|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2548
|
|
ผู้ที่ผ่านไปมาย่านสยามเซ็นเตอร์ คงเห็นการก่อสร้างโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ "สยามพารากอน" ที่กำลังเร่งงานให้เสร็จทันปลายปีนี้
ในขณะเดียวกัน สยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าแห่งแรกของเมืองไทย ที่เปิดบริการตั้งแต่ปี 2516 ก็กำลังทำการยกเครื่องครั้งใหญ่สุดในรอบ 30 กว่าปี ภายใต้แนวคิดของจุดยืนเดิมคือการเป็นศูนย์กลางแฟชั่นที่สุดเปรี้ยวของวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งเป็นสถานที่ทดลองตลาดและสื่อโฆษณาใหม่ๆ
การปรับโฉมใหม่ของสยามเซ็นเตอร์ จึงได้วางแผนจัดการ ไปพร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนสินค้าและการบริการ โดยกำหนด โซนใหม่ทั้งหมด 4 โซน คือ 1. เน้นแฟชั่นแบรนด์ใหม่จากต่างประเทศที่ไม่เคยมีมาก่อนในเมืองไทย จำนวน 12 แบรนด์ 2. นำ เสนอ Flagship Store ขนาดใหญ่ของดีไซเนอร์ไทย เพื่อให้เป็น "Thai Designer Showcase" 3. จัดพื้นที่สำหรับ Young Designer รุ่นใหม่ของไทย และ 4. ย้ายร้านอาหารทั้งหมดไปอยู่บนชั้น 4
การคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่มีความแปลกแตกต่างไม่เหมือน ใคร รวมทั้งการนำเสนอสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่ใช้ Multi-Media เทคโนโลยีแสงสีและภาพกราฟิกที่ทันสมัย เพื่อเป็นการสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของศูนย์ เป็นสิ่งที่ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้บริหารสยามเซ็นเตอร์ท้าทายให้คอยจับตามอง
การจัดงานเปิดตัวคอลเลกชั่นใหม่ปี 2005 ของ Esprit โดยให้นางแบบนายแบบวัยหนุ่มสาวเดินแฟชั่นโชว์ในแนวดิ่งจากยอดตึกลงมาจนกลายเป็น "Talk of the Town" เมื่อกลางเดือน กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ตอกย้ำวิธีคิดของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี
"ทุกอย่างที่ทำเพื่อสร้างความมันส์ให้กับลูกค้าที่เดินเข้ามา ส่งผลให้ยอดขายของลูกค้าที่เช่าที่เพิ่มขึ้น เพื่อการเก็บค่าเช่าที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยของเรา" เธอเล่าให้สื่อมวลชนฟังอย่างติดตลก
สยามเซ็นเตอร์โฟกัสกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มวัยรุ่น ส่วนสยามดิสคัฟเวอรี่ที่จะเริ่มต้นปรับปรุงโฉมใหม่ในปี 2549 นั้น โฟกัสกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มคนทำงานและครอบครัวที่มีกำลังซื้อ ต้องการสินค้าตกแต่งบ้าน และสินค้ามีดีไซน์ต่างๆ รวมทั้งเปิดร้าน Watson ภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่แห่งที่ 2 ของเอเชีย
ส่วนสยามพารากอนจะเป็นแหล่งรวมสินค้าและบริการหลากหลายระดับเวิลด์คลาส จับกลุ่มนักท่องเที่ยวและไฮโซผู้นิยมแบรนด์เนมราคาแพง
ชฎาทิพบอกว่า "เราจะเน้นทำการตลาดให้รู้ว่าสมาชิกใน หนึ่งครอบครัว ใครจะ belong to ตึกไหน"
โครงการสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ ในพื้นที่ 70 ไร่ใจกลางกรุง กำลังจะอวดโฉมปลายปีนี้ ในขณะที่ทีมผู้บริหารกำลังลุ้นทำเลทองแห่งใหม่ในพื้นที่ 100 ไร่ของโรงเรียนเตรียมทหารบนถนนพระราม 4 ที่ได้ยื่นประมูลไปแล้ว และอยู่ในระหว่างการรอผล
และหากได้มาจริงงานใหญ่ของชฎาทิพ จูตระกูล และศุภลักษณ์ อัมพุช คงต้องเริ่มต้นอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง
|
|
|
|
|