Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548
Tyson ต้นแบบธุรกิจอาหารครบวงจร             
โดย มานิตา เข็มทอง
 

   
related stories

The Way to be kitchen of the World
CPF's Growth Engine
CP เมื่อพ่อครัวออกมายืนหน้าร้าน
Kitchen of the World VS World as the Kitchen
Long Walk to World Kitchen
ภาพสะท้อนยุทธศาสตร์ Kitchen of the World
The World Rival

   
www resources

Tyson Homepage

   
search resources

Food and Beverage
Tyson Foods Inc.




ปี ค.ศ.2005 นี้เป็นปีครบรอบ 70 ปี ของธุรกิจอาหาร Tyson และถือเป็นรุ่นที่สามของตระกูล Tyson ในการบริหารธุรกิจ โดยรุ่นบุกเบิกมี John Tyson เป็นผู้ริเริ่มหาเลี้ยงครอบครัวที่มีกันอยู่ 3 คน พ่อ (John Tyson) แม่ (Helen Tyson) และลูก (Don Tyson) ด้วยการขายไก่และขายผัก ภายในท้องถิ่นที่มลรัฐ Arkansas เท่านั้น

ต่อมาในปี 1935 ซึ่งอยู่ช่วงกลียุค "Great Depression" ของอเมริกา John ตัดสินใจซื้อไก่ 500 ตัวใส่รถบรรทุกเก่าๆ ไปขายนอกพื้นที่ จากธุรกิจเล็กๆ ของครอบครัวระดับท้องถิ่น เริ่มทะยานออกสู่โลกภายนอก เมื่อเขาขับรถบรรทุกขายไก่ออกจาก Arkansas มุ่งหน้าสู่ Kansas City และ Chicago ต่อมาธุรกิจเริ่มเติบโตมาก ขึ้น รอซื้ออาหารไก่จากโรงโม่อื่นไม่ไหว เขาจึงเริ่มธุรกิจโรงโม่อาหารสัตว์เป็นของตัวเอง ซึ่งนอกจากจะผลิตอาหารเลี้ยงไก่ของตนเองแล้ว ยังมีกำลังขยายเป็นตัวแทน ผู้จำหน่ายอาหารสัตว์ให้แก่บริษัท Ralston Purina ผู้จำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่ ในอเมริกาอีกด้วย

เกือบสิบปีให้หลังนับจากวันเริ่มต้น John ตัดสินใจซื้อโรงเลี้ยงไก่แบบครบวงจร เริ่มจาก Broiler Farm ในเมือง Springdale มลรัฐ Arkansas จากนั้นอีก 2 ปีต่อมาเขาซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่พันธุ์เนื้อ Red Christy จาก New Hampshire จากนั้นเขาเริ่มผสมไก่ข้ามพันธุ์ ปรากฏว่าไก่ที่เขาผสมได้กลับให้ผลผลิตที่ดีกว่าพันธุ์แท้ดั้งเดิม เป็นต้นกำเนิดของบริษัท Tyson Feed & Hatchery ที่เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1947 โดยมี 3 ธุรกิจหลักคือ จำหน่ายลูกเจี๊ยบ จำหน่ายอาหารไก่ และขนส่งไก่ไปยังตลาดต่างๆ

เมื่อธุรกิจผลิตไก่ไปได้ดี ย่อมมีคู่แข่งตามมา ในยุค 50's Tyson มีคู่แข่งถึง 19 ราย แม้อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่จะเป็นธุรกิจ ที่มีอัตราการเติบโตที่ดี แต่กระนั้นพวกเขายังต้องเผชิญกับโรคระบาด ที่เกิดกับไก่ จน John และ Helen เกือบตัดสินใจขายธุรกิจให้แก่ Swanson คู่แข่งอีกรายที่ใหญ่กว่า แต่เขาก็อดทนต่อสู้ และในที่สุด เพื่อสืบสานกิจการของ Tyson ผู้พ่อ ดังนั้น Don Tyson ลูกชายคนเดียวของ John และ Helen จึงตัดสินใจออกจากมหาวิทยาลัย และเริ่มหน้าที่เป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทอย่าง เต็มตัว

