จับตาความขัดแย้งระหว่างแบงก์ชาติ-รัฐบาลระลอกใหม่ หลังจากแบงก์ส่อแววจะพาเหรดลดดอกเบี้ยเงินฝากตามแบงก์เอเชีย
บทพิสูจน์หัวเลี้ยวหัวต่อ สำคัญนโยบายการเงินรัฐบาลระหว่าง"อุ้มคนรวย
กระทืบคนออม" สะท้อนภาพ "กลไกตลาด" ไม่ใช่คาถาที่อธิบายทุกอย่าง
เหตุกลไกพินาศนานแล้วเงินล้นเพราะแบงก์ไม่ปล่อยเงินกู้ เก็บกินกำไรจากส่วนต่างจนพุงกาง
ภายหลังจากที่นายจุลกร
สิงหโกวินท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) BOA ธนาคารที่มีเอบีเอ็น
แอมโร ถือหุ้นใหญ่ ประกาศลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้อีกครั้งในช่วงไตรมาสแรกของปี
2545 เมื่อปลาย
สัปดาห์ที่แล้วซึ่งผลในครั้งนี้ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารต่ำที่สุดในประวัติไทยอยู่ที่
1.25% และมีแนวโน้มว่า
ธนาคารพาณิชย์รายอื่นๆ จะทยอยลดดอกเบี้ยตามอีกระลอกในเวลาไม่ช้าน ี้เป็นกำลังจะกลายเป็นข้อขัดแย้ง
ทางนโยบายระหว่างธนาคาร แห่งประเทศไทยและรัฐบาลรอบใหม่
สัญญาณของความขัดแย้งเกิดขึ้นทันทีที่ข่าวการประกาศลดดอกเบี้ยของธนาคารเอเชียแพร่กระจายออกไป
ท่าทีของม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเห็นคล้อยกับแบงก์พาณิชย์ ขณะที่ฝ่าย
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ครั้งแรกให้ความเห็น
ต่อสื่อมวลชนเหมือนจะไปในทางทิศทางเดียวกันกับแบงก์ชาติโดยบอกว่า "เป็นไปตามกลไกตลาด"
แต่แล้วเมื่อวันศุกร์ (19 เม.ย.) กลับมีรายงานว่า ในการเข้าพบกับ ม.ร.ว.
ปรีดียาธรที่แบงก์ชาติ
นายสมคิดได้กำชับให้แบงก์ชาติ "หาวิธี" ยับยั้งการลดดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์
เพื่อไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสังคม แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า
ขณะนี้รัฐบาลกังวลต่อการประกาศลดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างมาก
เพราะเกรงจะทำให้ผู้ฝากเงินและสังคมได้รับผลกระทบ แม้จะเข้าใจดีว่า
ธนาคารพาณิชย์อยู่ในภาวะยากลำบากในการบริหารสภาพคล่องที่ล้นระบบอยู่แต่การลดอกเบี้ยก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีเสมอไป
และหลังจากทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจได้วิเคราะห์ภาวะการณ์แล้วเห็นว่า
ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องสวมบทบาทผู้กำหนดนโยบายการเงินให้ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย
ตามที่รัฐบาลอยากจะเห็น รัฐบาลชุดนี้ได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้ว่าฯแบงก์
ชาติจากม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล มาเป็นม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล หลังจากที่รัฐบาลมีความเห็นขัดแย้งกับแบงก์ชาติในการส่งสัญญาณเรื่องดอกเบี้ย
"ม.ร.ว.ปรีดิยาธรยังไม่ได้แสดงให้เห็นเลย ว่า
แบงก์ชาติยุคนี้ดูแลนโยบายการเงินได้ ที่ผ่าน มารัฐบาลใช้แต่นโยบายการคลังในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ"
แหล่งข่าว กล่าว เขากล่าวว่า
บทบาทที่แบงก์ชาติเล่นอยู่ในปัจจุบันคล้อยตามธนาคารพาณิชย์มากเกินไป ซึ่งเอกชนเองมีแต่ได้กับได้ถ่ายเดียว
ขณะที่เมื่อมีปัญหาแบงก์ชาติก็จะเข้าไปช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
จนกลายเป็นภาระหนักของกองทุนเพื่อการพัฒนาและฟืนฟูระบบสถาบันการเงินซึ่งจะผลักภาระไปสู่ประชาชน
ผู้เสียภาษีในรูปของหนี้สาธารณะอีกหลายแสนล้านบาท
"ถึงเวลาที่แบงก์พาณิชย์จะต้องคิดถึงชาติ บุญคุณของผู้ฝากเงินบ้าง"
แหล่งข่าวกล่าว เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญหาของธนาคารพาณิชย์ที่ผ่านมารัฐบาลเข้าโอบอุ้มมาต่อเนื่องจนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
"อุ้มคนรวย" โดยกองทุนฟื้นฟูช่วยเหลือสภาพคล่อง อัดฉีดเงินเพิ่มทุน
รวมถึงการตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ "ทีเอเอ็มซี" เข้ามารับภาระหนี้เสียในระบบสถาบัน
การเงินออกไป
