โรงไฟฟ้าราชบุรี เข้าตลาดฯไตรมาส 3/2543 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
30 พฤศจิกายน 2542 ดร. สาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่งกำกับดูแลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้นำมติของคณะกรรมการ
กฟผ. ที่ ได้เห็นชอบแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีด้วยการจัดตั้งเป็นบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง
จำกัด และนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป
แทนการขายหุ้น ให้กับพันธมิตรร่วมทุนเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี
แผนการระดมทุนดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในวันที่ 30 พ.ย. ดังกล่าว
โดยกฟผ.จะจัดตั้งบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด และเข้าถือหุ้น 10 0% เต็มในราชบุรีฯ
แล้วจัดตั้งบริษัทในเครือ 1 บริษัทคือ บริษัทผลิต ไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ให้ราชบุรีโฮลดิ้งเข้าถือหุ้น
100%
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จะเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า และทรัพย์สินอื่นๆ ทั้งหมดของโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี
ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ทรัพย์สิน ที่ใช้ร่วมกัน และ ที่ดิน
กฟผ.จะโอนทรัพย์สินของโครงการราชบุรีพร้อม ที่ดินทั้งหมด ซึ่ง ประกอบด้วย
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุด ที่ 1-3 กำลังการผลิตรวม 2,175 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่อง ที่
1-2 กำลังผลิตรวม 1,470 เมกะวัตต์ และ ที่ดินให้แก่บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี
โดยมูลค่าทรัพย์สิน ที่โอน ทั้งหมดมีประมา ณ 55,000 ล้านบาท (มูลค่าตามบัญชีสุทธิ)
แนวทางการระดมทุนของราชบุรีโฮลดิ้งจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียน 2 ครั้ง
ครั้งแรก เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมคือ กฟผ.ทั้งจำนวน ในราคาตามมูลค่า ที่ตราไว้
(ราคาพาร์ / par value)
ครั้งสอง ราชบุรีโฮลดิ้งจะแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และเพิ่มทุน โดยเสนอขายหุ้นสามัญใหม่เพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไป
พร้อมกันนั้น กฟผ.จะนำหุ้นเดิม ที่ถืออยู่ในราชบุรีโฮลดิ้งบางส่วนมาเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป
พนักงานกฟผ. เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นลงให้เหลือประมาณ 45%
ส่วนบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของราชบุรีโฮลดิ้งก็จะระดมทุนจากส่วนของ
ผู้ถือหุ้นคือ ราชบุรีโฮล-ดิ้ง และเงินกู้ เพื่อนำเงินมาซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ทรัพย์สิน ที่ใช้ร่วมกัน และ ที่ดินจาก กฟผ. โดยดำเนินการดังนี้
ในส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีเพิ่มทุน และขายหุ้นให้แก่ราชบุรีโฮลดิ้ง
100%
ในส่วนของเงินกู้ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี ระดมเงินกู้จากตลาดเงิน ตลาดทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ทั้งนี้สัดส่วนเงินกู้จากใน และต่างประ เทศขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาดเงินตลาดทุนในเวลานั้น
เมื่อนำราชบุรีโฮลดิ้งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แล้ว โครงสร้างผู้ถือหุ้นจะเป็นดังนี้คือ
กฟผ. 45%, พนักงาน กฟผ. 15% และ ประชาชนทั่วไป 40%
ทั้งนี้โรงไฟฟ้าราชบุรีเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งภาพ รวมทั้งโครงการเวลานี้แล้วเสร็จประมาณ
71% กฟผ.คาดว่าจะนำราชบุรีโฮลดิ้งเข้ากระจายหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ได้ประมาณเดือนกันยายน
2543