Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548
Long Walk to World Kitchen             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

The Way to be kitchen of the World
CPF's Growth Engine
CP เมื่อพ่อครัวออกมายืนหน้าร้าน
Tyson ต้นแบบธุรกิจอาหารครบวงจร
Kitchen of the World VS World as the Kitchen
ภาพสะท้อนยุทธศาสตร์ Kitchen of the World
The World Rival

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
YONEKYU Co.Ltd Homepage

   
search resources

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, บมจ.
Food and Beverage
โยนิคิว คอร์ปอเรชั่น
ซีพี-โยนิคิว, บจก.




ความเคลื่อนไหวของ CPF ในการร่วมลงทุนกับ Yonekyu Corp. บรรษัทผู้ประกอบการผลิตและแปรรูปเนื้อสัตว์ขนาดกลางจากญี่ปุ่น ด้วยการจัดตั้งบริษัท CP-Yonekyu เมื่อช่วงปลายปี 2004 ที่ผ่านมา กำลังเป็นบทพิสูจน์ศักยภาพและความสามารถของ CPF ในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่

แม้ในด้านหนึ่ง กรณีดังกล่าวจะสะท้อนความพยายามของ CPF ในการสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัท ภายใต้ความมุ่งหวังว่าระดับการพัฒนาและเทคโนโลยีทางการผลิตของ Yonekyu อาจช่วยลดทอนระยะเวลาและเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นในอนาคต หลังจากที่ CPF ต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ไข้หวัดนก ในช่วงที่ผ่านมา

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในแต่ละปีญี่ปุ่นนำเข้าไก่สดแช่เย็น-แช่แข็ง และไก่แปรรูปจากประเทศไทยมีมูลค่าเฉลี่ยกว่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 47-52 ของมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่ของไทย การสูญเสียตลาดส่งออกไก่ดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมารองรับกับรายได้ที่หดหายไปด้วย

แต่การปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ย่อมมิได้เกิดขึ้นโดยลำพัง ท่ามกลางสุญญากาศที่ปราศจากคู่แข่งขันในการช่วงชิงช่องทางธุรกิจนี้ เพราะผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรทั้งจากยุโรปและอเมริกา ต่างติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ภายใต้ความเชื่อที่ว่า "วิกฤติของไก่คือโอกาสของหมู"

การร่วมทุนระหว่าง CPF และ Yonekyu ก็กำลังสะท้อนความเป็นไปดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

แม้ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะมิใช่ครั้งแรกที่ CPF พยายามขยายบริบททางธุรกิจให้กว้างขวางออกไปจากปริมณฑลของไก่ เพราะก่อนหน้านี้ CPF ได้ขยายบริบททางธุรกิจเข้าสู่ Aquaculture ที่กำลังมีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ CPF ในปัจจุบันก็ตาม

อย่างไรก็ดี ภายใต้โครงสร้างทางธุรกิจของ Yonekyu ที่ประกอบด้วยธุรกิจผลิตและจำหน่ายเนื้อสัตว์สด (fresh meats) ธุรกิจ Hams & Sausages และธุรกิจแปรรูปอาหาร (processed foods) ซึ่งมียอดการจำหน่ายรวมประมาณ 9.93 หมื่นล้านเยน หรือประมาณ 3.86 หมื่นล้าน บาท ในช่วงปี 2004 ที่ผ่านมา Yonekyu กำลังดำเนินความพยายามที่จะขยายฐานรายได้ในหมวด Hams & Sausages และธุรกิจแปรรูปอาหาร (processed foods) ให้มากยิ่งขึ้น

แม้ Yonekyu จะมีฐานการผลิตหลักอยู่ในเขตจังหวัด Shizuoka แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารแปรรูปของ Yonekyu มีจุดน่าสนใจอยู่ที่การเป็นอาหารแปรรูปที่สอดรับและไปกันได้ดีกับ Asian Cuisine ซึ่งพร้อมจะขยายตลาดไปได้อย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันการมี Kirin Brewery เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยังเปิดโอกาสให้สินค้าของ Yonekyu สามารถจำหน่ายผ่านช่องทางการจำหน่ายหรือแม้กระทั่งเครือข่ายร้านอาหารของ Kirin ด้วย

นอกจากนี้สายการผลิตของ Yonekyu ซึ่งครอบคลุมเนื้อสัตว์ทุกประเภททั้งเนื้อวัว หมู และไก่ ยังเปิดโอกาสให้ CPF สามารถอาศัยใช้ความชำนาญการของ Yonekyu มาหนุนเสริมการแปรรูปวัตถุดิบหลากหลายที่ CPF ผลิตได้อย่างกว้างขวางไปในคราวเดียวกัน

การร่วมลงทุนดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่น่าสนใจติดตามว่า ผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ผลิตได้จากโรงงานแห่งนี้จะก้าวเดินเข้าสู่ตลาดแต่ละแห่ง ภายใต้ แบรนด์สินค้าของผู้ร่วมทุนฝ่ายใดและอย่างไร

หรือถึงที่สุดแล้ว CPF ยังต้องดำรงสถานะเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตที่ ต้องอาศัย Yonekyu เป็นธงนำในการอุ้มจูงผลิตภัณฑ์ของ CPF ไปสู่ตลาด โลก ซึ่งดูเหมือนหนทางของการพัฒนาไปสู่การเป็นครัวของโลก ที่หลายฝ่าย มุ่งหมายจะให้เกิดขึ้นนั้นจะยังไม่ปรากฏเป็นจริงในห้วงเวลาอันใกล้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us