Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
Repositioning Asia from Bubble to Sustainable Economy             
 





ไม่มีงานใดในโลกที่จะยากไปกว่าการหมุนเศรษฐกิจของเอเชียกลับ ไปอีกด้าน

นักเศรษฐศาสตร์มหภาคบางคน ตำหนิความล้มเหลวของภูมิภาคเอเชียครั้งนี้ว่า เป็นผลมาจากความผิดพลาดของนโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomic policies) หรือนักวิเคราะห์ธนาคารและไฟแนนซ์บอกว่าเกิดจากระบบสถาบันการเงินอ่อนแอ ซึ่งต่างถกเถียงกันไม่สิ้นสุด แต่เหตุผลจริงๆ ที่ทำให้ความมหัศจรรย์แห่งเอเชีย ปรากฏโฉมขึ้นมีมากกว่านี้

Repositioning Asia : From Bubble to Sustainable Economy เขียนโดย Philip Kotler ผู้เชี่ยวชาญการตลาดของโลก และ Hermawan Kartajaya ผู้เชี่ยวชาญการตลาดของเอเชีย เป็นหนังสือที่สรุปให้เห็นชัดถึงต้นตอปัญหา บทเรียนจากวิกฤติเอเชีย และทางออกกลยุทธ์วิธีการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับระบบเศรษฐกิจแนวใหม่

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมเอาวิสัยทัศน์ของ Kotler และ Hermawan เกี่ยวกับอนาคตของเอเชียและความสำเร็จที่ยั่งยืนของภูมิภาคนี้ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกที่รุนแรง โดยทั้งสองได้ให้มุมมองด้านกลยุทธ์ทางการตลาดที่เป็นระดับสากล

ผู้เชี่ยวชาญการตลาดทั้งสองได้วางแนวคิดที่จะเขียนหนังสือด้วยกันเมื่อปี 1998 โดยได้ไปเจอกันในการประชุมทางด้านการตลาดที่กรุงมอสโก ทั้งสองมีแรงจูงใจอย่างเดียวกัน คือ จาก การสำรวจและหาหลักฐานความล้มเหลว ของเศรษฐกิจเอเชียว่าเกิดจากอะไร เพราะคนส่วนใหญ่มักจะชอบอ้างว่ารัฐบาลมีผลการดำเนินงานไม่ดี นี่คือบทสรุปโดยกว้างๆ ที่ได้รับ

รวมถึงการที่เศรษฐกิจล้มไปเพราะนักธุรกิจภาคเอกชนไม่ได้ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส ชัดเจน และถูกต้อง หรือที่เรียกว่าธรรมาภิบาล (Good Governance) บทสรุปสองข้อนี้ เกิดข้อสงสัยแก่ Kotler และ Hermawan ว่าเศรษฐกิจเอเชียล่มสลายด้วยเหตุผลสองข้อนี้หรือไม่?

หลังจากลงมือทำงานก็พบว่า จริงๆ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาขนาด ใหญ่ (macro problem) แท้ที่จริงเกิดขึ้นจากปัญหาขนาดเล็ก (micro pro-blem) ของแต่ละองค์กรธุรกิจ และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาความผิดพลาดในการดำเนินงานส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่เกิดจากการวางกลยุทธ์ทางการตลาดบกพร่อง นัยที่ท่านทั้งสองบอกไว้ คือ มีความบกพร่องเกิดขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน

ทั้งสองจึงลงความเห็นว่า การเกิด วิกฤติเอเชียเป็นสัญญาณเตือนภัยและมีสัญญาณเกิดในเอเชียทั้งภูมิภาคจากสิ่งที่เคยเป็นอยู่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจฟอง สบู่ (bubble economy) ซึ่งในอดีตผู้คนไม่ค่อยตระหนักกันเลยว่าตนเองกำลังอยู่ในเศรษฐกิจฟองสบู่ ดังนั้นคำว่า bubble economy จึงเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจทรุดตัว และถ้าภูมิภาคเอเชียไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ คงไม่มีใครรู้ว่าธุรกิจต่างๆ มีการดำเนินธุรกิจกันอย่างไร

คำว่า bubble ในความหมายอีก แง่ คือ beautiful outside เพราะฟองสบู่บางครั้งมองภายนอกมีความงดงามยิ่ง ภายในกลับมีแต่ความว่างเปล่า และ ทันทีที่ฟองสบู่แตกจะไม่เหลืออะไรเลย

นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาคำว่า crisis ภาษาจีนเรียกว่า wei-ji ซึ่งทั้ง สองคำมีความหมายและใช้ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียขณะนี้ คำว่า wei หมายถึง อันตราย ส่วนคำว่า ji หมายถึง โอกาส ดังนั้นจะมองเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้อย่าได้มองด้านลบอย่างเดียว แต่จงมองให้เป็นโอกาสในการฟื้นตัว โดยเฉพาะหากธุรกิจ ใดมีวิสัยทัศน์ แนวทางการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการเรียนรู้และเตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง ธุรกิจเหล่า นั้นจะเติบโตและมั่นคงในระยะยาว

