Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 เมษายน 2545
แบงก์ชาติคงดอกเบี้ย RP             
 


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Interest Rate




คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกาศ คงดอกเบี้ย RP ไว้ระดับเดิม 2%ต่อไป เนื่องจากมองว่า เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นแล้ว ราคาน้ำมันไม่เป็นปัญหา กดดันเงินเฟ้อน้อยมาก เผยไม่กล้าลดดอกเบี้ย

เพราะกลัวโดนด่า ที่อาจจะทำให้ดอกฝาก ลดต่ำลงอีก ในช่วงที่ดอกเบี้ยปัจจุบันก็ต่ำมากแล้ว กรุงศรีฯแจงยังไม่ลดดอกแน่ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าการเสถียรภาพการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธ.ป.ท.) แถลงวานนี้(22 เม.ย.)ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ประชุมเพื่อพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจในและต่างประเทศ เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงิน

โดยคณะกรรมการฯพิจารณาเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี) ระยะ 14 วันไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปีต่อไป เนื่องจากคณะกรรมการฯเห็นว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัว

แสดงการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่ายในประเทศ ขณะเดียวกันราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมิได้สร้างแรงกดดันต่อสภาวะเงินเฟ้อ

รวมทั้งฐานะทางการเงินด้านต่างประเทศยังคงมีความมั่นคง เมื่อพิจารณาจากภาระหนี้ต่างประเทศ และฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ

ทั้งนี้รายละเอียดของการประมาณการภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของคณะกรรมการฯ จะมีการแถลงในวันที่ 30 เมษายนนี้ พร้อมการเผยแพร่รายการแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนเมษายน

2545 นายปกรณ์กล่าวต่อว่า แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ เช่น เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า แต่จากข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะสหรัฐฯ

มีสัญญาณชัดเจนว่าจะฟื้นตัวดีกว่าที่คาดไว้ หากเทียบกับ 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยเสี่ยงในด้านราคาน้ำมันนั้น

จะต้องรอดูต่อไปว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยหรือไม่ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯคาดว่าการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในปัจจุบัน

จะกระทบต่อภาวะการฟื้นตัวต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก หากเหตุการณ์ในตะวันออกกลางคลี่คลายลง อีกทั้งการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย

จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป "มีรายงานในที่ประชุมเรื่องราคาน้ำมันซึ่งได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก เพราะเป็นเหตุทางการเมือง

และผู้ผลิตน้ำมันบางประเทศก็ปรับลดการผลิตลง เชื่อว่าไม่นานสถานการณ์จะคลี่คลาย" นายปกรณ์กล่าว โดยแบบจำลองของธปท.ที่ประเมินราคาน้ำมันไว้ปรากฎว่า หากราคาน้ำมันดิบปรับขึ้น10 %

จะกระทบต่อเงินเฟ้อทั่วไป 0.3% กระทบเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.1% และกระทบอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศ ให้หดตัวลง 0.1% หรือ -0.1% นายปกรณ์กล่าวว่า การพิจารณาคงดอกเบี้ยอาร์พี

ไว้ที่ระดับเดิมนั้น คณะกรรมการพิจารณาจากเศรษฐกิจมหภาค มากกว่าการพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในขณะนี้ กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตาม

ธนาคารเอเชียนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ธปท.ได้ประเมินการปรับตัวของดอกเบี้ยธนาคารพานิชย์ ในช่วงปลายปีและต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง รวม 0.5% ปรากฏว่า

ธนาคารพานิชย์มีการปรับลดเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำ แต่ไม่ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยออมทรัพย์ ดังนั้นหากในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

นับว่าเป็นผลจากการบริหารต้นทุนเฉพาะของธนาคารนั้นๆ ซึ่งการปรับลดใน 2 ครั้งที่ผ่านมานั้น มีส่วนดีในแง่ของการลดต้นทุนทางการประกอบธุรกิจ อุ๋ยส่งซิกนโยบายดอกเบี้ย ปล่อยแบงก์อิสระ

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน จะพิจารณาถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยว่าจะมีทิศทางใด

เพื่อส่งสัญญาณให้กับธนาคารพาณิชย์ได้ปรับตัว หลังจากนั้น จะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน ที่จะต้องดูแลตัวเอง "เรามีหน้าที่ดูแลดอกเบี้ยนโยบายแต่ละคนก็ต้องดูแลตัวเอง ซึ่งที่ประชุม