ทำให้แบงก์ลดภาระมีฐานะการเงินที่แข็งแรงขึ้น ปัญหาของธนาคารพาณิชย์ขณะนี้จึงเหลือเพียงแต่ว่าจะบริหารต้นทุนอย่างไรในภาวะที่สภาพคล่องล้นระบบ
ซึ่งเรียกภาวะเช่นนี้ว่าเป็น
"กับดักสภาพคล่อง" ซึ่งแต่ละธนาคารมักจะใช้อ้างในการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงที่ผ่าน
มา
"การลดดอกเบี้ยฝากขาเดียวแต่ตรึงอัตราดอกเบี้ยกู้ไว้สูงๆทำให้ขณะนี้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสูงมาก
จนเป็นเหตุให้แบงก์มีกำไรจากส่วนนี้กันพุงกาง" แหล่งข่าวกล่าว
ล่าสุดผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ประจำ ปีนี้ของบรรดาธนาคารพาณิชย์ที่ประกาศออกมาทั้งหลายพบว่า
ส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาอย่างก้าวกระโดด
ซึ่งสาเหตุที่นักวิเคราะห์ได้พิจารณาจากงบการเงินของธนาคารพาณิชย์เหล่านั้นก็พบว่า
มาจากกำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทั้ง หมด "จากนี้ไปจะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของรัฐบาล
และธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างไรที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ
กลไกตลาดไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอ เพราะทุกวันนี้กลไกตลาดไม่ทำงาน แบงก์มีเงินล้นแต่ไม่ปล่อยกู้
ก็เห็นความจริงกันอยู่"แหล่งข่าวกล่าว กลไกพิการนานแล้ว
เมื่อมองอีกประเด็นหนึ่งของการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ หลายฝ่ายต่างมองเห็นว่า
สัญญาณการลดดอกเบี้ยครั้งนี้เปรียบเสมือนภาพสะท้อนสภาพที่ไม่ปกติของตลาด
และอาจหมายรวมได้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังไม่สร้างความสบายใจต่อธุรกิจได้
ถึงแม้ในมุมกลับกัน ผลดีของการลดดอกเบี้ยขาของเงินกู้
ได้สร้างอานิสงส์ให้กับผู้ประกอบการที่ทำให้ภาระจ่ายลดลง รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการอุปโภคบริโภคของส่วนของสินเชื่อบุคคลมากขึ้น
และลามไปถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ทำให้ประชาชนสามารถมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยได้ในภาวะที่ดอกเบี้ยยังต่ำอยู่
แต่คำถามที่ยังตามว่า "สภาพคล่องที่ล้นอย่างมาก" ประมาณ 5-6
แสนล้านบาทจะมีการดูดซับออกไปได้อย่างไร การจะพึ่งพาให้เกิดการ อุปโภคบริโภคของประชาชน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบเศรษฐกิจยังไม่พอเพียงเท่ากับ "การลงทุน ใหม่"
อย่างต่อเนื่อง
แน่นอนการกดดอกเบี้ยฝากตั้งแต่ปลายปี 44ต่อเนื่องถึงต้นปี45 ได้ช่วยลดแรงกดดันต่อภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย
ซึ่งเป็นต้นทุนหลักทางด้านหนี้สินของธนาคารลงอย่างมากจะมีแนวโน้มลดลง
พิจารณาง่ายๆเฉพาะดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ถูกหั่นลงจากระดับ 5% ลงมาเหลือ 1.25%
(อิงกับดอกเบี้ยของธนาคารเอเชีย) แสดงว่าดอกเบี้ยที่ผู้ฝากเงินออมทรัพย์หายไปประมาณ
3.75% แค่คิดกันเล่นๆ
สิ้นปี 44 เฉพาะแค่เงินฝาก ออมทรัพย์ในระบบมีประ มาณ 1.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น
30% ของเงินฝากทั้งระบบ 4.8 ล้านล้านบาท
แสดงว่าผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินควรจะได้รับจากการไปฝากไว้กับธนาคารหายไปประมาณ
3.75% หรือตกเป็นเม็ดเงินประมาณ 50,000 ล้านบาทในระยะที่ผ่านมา
เพราะในกระบวนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านจะเจอกับปัญหากับ
"กับดักสภาพคล่อง" อันเกิดจากการชำระหนี้คืนของภาคธุรกิจ ซึ่งไม่สอดรับกับการปล่อย
สินเชื่อที่ทำด้วยความยากลำบากในภาวะเศรษฐกิจ ที่อ่อนแออยู่ แม้แต่คุณหญิงชฎา
วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 1 ใน 5 สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการบริหารสภาพคล่องว่า
ในแต่ละเดือนธนาคารจะมีสภาพคล่องไหลเข้ามาเฉลี่ย 1,000-2,000 ล้านบาท
แต่การขยายสินเชื่อ เพิ่มขึ้นไม่ได้มาก ดังจะเห็นได้จากสิ้นเดือนธ.ค.2544
