้น ขณะเดียวกันถือเป็นคู่แข่งโดยตรงที่น่ากลัวมากของโรงเรียนกลุ่มดั้งเดิมอย่างมากทีเดียว หากสังเกตให้ดีจะมีโรงเรียนเหล่านี้จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ตั้งอยู่ในทำเลเดียวกับโรงเรียนกลุ่มดั้งเดิม Harrow อยู่ใกล้ ISB ในย่านดอนเมือง แจ้งวัฒนะ Bromsgrove ใกล้กับ RIS รามคำแหง มีนบุรี แม้กระทั่ง Dulwich ที่ภูเก็ต ดูเหมือน ตั้งใจเป็นคู่แข่งกับโรงเรียนในปีนัง มาเลเซีย

สถานการณ์นี้มาพร้อมกับความเคลื่อนไหวของสหราชอาณา จักรที่กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่งในเมืองไทย ทั้งธุรกิจและการศึกษา

กลุ่มที่สาม โรงเรียนใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญในการจัดการ ระบบการเรียนการสอน สถานที่ และครูอาจารย์ ในมาตรฐานที่ใกล้ เคียงโรงเรียนต่างชาติ โรงเรียนเหล่านี้เกิดขึ้นไม่เกิน 5 ปี ส่วนใหญ่เกิด ขึ้นจากระแสของสังคมไทยที่นิยมส่งบุตรหลานเรียนโรงเรียนนานาชาติ มากขึ้น และบางแห่งก็เริ่มต้นอย่างง่ายๆ แต่ต่อไปเรียนรู้ว่าธุรกิจนี้ไม่ง่ายอย่างที่คิด จำต้องใช้มาตรฐานระดับโลก จึงต้องปรับตัวกันมากขึ้น แน่ละยังมีบางโรงเรียนที่ไม่ปรับตัวนัก ผมได้มีโอกาสเยี่ยมโรงเรียนเหล่านี้มาพอสมควร ซึ่งถือว่าสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการแนะนำท่านผู้อ่านก็คือ ต้องพิจารณาว่าโรงเรียนเหล่านี้ได้ผ่านการรับรอง มาตรฐานการศึกษาจากหน่วยงานระดับโลกหรือไม่ และครูอาจารย์ที่สอนมีคุณภาพหรือไม่ (เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับบ้านเรา) โรงเรียน ที่เปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อย่างดี คือโรงเรียนที่น่าสนใจโดยเฉพาะอาจารย์ ใหญ่ เป็นที่ยินดีว่าบรรดานักลงทุนโรงเรียนนานาชาติหลายรายให้ความ สำคัญในเรื่องนี้ โดยจ้างอาจารย์ที่มีประสบการณ์จากต่างประเทศ

ครูใหญ่ หรือที่เรียกในระบบอังกฤษว่า Headmaster ผมเข้าใจ ว่าโรงเรียนที่บริหารด้วยความเป็นมืออาชีพที่ดีต้องให้ความสำคัญกับครูใหญ่เป็นอันดับแรกๆ ดังนั้นข้อพิจารณาในการเลือกโรงเรียนเรื่องแรกก็ต้องดูครูใหญ่ ซึ่งเป็นที่น่ายินดี และสังเกตได้ชัดเจนว่า ครูใหญ่ที่ดีมีประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนในต่างประเทศเข้ามาปักหลักสอนโรงเรียนนานาชาติในบ้านเราหลายแห่ง

ในที่นี้มิใช่เฉพาะโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายโรงเรียนมีชื่อเสียงจากอังกฤษ อย่าง Harrow, Dulwich, Shrewsbury และ Bromsgrove เท่านั้น ที่ต้องใช้ครูใหญ่ที่มีประสบการณ์จากต่างประเทศ มีอีกหลาย แห่งที่เป็นโรงเรียนนานาชาติที่ดีก็ทำเช่นนี้ด้วย

The Regent's School ซึ่งมี ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์ เป็นเจ้าของและประธานโรงเรียน ดูมีความตั้งใจในการสร้างโรงเรียนนานา ชาติอย่างมาก จ้างอาจารย์ใหญ่ที่เคยเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมในอังกฤษ มาจาก Rodean School ซึ่งเป็นโรงเรียนชื่อดังหญิงล้วน

ขณะที่ Prem International school ที่เชียงใหม่ โครงการของ ม.ล.ตรีทศยุทธ เทวกุล แม้จะมีอุปสรรคมากพอสมควรแต่ก็สามารถสร้างโรงเรียนตามความฝันได้ ในฐานะที่เขาเคยเรียนโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงในสหรัฐฯ นอกจากเขาจะมีคณะกรรมการผู้มีประสบการณ์ในการเรียนระดับมัธยมในต่างประเทศมาแล้ว โดยเฉพาะบัณฑูร ล่ำซำ และมีชัย วีระไวทยะ แล้วอาจารย์ใหญ่คนปัจจุบันที่มีประสบการณ์จากการสอนในโรงเรียนมัธยมชื่อดังมากที่สุดแห่งหนึ่งจากประเทศออสเตรเลีย

อีกส่วนหนึ่งปรับตัวอย่างมากโดยเข้าเป็นเครือข่ายของโรงเรียน ในระดับโลก

สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งก็คือค่าเล่าเรียนโรงเรียนนานาชาติที่มีมาตรฐานข้างต้น ถือว่ามีราคาสูงพอสมควร ถือได้ว่ากลุ่มที่หนึ่งและ สอง อยู่ในระดับเดียวกับโรงเรียนมัธยมในกลุ่มโรงเรียนมัธยมรัฐบาลของออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์

หมายเหตุ
ข้อเขียนข้างต้นเรียบเรียงมาจากหนังสือ "หาโรงเรียนให้ลูก" 2548 ของผมเอง ซึ่งจะวางจำหน่ายครั้งแรกในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ช่วงปลายเดือนนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us