จะส่งสัญญาณว่าระดับดอกเบี้ยนโยบายควรเป็นอย่างไร จากนั้นภาคเอกชนก็จะดูแลตัวเอง ซึ่งเขาคงมีวิธีคิดของเขาเอง นับตั้งแต่แบงก์ชาติลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 2 ครั้ง เขาก็มีวิธีคิดว่าจะทำตามหรือไม่

บางแบงก์ทำตาม บางแบงก์ก็ไม่ทำ แล้วแต่สภาพคล่อง รวมถึงระดับการปล่อยสินเชื่อของแต่ละแบงก์ด้วยว่าเป็นอย่างไร"

การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเอเชียลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วถือเป็นเรื่องของดีมานด์ ซัพพลาย ซึ่งที่สำคัญคือเวลาลงหรือขึ้นจะต้องไปด้วยกันทั้งสองขา

ซึ่งธปท.ก็ติดตามดูอยู่และคิดว่ากระทรวงการคลังก็จะเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ซึ่งอาจมีมาตรการเข้ามาช่วยผู้ฝากเงินในวัยเกษียณ ตั้งแต่ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 2 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544

ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง 0.25 สตางค์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่มีการปรับลด ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็ปรับลงมา 0.25 สตางค์

ถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมโดยไม่นับรวมธนาคารเอเชียที่ปรับลดดอกเบี้ยไปสัปดาห์ที่ผ่านมา อรัญžเชื่อนโยบายการเงินไม่กระตุ้นศก. นายอรัญ ธรรมโน ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายการเงิน

กล่าวถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้ ว่าภาวะปัจจุบันทุกฝ่ายต้องจำยอม โดยเฉพาะผู้ฝากเงินต้องยอมรับว่า ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ

แต่การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์จะมีความเสี่ยงน้อย ขณะเดียวกันเป็นห่วงว่าผู้ลงทุนอาจนำเงินไปใช้ลงทุนในช่องทางอื่นแต่ไม่มีความรู้ อาจเกิดความเสียหายได้

สำหรับภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมขณะนี้ถือว่าดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ดีที่สุดอย่างที่ต้องการเห็น ดังนั้น ทางการควรมีมาตรการเข้ามากระตุ้น

ซึ่งคงต้องใช้นโยบายการคลังเข้ามาช่วยนอกจากนโยบายการเงินที่สนับสนุนอยู่ในขณะนี้ และในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป " ในภาวะที่เศรษฐกิจขยายตัวต่ำประมาณ1-2% นั้น

การใช้นโยบายการเงินมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยมาก น้อยกว่านโยบายการคลังแน่นอน " ส่วนเรื่องหนี้สาธารณะหากใช้นโยบายการคลังมากเกินไป

นายอรัญกล่าวว่าไม่มีประเทศใดที่กำหนดว่าหนี้สาธารณะควรเป็นเท่าไร ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการจำกัดตัวเอง แต่มองว่าถ้ามีหนี้สาธารณะแล้วจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ก็ควรทำไป

กรุงศรียังไม่ลดดอกเบี้ย นายจำลอง อติกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะยังไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงนี้

เนื่องจากธนาคารมีความสามารถในการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในขณะนี้ แต่ถ้าธนาคารใหญ่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจทำให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้น และอาจมีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม

ลำพังธนาคารเอเชียปรับลดเพียงแห่งเดียว และธนาคารอื่นไม่ปรับลดเลยคงไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ย ยกเว้นธนาคารใหญ่ปรับจะทำให้เงินฝากไหลเข้าแบงก์ที่ไม่ลดดอกเบี้ย ซึ่งก็จะเป็นปัญหาต้องลดตามกันทั้งระบบ

ดังนั้น เรื่องดอกเบี้ยขึ้นอยู่ภาวะตลาดเป็นส่วนใหญ่ผมเองยังไม่อยากเปลี่ยนแปลงเพราะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ต่ำมากแล้ว" นายจำลอง กล่าวอีกว่าประเทศไทยในขณะนี้มีสภาพขาดเงินออม

ซึ่งตามปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยจะต้องสูง แต่ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในภาวะไม่ปกติ จึงทำให้ดอกเบี้ยลดต่ำแต่ถ้าเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอย่างแน่นอน นายพีรศิลป์

ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยธนาคาร

กล่าวว่าธนาคารยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงน ี้เนื่องจากธนาคารมีสภาพคล่องส่วนเกินน้อยมาก โดยแต่ละเดือนมีสภาพคล่องส่วนเกินประมาณ 1,000-2,000ล้านบาทเท่านั้น

ล่าสุดธนาคารมียอดเงินฝากประมาณ 195,000 ล้านบาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่าธนาคารเอเชียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.25 %โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23ส

เม.ย.2545ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลงมาอยู่ที่ 1.25 %และดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 3 เดือน 6 เดือน และ 12เดือน ปรับลดลงเหลือ 1.75 %และดอกเบี้ยเงินกู้เอ็มแอลอาร์

ปรับลดลงจาก 7.25 % เหลือ7 % แบงก์เตือนธปท.อย่าเบลอนโยบายกระตุ้นศก. แหล่งข่าวจากวงการเงินกล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย

(ธปท.)ต้องให้สัญญาณที่ชัดเจนว่าจะดำเนินนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนต่อไปอย่างไรนับจากนี้

ที่สภาพคล่องทางการเงินในระบบยังล้นระบบ จนทำให้ธนาคารพาณิชย์ตัดสินใจลดดอกเบี้ยเงินฝากลง ในขณะเดียวกันค่าเงินบาทแข็งขึ้นต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับดอลลาร์

ซึ่งหากค่าเงินบาทยังแข็งต่อไปย่อมส่งผลเสียต่อการส่งออก แหล่งข่าวกล่าวว่า ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแต่ยังเปราะบาง

จำเป็นต้องอาศัยทั้งภาครัฐและการใช้จ่ายภาคเอกชนช่วยสนับสนุนในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยหากภาครัฐต้องการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป

ก็ต้องพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางต่ำและต้องพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อนช่วยส่งเสริมในเรื่องการส่งออก ในขณะนี้จะเห็นได้ว่า

ภาคเอกชนโดยธนาคารพาณิชย์ได้ลดดอกเบี้ยทั้งก ู้และฝากส่วนหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องตนเองแต่ถือเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ

"สำหรับค่าเงินบาทตอนนี้ถือว่าค่อนข้างแข็ง หากปล่อยให้แข็งในระยาวย่อมไม่ดีต่อการส่งออก ซึ่งแบงก์ชาติสามารถทำให้อ่อนได้โดยการนำบาทออกมาซื้อเงินดอลลาร์

แต่ดูเหมือนว่าแบงก์ชาติไม่พยายามทำเต็มที่นัก ส่วนหนึ่งอาจกลัวว่าจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องหรือเงินบาทในระบบจนอาจทำให้เกิดแรงกดดันให้ดอกเบี้ยลงอีก

ซึ่งในทางการเมืองอาจจะรับไม่ได้หากแบงก์พาณิชย์ต้องมีการลดดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก เพราะปัจจุบันดอกเบี้ยออมทรัพย์ของบางแบงก์ลงมาอยู่ที่ 1.25%แล้ว" อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวกล่าวว่า

เงินบาทที่แข็งขึ้นในขณะนี้เนื่องจากเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ที่นักลงทุนต่างประเทศมองว่า

ผลตอบแทนในการลงทุนในตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศภูมิภาครวมทั้งประเทศไทยน่าสนใจมากขึ้นจึงเริ่มเข้ามาสะสมหุ้นเก็บไว้ในพอร์ต "เราสามารถมองได้ว่า

นักลงทุนต่างประเทศมีความมั่นใจในประเทศไทยมากขึ้นถึงได้เริ่มเข้ามาสะสมหุ้นในพอร์ต แต่รัฐบาลไทยรวมทั้งแบงก์ชาติก็ควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการเสริมความเชื่อมั่นดังกล่าว ให้เกิดต่อเนื่อง เช่น

หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นการใช้จ่ายต่อไปรวมถึงต้องทำให้บาทอ่อนเพื่อส่งเสริมการส่งออก

ซึ่งรัฐบาลไม่ควรเข้ามาแทรกแซงหากแบงก์พาณิชย์มีการลดดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก " นักค้าเงินธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่าธปท.เข้ามาแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศตั้งแต่ต้นปี

แต่การเข้ามาเป็นลักษณะของการทำให้ค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวไม่หวือหวามากนัก ซึ่งการที่บาทแข็งขึ้นก็สอดคล้องกับเงินสกุลต่างๆในภูมิภาคที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลาร์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us