ผ่าโครงสร้างระบบตลาดเงินยุค"ดอกเบี้ยต่ำ" แบงก์ชาติส่งสัญญาณ
พลาด ทำให้นโยบายรัฐบาลที่ต้องการเห็นดอกเบี้ยลง-สินเชื่อถูกปล่อยกระตุ้นเศรษฐกิจล้มเหลว
ผลพวงที่ได้กลับเป็นแบงก์พาณิชย์ที่เห็นแก่ตัวตักตวงผลกำไรจากส่วนต่างอัตราดอก
เบี้ยอิ่มแปล้ โยนภาระแก้ปัญหาเอ็นพีแอลให้รัฐบาล ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายการเงินอย่างจริงจัง
ภาวะสภาพคล่องตลาดเงินไทยที่ขณะนี้มีกว่า 500,000ล้านบาททำให้ธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์เอกชนใช้เป็นข้ออ้างในความพยายามลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง
หลังจากธนาคาร
แห่งประเทศไทยส่งสัญญาณผิดพลาดในการประกาศลดอัตราดอก เบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร
(Repurchase Open Market Operation)-Repo) ถึง 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม
2544 และ 21 มกรา-คม
2545 ทำให้อัตราดอกเบี้ย Repo 14 วันลดจาก 2.5% มาอยู่ที่ 2% ปัจจุบัน โดยล่าสุดคณะกรรม
การนโยบายการเงินมีมติคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้(อ่านข่าวล้อมกรอบ)
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทยช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ยังไร้วี่แววฟื้นตัวอย่างจริงจังแม้หลายฝ่ายคาดว่าช่วงไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ
2%
แต่ตัวเลขการส่งออกยังแสดงการหดตัวต่อเนื่องถึง 6.4% และ 8.2%ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ตามลำดับ
ส่วนตัวเลขการส่งออกจากกระทรวงพาณิชย์เดือนมีนาคมปีนี้ประมาณ 5.3
พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งลดลงจาก 6.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเดือนมีนาคม 2544
ทางด้านยอดเงินฝากระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจากตัวเลขที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ
4.6% และ 5.1% เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ตามลำดับ
ส่วนตัวเลขสินเชื่อธนาคารพาณิชย์หดตัวประมาณ 5.9% และ 4.2% ช่วงมกราคม และกุมภาพันธ์ตามลำดับ
ว่าไปแล้ว รัฐบาลทักษิณ
ชินวัตรมีนโยบายชัดเจนว่าต้องการกดให้อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อสถาบันการเงินและช่วยให้การแก้ปัญหาหนี้เสีย(Non-performing
Loans) ประสบความสำเร็จ
แต่ทว่าจุดประสงค์ทั้ง 2 ประการนี้ยังไม่บรรลุ ผลตามความประสงค์! สิ่งที่เกิดขึ้นเวลานี้คือ
ธนาคารพาณิชย์เริ่มฟื้นตัวโดยรายงานผลประกอบการกำไร
สุทธิหลายไตรมาสหากดูในรายละเอียดด้านงบการเงิน พบว่า ตัวเลขทำกำไร มาจาก
การมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Interest Spread เพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวเลขรายได้จากการปล่อยสินเชื่อ
และ
การแก้ปัญหาหนี้เสียไม่เติบโตแต่อย่างใด ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาสแรกปี
2545 ปรับตัวเพิ่มจากไตรมาส สุดท้ายปี 2544
เนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารกรุงเทพส่วนต่างสุทธิเพิ่มขึ้นจาก
1.79% เป็น 1.85% ธนาคารกรุงไทย เพิ่มจาก 2.09% เป็น 2.15% ธนาคารกสิกรไทย
เพิ่มจาก
2.18% เป็น 2.25% ธนาคารไทยพาณิชย์ เพิ่มจาก 2.32% เป็น 2.35% ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
เพิ่มจาก 0.97% เป็น 1.05% ธนาคารทหารไทย เพิ่มจาก 1.30% เป็น 1.50% ธนาคารไทยธนาคาร
เพิ่มจาก
0.28% เป็น 0.30% และธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ เพิ่มจาก 2.29% เป็น 2.40% สภาพคล่องล้นมรดกรัฐบาลชวน-ธารินทร์
สภาพคล่องตลาดเงินไทยที่ปัจจุบันมีกว่า 5
แสนล้านบาทเป็นผลจากนโยบายผิดพลาด 5 ปีที่แล้วสืบเนื่องตั้งแต่สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีอดีตรัฐมนตรีคลังธารินทร์
นิมมานเหมินท์ เป็นมือเศรษฐกิจหลักของรัฐบาลชวน หลีกภัย
ที่แก้ปัญหาระบบสถาบันการเงินไทยโดยรับคำสั่งจากกอง ทุนการเงินระหว่างประเทศ
(International Monetary Fund)โดยไม่ต่อรองใด ๆทั้งสิ้น เพื่อผลประโยชน์ของเศรษฐกิจไทยอย่างแท้จริง
โดย 5
ปีให้หลังเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟยอมรับข้อผิดพลาดที่ชี้นำการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย
จนชักนำให้เศรษฐกิจของชาติที่เคยได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในเอเชียชาติหนึ่งต้องกลายเป็น"โรคต้มยำกุ้ง"
(Tom Yum
Koong Disease)ที่สื่อมวลชนตะวันตกตั้งฉายาว่าเป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจเอเชียมีปัญหา
ส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานสถาบันการเงินขนานใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยทำให้บริษัทธุรกิจต่างๆทั้งใหญ่-กลาง-เล็กล้มระเนระนาด
อย่างที่เรา ๆท่าน
ๆซาบซึ้งถึงพิษเศรษฐกิจรอบนี้กันถ้วนหน้าดีอยู่แล้ว ขณะที่สถาบันการเงินไทย
โดยเฉพาะธนาคาร พาณิชย์เอกชนต่างเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย ได้ (Non-performing
loans-NPLs)
กันถ้วนทั่วทุกแห่ง โดยตัวเลขความเสียหายจากเอ็นพีแอลที่กอง ทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินรับไปแล้วมีจำนวนกว่า
500,000 ล้านบาทและยังมีเป้าหมายเพิ่มเป็น1.4
ล้านล้านบาทภายในปีนี้เป็นบทพิสูจน์หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่านโยบายการแก้ปัญหาสถาบันการเงินในช่วงที่ผ่านมามีข้อผิดพลาด
แม้กระทั่งรัฐบาลปัจจุบันที่ได้ตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ไทย (บสท.)