เมื่อผ่านภาวะวิกฤติช่วงนั้นไปได้ โรงฟักไข่ของ Tyson สามารถผลิตลูกเจี๊ยบได้มากถึงสัปดาห์ละ 12,000 ตัว และมียอดขายสูงถึง 1 ล้านเหรียญต่อปี ซึ่งถึงเวลาของการขยายกิจการอีกครั้ง โดยในช่วงปลายของปี 50's John ได้ซื้อที่ดินผืนหนึ่งในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของ Arkansas เพื่อสร้างโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ (Processing Plant) แต่เขาไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจา และรู้สึกเหนื่อยท้อกับการขยายโรงงานครั้งนี้ จนกระทั่ง Don พยายามเกลี้ยกล่อมบิดาให้ยอมอนุญาตให้เขาเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมงานในการก่อสร้างโรงงานใหม่ภายใต้วงเงิน 75,000 เหรียญ และไม่กี่เดือนต่อมาแปรรูปเนื้อไก่แห่งแรกของ Tyson ใน Springdale ก็เสร็จสมบูรณ์ด้วยงบประมาณที่บานปลายเป็น 90,000 เหรียญ

ต่อมาในช่วงปี 60's เป็นช่วงขาลงของธุรกิจ Tyson อีกครั้ง บริษัทไม่มีกำไรมาก แต่สองพ่อลูก John และ Don หาได้ย่อท้อไม่ กลับหาช่องทางในการสร้างรายได้ด้วยการเริ่มธุรกิจขายไข่ควบคู่ไปกับการขายเนื้อไก่ และสร้างออฟฟิศใหม่ในดาวน์ทาวน์ของ Springdale และเป็นยุคแรกที่เริ่มจ้างมืออาชีพเข้ามาร่วมงาน โดยคนแรกคือ Donald หรือ "Buddy" Wray เข้ามาช่วยดูแลทางด้าน Field Service และปัจจุบันเขาเกษียณอายุในตำแหน่งประธานและซีโอโอ (Chief Operating Officer) หลังจากที่ Buddy เข้ามาช่วยงานครอบครัว Tyson เพียงไม่กี่ปี ในปี 1963 บริษัท Tyson ก็เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา โดยขายหุ้นจำนวน 10,000 หุ้นให้แก่สาธารณะ ณ ราคาหุ้นละ 10.50 เหรียญ และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Tyson's Foods, Inc.

และในปีเดียวกัน Tyson's Foods ก็เข้าซื้อกิจการของบริษัท Garrett Poultry แห่งเมือง Roger ใน Arkansas และในยุคบูมของธุรกิจผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ (Broiler Production) โดยเฉพาะในรัฐ Arkansas เองมีการเติบโตสูงถึง 366%

แม้ว่าธุรกิจของ Tyson's Foods จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงอยู่ภายใต้กลไกของตลาดที่มีขึ้นมีลง Don ในฐานะ GM ของบริษัทในขณะนั้นได้คิดกลยุทธ์ขยายธุรกิจ "Expand or Expire" ด้วยการ เข้าซื้อกิจการอื่นในธุรกิจเดียวกัน

ต่อมาในปี 1966 Don Tyson ก้าวขึ้นเป็นประธานของบริษัท และในปีถัดมาครอบครัว Tyson เผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่ อุบัติเหตุรถไฟชนกับรถยนต์ที่ John และ Helen นั่งมา ในปีนั้นเอง Don สูญเสียสองผู้ให้กำเนิดในคราเดียวกัน

Don คงประคองธุรกิจต่อไป ภายใต้กลยุทธ์ "Expand or Expire" ซึ่งเขาได้ซื้อกิจการของบริษัท Franz Foods & Prospect Farms และสองปีต่อมาหลังจากเขาขึ้นเป็นผู้บริหารบริษัทอย่างเต็มตัว ธุรกิจของ Tyson's Foods มีปริมาณการชำแหละไก่ถึงปีละ 54 ล้านตัว และได้ใช้นำเสนอ "Further-Processed" มาใช้ในธุรกิจสัตว์ปีกเป็นรายแรกของตลาดอเมริกา ซึ่งเป็นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จ รูปที่ทำมาจากไก่ นอกเหนือจากจำหน่ายเพียงเนื้อไก่สดหรือแช่แข็งเท่านั้น

จากการตลาดด้านคุณค่าโภชนาการ ทางอาหาร คนอเมริกันหันมาบริโภคเนื้อไก่มากขึ้น ยอดผลิตไก่เพิ่มเป็น 72 ล้านตัวต่อปี และธุรกิจของ Tyson ก็ติดอันดับหนึ่งใน 1,000 ธุรกิจแนวหน้าของนิตยสารฟอร์จูน และต่อมาในปี 1971 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น Tyson Foods, Inc. ธุรกิจยังเติบโตขยายไปได้ดี

