Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548
แปดแนวโน้มทางเศรษฐกิจ             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 





การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในภาคธุรกิจ ซึ่งจะช่วยทดแทนการตกต่ำลงของภาคอสังหาริมทรัพย์และการลดลงของการจับจ่ายใช้สอยในภาคประชาชน ทำให้ภาคธุรกิจออสเตรเลียมองว่า พวกเขาจะยังคงรื่นเริงกับการเติบโตอย่างแข็งขันของเศรษฐกิจโดยรวมต่อไปในปีนี้

นิตยสาร BRW ซึ่งเป็นนิตยสารธุรกิจรายสัปดาห์ เล่มสำคัญของออสเตรเลียฉบับปลายปีต่อเนื่องถึงปีใหม่ ที่ผ่านมา รายงานแนวโน้มแปดประการสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของประเทศออสเตรเลีย และต่อระบบเศรษฐกิจโลก

แนวโน้มดังกล่าวนี้ นิตยสาร BRW เน้นว่าเป็นแนวโน้มที่ถูกพิจารณาว่ามีผลกระทบอย่างชัดเจน และ จำเป็นที่จะต้องหาทางแก้ไขหรือจัดการรับมือกับแนวโน้มนั้นๆ อย่างเร่งด่วน

ถึงแม้ว่านิตยสาร BRW จะเน้นรายงานผลกระทบต่อธุรกิจของประเทศออสเตรเลีย และต่อระบบเศรษฐกิจโลกโดยรวมก็ตาม ผมเห็นว่าแนวโน้มทั้งแปดนี้น่าที่จะได้รับการพิจารณาโดยนักธุรกิจไทยด้วยเช่นกัน บางแนวโน้มกระทบกับประเทศไทยโดยตรง ในขณะที่บางแนวโน้มอาจจะมองว่ายังมาไม่ถึงประเทศไทย แต่ในอนาคตอันใกล้ก็จะมาถึงอย่างแน่นอน

แนวโน้มทั้งแปดนี้ ได้แก่

หนึ่ง การเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่สามารถดำรงตนเป็นหนึ่งในเสาหลักทางเศรษฐกิจของโลก ในปี คริสต์ศักราช 1800 จีนเคยมีส่วนแบ่งการผลิตทางด้าน อุตสาหกรรมมากถึงหนึ่งในสี่ของโลก แต่ในปีคริสต์ศักราช 1975 จีนกลับมีส่วนแบ่งเพียง 1.5% ของโลกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจ ทำให้จีนกลับมาสู่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุการเติบโตในอนาคต จีนจะเติบโตโดยเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลักบวกกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเรื่องการส่งออก ซึ่งต่างจากประเทศในเอเชียอื่นๆ ที่อาศัยการส่งออกเป็นตัวฉุดการเติบโตเป็นหลัก

การเติบโตของจีนจึงถูกเปรียบว่าเหมือนกับการ เติบโตของอังกฤษในช่วงแรกของศตวรรษที่ 19 เหมือน เยอรมนีในช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 เหมือนอเมริกาในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 และเหมือนญี่ปุ่นในช่วงหลังของศตวรรษที่ 20

สอง จำนวนแรงงานที่ลดลง อายุของวัยทำงาน ที่เพิ่มขึ้นกลายเป็นปัญหาสำคัญของธุรกิจในปัจจุบัน อายุของแรงงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อรูปแบบการบริหารงานและการทำการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับ การบริโภคและการวางนโยบายของภาครัฐบาล ที่สำคัญ อายุของแรงงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อจำนวนแรงงานที่ลดลง

ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานที่ผู้หญิงเข้ามาเป็นแรงงานที่สำคัญไม่แพ้ผู้ชาย แต่อัตราการเพิ่มของประชากรที่ลดลง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่งผลต่อโครงสร้างประชากรอย่างชัดเจน ซึ่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของประชากรเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลายาวนานพอสมควร

ในประเทศออสเตรเลียเองก็ประสบปัญหานี้ โดยทางภาครัฐบาลกำลังพยายามหาทางแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานที่มีอยู่ อีกทางหนึ่งคือการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ

สาม เสถียรภาพของราคา ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจที่เกิดอุปทานส่วนเกิน, การผลิตเพื่อมุ่งสู่การป้อนตลาดโลก โดยโยกย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ และบทบาทของการรักษาเสถียรภาพของราคาผ่านนโยบายของธนาคารกลางโดยอาศัยการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้เกิดเสถียรภาพของราคา, อัตราเงินเฟ้อต่ำ และอัตราดอกเบี้ยต่ำ

สภาพดังกล่าวทำให้บริษัทต่างๆ จำเป็นจะต้อง ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต และลดต้นทุน เพื่อเพิ่มกำไรของบริษัท