ผู้เขียนได้ให้ทัศนะว่า อนาคตจะ มีความสดใสสำหรับผู้ที่มีความพร้อม ในการปรับตัวและเรียนรู้บทที่เกี่ยวกับยุทธวิธีในการฟื้นคืนชีพของเศรษฐกิจนั้นน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและนักวางแผนทั้งในเอเชียและที่อื่นๆ โดยจุดเด่นของหนังสืออยู่ที่การวิเคราะห์ไปข้างหน้า

ผู้เขียนจะบอกว่าทำอย่างไรที่จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นกลับมาอีกครั้ง โดยมี กลยุทธ์ในการมอง 2 วิธี คือ การรักษา ข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางการตลาด (competitiveness) และมีความมั่นคง ทางการเงิน (financial soundness) และในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคเอเชีย Kotler และ Hermawan ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

bubble organization เป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการแบบฟองสบู่ ปัจจุบันธุรกิจเหล่านี้จะมีปัญหาทางการเงินรุนแรง มีภาระหนี้ผูกพันกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็น การกู้มาใช้ในช่วงฟองสบู่ ช่วงนั้นธุรกิจจึงเติบใหญ่อย่างรวดเร็ว แต่โดยเนื้อแท้แล้วพวกเขาไม่รู้ว่าจะจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้อย่างไร แต่ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา พวกเขาต้องทำเช่นนั้น ส่งผลให้ฟองสบู่ผุดขึ้นมาอย่างมากมาย

aggressive organization ธุรกิจกลุ่มนี้มีคุณสมบัติด้านความมั่นคงทางการเงิน เป็นพวกที่รู้และเก่งไปหมดจึงขยายธุรกิจไปเรื่อยๆ แต่สุดท้ายพวกเขาถูกกับดัก คือ มีภาระหนี้ ผูกพันกับการกู้ยืมเงินอย่างมหาศาล

conservative organization เป็นกลุ่มธุรกิจที่ไม่มีการกู้ยืมเงินหรือมีภาระหนี้ผูกพันเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นบริษัทที่มีความได้เปรียบในการดำเนินกิจการด้านการส่งออก ความ คิดของพวกเขาจึงกลายเป็นว่าอยากให้มีวิกฤติเศรษฐกิจการเงินเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

พวกเขาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์โลกปัจจุบันจำเป็นต้องมีการปรับการดำเนินงานภายในองค์กร ที่เรียกว่า corporate culture restruc-turing

sustainable organization กลุ่มธุรกิจเหล่านี้มีทั้งข้อได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางการตลาดและมีความ มั่นคงทางการเงินสูง แต่ปัญหาคือ จะทำ อย่างไรที่จะรักษาความเป็นผู้นำในเศรษฐกิจหรือตลาดได้ ซึ่งในส่วนนี้จะต้องมีรูปแบบกลยุทธ์ด้านการตลาด (strategy marketing model) สมบูรณ์ ที่เรียกว่า 4C

หมายถึงทำอย่างไรที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อให้ประสบความสำเร็จ (change) ซึ่งจะต้องเข้าใจและเข้าถึงลูกค้า (customer) รวมถึงต้องเข้ามาแข่งขันอย่างมีกลยุทธ์มากขึ้น (com-petition) ที่สำคัญต้องรู้ว่าธุรกิจหลักที่ดำเนินการอยู่ตรงไหน (core competence) แล้วก็พัฒนาธุรกิจนั้น

การวางกลยุทธ์ทางการตลาดจะต้องวางกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน มีการวางจุดยืนทางการตลาดของสินค้า แม้กระทั่งนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปใช้กับการดำเนินการระดับประเทศได้ วิธีการทำงานทางตลาด คือ จะต้องทำให้สินค้า มีความแตกต่างจากคู่แข่ง อีกทั้งการเพิ่ม มูลค่าให้กับลูกค้ามีส่วนสำคัญด้วย หมายถึงว่าทำอย่างไรก็ได้ในการวางกลยุทธ์ที่จะขโมยหัวใจลูกค้ามาไว้กับบริษัท

อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นการง่ายหากจะต้องการเน้นในธุรกิจด้านใดด้านหนึ่ง การสร้างประสิทธิภาพ รวมถึงการคาดหวังถึงความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ แต่นี่เป็นสิ่งที่บริษัทต้องทำเพื่อให้ เกิดการพัฒนาและขยายตัว และทั้งหมด นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้

Kotler เป็นศาสตราจารย์พิเศษระดับปริญญาโทภาควิชาการตลาดสากล สถาบันด้านการบริหาร Kellogg มหา วิทยาลัย Northwestern และยังเป็น ที่ปรึกษาให้กับบรรษัทข้ามชาติหลายแห่งและเป็นผู้บรรยายในเอเชียและอเมริกาเหนือ

ด้าน Hermawan เป็นที่ปรึกษา ด้านการวางแผนที่ MarkPlus&Co ซึ่งเขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นที่อินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์ด้านการตลาด แห่งเอเชียแปซิฟิก และรองประธานสมาคมการตลาดโลก

 

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us