Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548
ค้นฅน "สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ ทีวีบูรพา

   
search resources

TV
สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ
ทีวีบูรพา, บจก.




ทันทีที่เรื่องราวชีวิตของจ๊ะเอ๋ เชิญยิ้มออกในรายการ "ฅนค้นฅน" ครั้งแรกทางช่อง 9 ก็ดูเหมือนว่า "เนื้อหาสาระ" ของรายการโดนใจคนดูกลุ่มใหญ่ทันที

เป็นรายการที่เล่าเรื่องราวของมนุษย์อย่างมีชั้นเชิงในหลายมิติ โดยที่ "พิธีกร" อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์บ้างในช่วงแรกๆ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ทีวีบูรพายังเดินหน้าค้นฅนต่อไปในรูปแบบที่ไม่เหมือนรายการใด จนจะครบ 2 ปีเต็มในเดือนเมษายน 2548 นี้ พร้อมๆ กับ การเกิดขึ้นของรายการใหม่ "กบนอกกะลา"

สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ตั้งใจที่จะทำสารคดีดีๆ ให้ยืนหยัดอยู่ได้ในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ของสถานีโทรทัศน์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน กล้าสร้างรายการที่ "แตกต่าง" จากรายการเดิมๆ ที่เคยมีอยู่ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นตอกย้ำความมั่นใจว่าวิธีคิดของเขาถูกต้อง

ตัวตนของสุทธิพงษ์ผู้กำหนดย่างก้าวต่อไปของบริษัททีวีบูรพา จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เช่นกัน

ออฟฟิศเล็กๆ 3 ชั้นในซอยรามคำแหง 43/1 เป็นสมบัติอีกชิ้นหนึ่งที่ซื้อหามาจากเม็ดเหงื่อของความเหนื่อยยาก ถูกใช้เป็นสำนักงานเป็นสตูดิโอ และห้องตัดต่อ ในห้องที่นั่งคุยกันวันนั้น คือโต๊ะประชุมของทีมงาน ซึ่งนานๆ ครั้งจะมีโอกาสได้มาพร้อมหน้าพร้อมตากัน

นอกจากสารคดี 2 รายการซึ่งกำลังทำยังมีรายการใหม่ที่ต้องคิดค้นเสนอต่อทางสถานีเพื่อออกอากาศในเดือนเมษายน 2548 พ็อกเก็ตบุ๊กของสำนักพิมพ์บูรพาเองก็ต้อง เตรียมทยอยวางแผง สุทธิพงษ์ยังวางแผนทำแมกกาซีนดีๆ อีกหนึ่งเล่ม รวมทั้งการเตรียมทำรายการสารคดีท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนใคร

ทั้งหมดคืองานที่ต้องอาศัยการระดมสมอง และการร่วมแรงร่วมใจของทีมงานกว่า 40 ชีวิต

"หากเมื่อ 4-5 ปีก่อน ผมไม่กล้าตัดสินใจลาออกจาก บริษัทเจเอสแอล ไม่กล้าเอาบ้านไปรีไฟแนนซ์ ยอมขายรถ เพื่อเอาเงินไปตั้งบริษัทเล็กๆ บริษัทหนึ่งกับเพื่อน วันนี้ก็คงยังไม่มีวันมาถึง" สุทธิพงษ์เริ่มเล่าเรื่องตัวตนของเขาให้ "ผู้จัดการ" ฟังด้วยบุคลิกที่ไม่ต่างกับในทีวี คือพูดช้าชัดและแฝงไปด้วยการครุ่นคิด

บริษัทแรก 2000 ทูทรีโอ รับถ่ายวิดีโอ ทำงานพรีเซ็นต์ รวมทั้งรับจ้างผลิตรายการทั่วๆ ไป เช่น เกมโชว์ ทอล์คโชว์ จนเวลาผ่านไป 2 ปี เขาก็มั่นใจว่ารายได้ที่ได้ไม่คุ้ม ทางสว่างไม่มี และที่สำคัญไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการทำ

"คน" เป็นสิ่งน่าสนใจ แต่จะทำอย่างไรให้รายการทีวีสามารถนำเสนอเรื่องของคนให้น่าสนใจ ทอล์คโชว์ ซึ่งเป็นแค่เรื่องเล่ายังสามารถติดตลาดได้ แต่หากต่อยอดออกไปนำเสนอภาพด้วย มันน่าจะยิ่งดีกว่าคือสิ่งที่เขาคิด และเป็นที่มาของการตั้งบริษัททีวีบูรพา

เทปแรกถูกนำไปเสนอกับจำนรรค์ ศิริตัน เจ้านายเก่าที่ให้การสนับสนุนด้วยการเข้าร่วมหุ้น เกินกว่าครึ่ง โชคดีอีกอย่างคือรายการนี้ได้เวลาทางช่อง 9 ซึ่งกำลังเปลี่ยน positioning จากแดนสนธยาเป็นโมเดิร์นไนน์ทีวี และได้ให้ความสำคัญกับรูปแบบรายการใหม่

"กบนอกกะลา" ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2547 เป็นอีกรายการหนึ่งที่สุทธิพงษ์ต้องการตอกย้ำว่า รายการสารคดียังมีคนดู แต่ต้องรู้จักหาวิธีการนำเสนอให้โดนใจผู้ชมเท่านั้น