สี่ การปฏิวัติไอทีอีกครั้ง ถึงแม้ว่าการปฏิวัติใน อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศจะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 ก็ตาม การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี อย่างรวดเร็วของคอมพิวเตอร์ บวกกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้ยุคดิจิตอลกลับมา อีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้จะดูเหมือนว่ายุคดิจิตอลจบสิ้นไปตั้งแต่การแตกสลายของยุคดอทคอมเมื่อช่วงต้นทศวรรษ 2000

การเข้ามาแทนที่สายโทรศัพท์ของการส่งสัญญาณ เสียงไปบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ Voice over IP (VoIP), การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ และการใช้เทคโนโลยีทางด้านไอทีในชีวิตประจำวันที่ง่ายขึ้น จนทำให้การใช้งานเทคโนโลยีทางด้านไอทีเหมือนการใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สที่ใครๆ ก็ใช้ได้ จะเป็นสาเหตุสำคัญของการปฏิวัติในภาคดิจิตอลอีกครั้งหนึ่ง

ห้า การปฏิวัติทางด้านการผลิต, ยา และ เกษตรกรรมผ่านไบโอเทคโนโลยี หรือ Life Sciences เป็นแนวโน้มสำคัญที่เริ่มต้นจากการเข้าใจความหมายของยีนของมนุษย์ การปฏิวัติทางด้านไบโอเทคโนโลยีทำให้การพัฒนาทางด้านการเกษตร, คอมพิวเตอร์, ยา, เคมี และสุขภาพเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลง ในภาคการใช้พลังงาน

หก การขาดแคลนน้ำ ถือเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด มากกว่าปัญหาเรื่องปฏิกิริยาเรือนกระจกที่ส่งผลให้โลกร้อนขึ้นและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เสียอีก องค์การสหประชาชาติประกาศว่า นับจากปีคริสต์ศักราช 1900 ถึง 1995 การบริโภคน้ำเพิ่มขึ้นหกเท่า เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเพียงสองเท่าเท่านั้น และคาดการณ์ว่า ภายในปีคริสต์ศักราช 2025 สองในสามของประชากรโลกจะประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ

เจ็ด ภูมิศาสตร์การเมืองโลกที่เปลี่ยนแปลงไป การเติบโตของประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเหตุการณ์การก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ส่งผลต่อสมดุลของการเมืองโลกอย่างชัดเจน ยุคสงครามเย็นได้จบสิ้นไป แต่กลับถูกแทนที่ด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่ทำให้เส้นแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศสูญสลายไป เกิดเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและกลุ่มศาสนาแทน ความขัดแย้งจะเปลี่ยนจากการขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์การเมืองไปสู่การขัดแย้งทางการค้าและทางศาสนา ที่นับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

สุดท้าย การอพยพแรงงาน การขาดแคลนแรงงานจากอัตราการเกิดที่ลดต่ำลง โดยเฉพาะในประเทศตะวันตก ทำให้เกิดการอพยพของแรงงานมีฝีมืออย่างกว้างขวางทั่วโลก แต่ในอีกมิติหนึ่ง ปัญหาสังคมกลับเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเช่นกัน ปัญหาความรุนแรงในประเทศเนเธอร์แลนด์สะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาสังคมที่ค่อนข้างชัดเจนจากการพยายามแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การพยายามคงประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงของประเทศตะวันตกต้องพึ่งพาการอพยพ เข้ามาของแรงงานมีฝีมือมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ความเสี่ยงทางด้านการเมืองและสังคมกำลังเพิ่มขึ้นเป็น เงาตามตัว ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ การรังเกียจสีผิว และ เผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นปัญหาอ่อนไหวที่ยังคงต้องถกเถียงกันไปอีกนาน

แนวโน้มแปดประการนี้ เป็นแนวโน้มที่ภาคธุรกิจ ออสเตรเลียมองว่าจะต้องเผชิญในปีนี้และปีถัดๆ ไป ซึ่งเมื่อไล่ดูแล้ว ภาคธุรกิจไทยก็ต้องเผชิญปัญหาเหล่านี้ เช่นกัน เพียงแต่ว่า บางปัญหายังมาไม่ถึง ซึ่งทำให้ภาค ธุรกิจไทยสามารถหาทางแก้ไขไว้ล่วงหน้าได้ หรือเรียนรู้จากการจัดการกับปัญหาเหล่านั้นของภาคธุรกิจออสเตรเลีย แต่บางปัญหา ภาคธุรกิจไทยก็ต้องเผชิญไปพร้อมๆ กับภาคธุรกิจออสเตรเลีย ที่แน่นอนว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีย่อมทำให้จัดการกับปัญหาได้ง่ายกว่า

ภาคธุรกิจไทยพร้อมหรือยังครับ

อ่านเพิ่มเติม

1. Global Business : A BRW Survey-8 International trends that will shape the world and change Australian business, นิตยสาร BRW ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม 2004 ถึง 12 มกราคม 2005 หน้า 57-73

2. Growing strong, นิตยสาร BRW ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม 2004 ถึง 12 มกราคม 2005 หน้า 30-36   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us