เพื่อเป็นที่รับโอนเอ็นพีแอลจากระบบสถาบันการเงินทั้งระบบ ปัจจุบันก็จัดการปัญหาเอ็นพีแอลได้เพียงกว่าแสนล้านบาทเท่านั้น
นี่เป็นผลพวงที่สะท้อนความล้มเหลวของการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลทั้งระบบเป็นอย่างดี!
ขณะที่ตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ว่า 2 เดือนแรกปีนี้ เอ็นพีแอลธนาคารพาณิชย์
ลดจากปลายปี 2544
เพียง 0.13% จากประมาณ 443,720 ล้านบาท มาอยู่ที่ 443,140 ล้านบาท ขณะที่สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมเพิ่มจาก11.59%
ณ.สิ้นปี 2544 มาที่ 11.65% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545
สาเหตุหลักเพราะยอดสินเชื่อรวมหดตัว ขณะที่สิ้นไตรมาสแรกปีนี้ คาดว่าเอ็นพีแอลระบบธนาคารพาณิชย์จะเพิ่มจากสิ้นปี
2544
ตามการเพิ่มของหนี้เสียจากกลุ่มธนาคารเอกชนขนาดใหญ่เป็นหลักขณะที่กลุ่มธนาคารลูกครึ่งและกลุ่มธนาคารรัฐคาดว่าจะลดลง
โดยประมาณการว่าเอ็นพีแอลระบบธนาคาร จะอยู่ที่ประมาณ
443,900ล้านบาทหรือประมาณ11.7% ของสินเชื่อรวม ตัวเลขเอ็นพีแอลเหล่านี้แทบจะไม่ลดลงเลยเมื่อเทียบกับสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต
ยงใจยุทธเมื่อกว่า 6 ปีที่แล้วและถือเป็นผลพวงความผิดพลาด
นโยบาย14 สิงหาคมของอดีตรัฐมนตรีคลังนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์กว่า
5 ปีที่ผ่านมาที่มีนโยบายช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 และ 2
ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย และนโยบายที่ให้สถาบันการเงินต่างชาติครอบงำกิจการธนาคารพาณิชย์ไทย
จนปัจจุบันแทบไม่เหลือธนาคารพาณิชย์ ไทยแท้ๆ
ขณะที่รัฐบาลโดยผ่านกลไกกองทุนฟื้นฟูฯได้ออกตราสารหนี้กว่า 800,000
ล้านบาทแล้วโดยจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง เพื่อช่วยดูดซับสภาพคล่องระบบธนาคารพาณิชย์
โดยตราสารเหล่านี้สามารถนับเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 และ 2 ของธนาคาร พาณิชย์ได้
ทั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์ และแม้กระทั่งรัฐบาลปัจจุบันยังได้ช่วย "อุ้ม"
ธนาคารพาณิชย์สุดๆ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งธนาคารพาณิชย์
ขนาดเล็กอยู่รอดโดยที่ใช้เงินจากผู้เสียภาษีอากรหรือประชาชนทั่วไปอย่างเราๆท่านๆ
ด้วยความหวังเต็มเปี่ยมว่ามาตรการต่าง
ๆดังกล่าวจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ยั่งยืน โดยหนึ่งในความหวัง คือกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็ก
กลาง และใหญ่
เพื่อให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเหล่านี้ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอย และเส้นเลือดใหญ่ของระบบเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได
้เพื่อสร้างงานและรายได้กลับสู่ภาคเศรษฐกิจ กระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและเติบโตอย่างยั่งยืน
แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะ ธนาคารพาณิชย์เอกชนกลับไม่ยอมปล่อยสินเชื่อเพิ่มโดยอ้างว่าเกรงจะเกิดปัญหาเอ็นพีแอลย้อนกลับ
เมื่อธนาคารพาณิชย์เอกชนไม่ยอมปล่อยสินเชื่อเพิ่มภาระหนักในการกระตุ้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
จึงตกกับธนาคารพาณิชย์รัฐที่ต้องเป็นหัวหอกปล่อย สินเชื่อเพิ่มให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เอกชนอ้างปัญหาสภาพ คล่องทางการเงินล้นตลาดเงินไทย กว่า
500,000 ล้านบาทปัจจุบัน ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระลอกแล้วระลอกเล่า
โดยพยายามรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่ไม่ต่ำกว่า
5%เพื่อคงกำไรของธนาคารโดยไม่ยอมปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ขณะที่นโยบายรัฐบาลห้ามออกตราสารเอ็นซีดี (NegotiableสสCertificate of Deposits)เกินกว่า
3 ปีและห้ามสถาบันการเงินออกตราสารหนี้อายุเกินกว่า
10ปีเพื่อให้รัฐบาลซึ่งกำลังต้องการงบประมาณเพิ่มออกตราสารหนี้ระยะยาวได้
ก่อให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างตลาดการเงินและตลาดทุนอย่างยิ่งภาค
สถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์บิดเบือนจากความเป็นจริง ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายการเงินอย่างจริงจังเสียที!