จนกระทั่งในปี 1974 อุตสาหกรรมค้าสัตว์ปีกได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าจากภาวะขาดแคลนธัญพืช ที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะไก่ที่บริโภคธัญพืชเป็นอาหารหลัก ประกอบกับคู่แข่งจากรัสเซียที่เริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่มาสู่ตลาดอเมริกา ทำให้ราคาภายในประเทศตกต่ำลงมาก แต่ Tyson ยังคงประคองตัวอยู่ได้ มียอดการผลิตไก่สูงถึงสัปดาห์ละ 4.5 ล้านตัว หรือประมาณ 234 ล้านตัวต่อปี

นอกจากนี้ Tyson ยังพยายามหาช่องทางขยายรายได้ ด้วยการขยายธุรกิจไปสู่สุกร ด้วยการซื้อฟาร์มเลี้ยงสุกรเป็นครั้งแรก และคงสถานะเป็นบริษัทผู้ผลิตเนื้อสุกรที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา จากกลยุทธ์ "Expand or Expire" Tyson ซื้อกิจการ Krispy Kitchens ซึ่งทำธุรกิจอาหารแช่แข็ง กิจการ Ocoma Foods ซึ่งผลิตทั้งไก่และหมู กิจการ Vantress Pedigree และกิจการ Wilson Food Corporation

ในยุค 80's เป็นยุคที่ Tyson สร้างรายได้ และขยายกิจการได้มากที่สุด ผู้คนหันมาบริโภคสัตว์ปีกและเนื้อสุกรมากขึ้นกว่าเนื้อวัว Tyson ซื้อกิจการ Honeybear Foods และเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารจากไก่สำเร็จรูปแช่แข็งแบรนด์ Chick'n Quick ซึ่งใช้ระบบ IQF หรือ Individually Quick Frozen เป็นสินค้าที่ขายดีทั่วประเทศ ต่อมาในปี 1983 Tyson ซื้อกิจการ Mexican Original จำหน่ายอาหารเม็กซิกัน โดยเฉพาะแผ่นแป้งข้าวโพด Tortillas และแผ่นข้าวโพดกรอบ ในปีนั้นยอดขายของบริษัทพุ่งเป็น 1,000 ล้าน เหรียญ และยังไม่หยุดเพียงเท่านั้น ในปีเดียวกัน Tyson ซื้อกิจการ Lane Processing ผู้ผลิตไก่แช่แข็งและบริษัท Valmac ผู้ผลิตไก่แช่แข็ง "TastyBird" ที่เคยเป็นคู่แข่งอยู่ในรัฐเดียวกัน ผลการซื้อครั้งนี้ทำให้ Tyson ได้ยอดขายเพิ่มอีกปีละ 400 ล้านเหรียญ พร้อมกับร้านอาหารที่เป็นลูกค้าของ Valmac อีกจำนวนหนึ่ง

นอกจากนั้นในปี 1986 Tyson ขึ้นเป็นบริษัทอันดับหนึ่งเบียดคู่แข่งอย่าง ConAgra ได้อย่างสบาย และในที่สุดในปี 1989 Tyson เอาชนะ ConAgra ในการซื้อกิจการของ Holly Farms ซึ่งถือเป็นธุรกิจอาหารรายใหญ่รายหนึ่งของอเมริกา และเป็นจุดเริ่มต้นที่ Tyson ขยายเข้าสู่ผลิตภัณฑ์เนื้อวัว การควบกิจการครั้งนี้ของ Tyson ทำให้บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นถึงเท่าตัว และในปีเดียวกันนั้น Tyson มีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจกับบริษัท Trasgo ซึ่งเป็นบริษัทค้าสัตว์ปีกในเม็กซิโก และนี่ถือเป็นก้าวแรก ของ Tyson ที่พัฒนาธุรกิจร่วมกับประเทศเม็กซิโกและญี่ปุ่น โดยมีโรงงานชื่อ CITRA ที่เม็กซิโก ในช่วงสิ้นยุค 80's นี้ Tyson มีจำนวนพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 48,000 คน และมียอดขายมากกว่า 2.5 พัน ล้านเหรียญ