"ผมไม่เชื่ออยู่อย่างว่า คนเราจะกินอาหารซ้ำๆ แบบเดิม คงต้องการอาหารอย่างอื่นบ้าง แล้วยิ่งเราเอามาปรุงรสชาติให้ดี หน้าตาสวยงาม อย่างไรเสียก็ต้องมีคนกิน บางคนอาจมองว่า ฅนค้นฅน ติดตลาด เพราะขายความเป็นดราม่ามากกว่าเป็นสารคดี ดังนั้นกบในกะลา ผมฟันธงไปเลยว่าจะสร้างให้เป็นสารคดี เป็นความรู้จริงๆ และขอเวลาไพร์มไทม์ยิ่งกว่าฅนค้นฅนด้วย"

ฅนค้นฅน ออกอากาศทางช่อง 9 ทุกวันอังคาร เวลา 22.00-23.00 น. ส่วนกบนอกกะลาออกอากาศทุกวันศุกร์ทางช่อง 9 ในเวลา 20.30-21.30 น.

ค่าโฆษณาในรายการนี้ตกนาทีละประมาณ 200,000 บาท เป็นรายได้หลักที่เป็นหัวใจของบริษัท แต่สุทธิพงษ์ได้เอาเวลาทำเงินจากโฆษณาส่วนหนึ่งไปทำประชาสัมพันธ์หนังสือของสำนักพิมพ์บูรพา ซึ่งคือหนังสือที่เกิดจาก การต่อยอดจากรายการฅนค้นฅน บางส่วนคือหนังสือดีๆ ในแวดวงวรรณกรรม โดยสาเหตุหลักของการเกิดสำนักพิมพ์ เขากลับอธิบายว่า

"ผมมีความฝันที่จะเป็นนักเขียน เพื่อนสนิทส่วนใหญ่ก็อยู่ในแวดวงวรรณกรรม และรับรู้มาตลอดว่าหนังสือดีๆ ขายยากมาก พิมพ์ครั้งละ 2-3 พันเล่ม กว่าจะขายหมด ผมเลยขอเวลาทางผู้ใหญ่ เพื่อจะทำให้มีคนได้รู้จักหนังสือประเภทนี้เพิ่มขึ้น 10-20 คนก็ยังดี ส่วนผลประโยชน์ที่ตกอยู่กับสำนักพิมพ์นั้นมันเทียบไม่ได้หรอกกับค่าโฆษณาที่หายไป"

แมกกาซีนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เขาต้องการทำ โดยจากพื้นฐานความคิดที่ว่า เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่ง ดูฅนค้นฅน ก็น่าจะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการอ่านหนังสือดีๆ เช่นกัน

ทรัพย์สินอื่นๆ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท หากมีกระบวนการบริหารจัดการที่ดีอาจจะกลายเป็นรายได้ที่สำคัญส่วนหนึ่งของบริษัท แต่ดูเหมือนว่าเขาไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้นัก เช่น ซีดี หรือเทปของบางตอนที่เคยออกอากาศไปแล้ว แทนที่จะนำมาขายอย่างจริงจัง ส่วนหนึ่ง เขาก็ก๊อบปี้แจกทุกโรงเรียน หรือองค์การต่างๆ ที่ขอมา

ปีที่ผ่านมาทีวีบูรพาทำรายได้ถึง 40 ล้านบาท "ผู้จัดการ" ไม่สามารถคำนวณได้ว่าเป็นกำไรที่ตกถึงทีวีบูรพาเท่าไร แต่เขาบอกว่า "กำไรประมาณสัก 20 เปอร์เซ็นต์ของส่วนแบ่ง ตรงนั้นก็หรูแล้วครับ แต่อย่างไรก็ตาม ผมจ่ายโบนัสโดยเฉลี่ยแล้ว 4 เดือน ผมถือว่าค่าตอบ แทนก็เป็นสิ่งสำคัญ"

กับ "คน" ที่มีวิธีคิดในการทำธุรกิจที่ต่างกับคนอื่นเช่นเขาคาดหวังอย่างไรกับตัวบริษัท ทีวีบูรพาในอนาคต

"ผมคิดว่าถ้าบริษัทมีประมาณ 3-4 รายการก็น่าจะพอแล้ว แต่ถ้าสมมุติว่ามีเงื่อนไขที่จะได้ทำอีก ก็อาจจะต้องทำ เพราะผมคิดว่าคนเราถ้ามีโอกาสลงเรือลำเดียวกัน หรือคบหาเป็น เพื่อนฝูงกัน บางสิ่งบางอย่างเมื่อได้รับการร้องขอ มันยากที่จะปฏิเสธ ไม่ได้ทำเพราะว่าโลภที่จะขยาย แต่ทำเพราะว่าเขาคงเห็นว่าเราทำได้จริงๆ เขาต้องการความช่วยเหลือ และเชื่อใจเรา"

บ้านหลังเล็กนี้จะขยายออกไปกลายเป็นตึกสูงหรือไม่ดูเหมือนว่าไม่ใช่ประเด็น แต่การที่เขาสามารถทำให้ลูกน้องมีความสุข และมีความมั่นคงในชีวิตต่างหากคือ สาระสำคัญ และคือความคิดของสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ในวันนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us