ปรากฏว่าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ได้หดตัวลงถึง 5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แต่ในทางกลับกัน
เงินฝากกลับเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่โดยตัวเลขเงินฝากก.พ.ทั้งระบบอยู่ที่
5.13 ล้านล้านบาท ทางรอดแก้โครงสร้างศก. กระตุ้นลงทุนใหม่ๆ-ซับสภาพคล่อง
นายอนุสรณ์
ธรรมใจ ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักวิจัยและวางแผน ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
BT เปิดเผยว่าการที่ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยถือว่าเป็นไปตามสภาพคล่อง ที่มีมากในระบบ
ถึงแม้ว่าเศรษบกิจจะเริ่มฟื้นตัว แต่ยังมีปัญหาอยู่ที่ว่ายังไม่มีการลงทุนใหม่ๆเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากนัก
"ที่มาของเศรษฐกิจเริ่มฟื้นมาจากสินเชื่อดีขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มาก
ส่วนใหญ่จะมุ่งขยายตัวสินเชื่อบริโภคซึ่งทำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งที่จะผลักดันเศรษฐกิจต้องมาจากการลงทุนซึ่งเป็นสินเชื่อแท้ที่จะช่วยให้ปัญหาสภาพคล่องบรรเทาลง
แต่การลงทุนใหม่ๆไม่ใช่เรื่องจะเกิดขึ้นในระยะอันสั้น คงต้องใช้เวลา"นายอนุสรณ์
กล่าวและชี้ปมว่า โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมใช้กำลังผลิตในอัตราเฉลี่ย 55-56%
และยังมีการลงทุนจากต่างประเทศยังล้นอยู่ในบางอุตสาหกรรมในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่
ซึ่งขณะนี้ยังใช้ไม่หมด นายอนุสรณ์ กล่าวว่าแนวทางที่ต้องดำเนิน การขณะนี้คือ
ต้องปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและการผลิต เพราะอัตราการผลิตยังทรงๆตัว "ถ้าอุตสาหกรรมใช้กำลังแค่นี้
แปลว่ามีอะไรผิดปกติ อาจมองได้ว่าอุตสาหกรรมไม่ทันสมัย
หรือไม่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งหากมีการปรับโครงสร้างการผลิตหรือการปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ๆ
จะยังผลให้เกิดการลงทุนใหม่ๆเข้ามา
ผลก็คือจะทำให้กลไกของระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มเคลื่อน" ดอกเบี้ยลดดึงคนออมลงทุน
ช่วยบริหารหนี้สาธารณะ
ผู้อำนวยการอาวุโสกล่าวว่าการที่ดอกเบี้ยลงจะช่วยผลักดันให้คนที่ออมหันมาลงทุนมา
บริโภค ซึ่งมีหลายธุรกิจมีการเคลื่อนไหวจากผล ดอกเบี้ยที่ลดลง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจรถยนต์
ซึ่งสินค้าที่ถูกซื้อเยอะจะเป็นสินค้าประเภทคงทน "จริงๆแล้วอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ได้ลดลง
เพราะเงินเฟ้อลงไปเยอะ เห็นจากเดือนมีนาคมเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.6% ส่วนดอกเบี้ยที่ลดลงไป
0.25%
เป็นดอกเบี้ยทั่วไป ในอีกมุมผลดีของ ดอกเบี้ยต่ำจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารหนี้สาธารณะ"
ทั้งนี้ การที่เงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำไม่ใช่เป็นผลจากอุปสงค์ไม่แข็งแรง
ที่เงินเฟ้อต่ำเพราะปริมาณสินค้าในระบบมากกว่าความต้องการ ทำ ให้ราคาสินค้าตกต่ำ
ไม่ใช่ความต้องการสินค้าไม่มี แบงก์รัฐดูแลผู้ฝากเงิน ผ่านสินค้าเจาะจง
นายอนุสรณ์กล่าวในแง่ผลกระทบต่อสังคม นั้น รัฐบาลสามารถใช้เครื่องมือของรัฐบาลที่มีอยู่ในการดูแลผู้ฝากเงินได้
เช่น ธนาคารของรัฐออกออมทรัพย์พิเศษ หรือรัฐบาลออกเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ
เช่น ตราสาร "ผมมองว่าจะเป็นผลดีต่อระบบการเงินของ ประเทศ เพราะเราพึ่งพิงระบบแบงก์มากเกินไป
เวลาแบงก์มีปัญหาทำให้ระบบการเงินได้รับผลกระทบ แต่ถ้าดอกเบี้ยขาลง
จะช่วยให้เกิดระบบการเงินใหม่ๆ เช่น ตราสาร หุ้นกู้ ซึ่งตลาด จะถูกพัฒนามากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องห่วงคือ ถ้าหากการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย
แสดงว่า
"เศรษฐกิจมีปัญหาแน่" ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากการลงทุนไม่เกิดขึ้นก็ได้
หรือเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)