ในช่วง 90's Tyson เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจอาหารทะเลโดยลงทุนซื้อเรือประมง Arctic Alaska ในซีแอตเติล ในปี 1993 บริษัท Tyson กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกระดับแนวหน้าของโลก และปีต่อมา Tyson ได้ทำธุรกรรม hostile bid ซื้อหุ้น WLR ผู้ผลิตและจำหน่ายไก่งวงรายใหญ่แต่ไม่สำเร็จ

ต่อมาในปี 1995 Donald Wray ขึ้นเป็นประธานบริษัท และ Don Tyson เป็นแค่กรรมการอาวุโสของบริษัท เพื่อปูทางให้ John H.Tyson บุตรชายวัย 41 ปีในขณะนั้นเข้ามาบริหารธุรกิจ โดยเริ่มจากตำแหน่งประธานฝ่ายเนื้อวัวและสุกร และในปีเดียวกัน Tyson ซื้อกิจการ McCarty Farms แห่งรัฐ Mississippi

ในยุคนี้เอง Tyson เริ่มรุกธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้น มีการลงทุนร่วมกับประเทศจีน มีการเปิดสำนักงานในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย และมีการก่อตั้งบริษัท World Resource, Inc. เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของ Tyson ทั่วโลก และในช่วงนี้เองที่รายได้ในส่วนของตลาดต่างประเทศคิดเป็น 10% หรือประมาณ 500 ล้านเหรียญของรายได้รวม

อย่างไรก็ดี ธุรกิจอาหารทะเลเริ่มส่อเค้าสร้างปัญหาให้แก่บริษัทมากขึ้น Tyson หันกลับมาให้ความสำคัญกับธุรกิจเนื้อสัตว์มากขึ้น โดยในปี 1995 นี้เป็นปีที่ซื้อ Culinary Foods แห่งชิคาโก ซึ่งรายได้ 45% ของบริษัทนี้มาจากการเป็นผู้ผลิตอาหารให้แก่สายการ บินในอเมริกา และสองปีถัดมา Tyson ซื้อบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกพาสต้าและซอส เป็นอันดับ 3 ของประเทศชื่อว่า Mallard ที่อยู่ในแคลิฟอร์เนีย จากนั้นในปี 1998 Tyson ท้าทายคู่แข่งด้วยการประกาศควบกิจการกับผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารรายใหญ่ Hudson Foods ทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสัตว์ปีกจำพวกเนื้อไก่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในปีเดียวกันนั้นเอง John H. Tyson ทายาทรุ่นที่ 3 ของ Tyson ก้าวขึ้นดำรง ตำแหน่งประธานคณะกรรมการของบริษัท

ต่อมาในปี 2000 ซึ่งเป็นปีครบรอบปีที่ 65 ของธุรกิจ Tyson และ John H. Tyson ขึ้นดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัท และปีถัดมาหลังจากที่ซื้อกิจการ IBP แล้วทำให้ Tyson นอกจากจะเป็นผู้นำแห่งสัตว์ปีกแล้ว ยังกลายเป็นผู้นำด้านเนื้อวัวและเนื้อหมูของโลกด้วย สมกับสโลแกนที่ John H. Tyson และทีมงานในศตวรรษใหม่คิดขึ้นว่า "Powered by Tyson" หรือ "Tyson=Protein=Power" และในปีที่ผ่านมา Tyson ทุ่มเงินถึง 75 ล้านเหรียญ เพื่อโปรโมตแคมเปญการตลาด "Powering" ในผลิตภัณฑ์ของ Tyson ที่แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ไก่ ผลิตภัณฑ์หมู ผลิตภัณฑ์เนื้อ และผลิตภัณฑ์แซนด์วิชจำพวกแฮม และในปีนี้เป็นที่ Tyson จะฉลองครบรอบปีที่ 70 โดยปีที่แล้ว ครอบครัว Tyson เพิ่งฉลอง ครบรอบ 100 ปีให้แก่ John Tyson รุ่นปู่ผู้บุกเบิกอาณาจักร Tyson

"ถ้าคุณปู่ของผมยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะปลื้มใจและภูมิใจกับความสำเร็จของ Tyson Foods ภายใต้ทีมงานที่มีประสบการณ์ในธุรกิจมาช้านาน" เป็นความรู้สึกของ John H. Tyson ต่อความสำเร็จของ Tyson Foods ในวันนี้ที่อยู่ในมือของเขาและทีมผู้บริหารจำนวนกว่า 20 ชีวิตกับพนักงานทั่วอเมริกา และสาขาในต่างประเทศอีกกว่าแสนคน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us