Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 เมษายน 2545
ต่อลมหายใจ "ปุ๋ยแห่งชาติ" เซ็นMOAข้าวแลกปุ๋ยพุธนี้             
 


   
search resources

ปุ๋ยแห่งชาติ




"ปุ๋ยแห่งชาติ" เตรียมเซ็นสัญญาข้อตกลงร่วมกับบริษัทผลิตปุ๋ยแอมโมเนียและยูเรียของอินโดนีเซียในวันที่ 24 เมษายนนี้ ตามโครงการ Account Trade ข้าวแลกปุ๋ยของรัฐบาล มูลค่าไม่เกิน 40

ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้บริษัทฯมีความสามารถในการเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยเคมีได้ หลังจากที่เจ้าหนี้ปฏิเสธปล่อยกู้ซื้อวัตถุดิบก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในวันที่ 24

เมษายนนี้ ผู้บริหารของบริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NFC จะลงนามสัญญาMemor-andum of Agreements (MOA) กับบริษัท Indonesian Trade จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต ปุ๋ยยูเรีย

และแอมโมเนียของอินโดนีเซีย และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จะลงนามสัญญาดังกล่าวกับ BULOG ประเทศอินโดนีเซีย ตามโครงการ การค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) โดยมีนายพิทักษ์

อินทร-วิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรี และ H.E. Madame Rini Soewandi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ประเทศอินโดนีเซียร่วมเป็นพยาน สัญญาดังกล่าว ทางปุ๋ยแห่ง

ชาติจะซื้อปุ๋ยแอมโมเนีย จำนวน 8 หมื่นเมตริกตัน/ปี ยูเรีย (เม็ดโฟม) ประมาณ 2 แสนเมตริกตัน/ปี และยูเรีย (เม็ดใส) ประมาณ 5 หมื่นเมตริกตัน/ปีซึ่งเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตปุ๋ยเคมี NP/NPK

โดยแลกเปลี่ยนกับข้าวขาวของ อ.ต.ก. คิดเป็นวงเงินไม่เกิน 40 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,800 ล้านบาท

โครงการนี้จะช่วยเหลือให้ปุ๋ยแห่งชาติที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องในการจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี ภายหลังจาก

เจ้าหนี้สถาบันการเงินปฏิเสธปล่อยสินเชื่อเงินกู้ยืมชั่วคราวในการซื้อวัตถุดิบจำนวน 600-700 ล้านบาท จนทำให้ปุ๋ยแห่งชาติต้อง ลดกำลังการผลิตลง เพื่อพยุงให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ทำให้ปุ๋ยแห่งชาติเพิ่มกำลังการผลิตจากปัจจุบันที่ผลิตอยู่เพียงเดือนละ 2 หมื่นกว่าตันได้ ขณะเดียวกัน ปุ๋ยแห่งชาติจะชำระเงินค่าปุ๋ยแอมโมเนีย และ ยูเรียทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับรัฐบาลไทยในเวลา

2 ปีนับแต่วันที่ได้รับมอบวัตถุดิบ หรือสินค้าแล้วแต่กรณีผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) นอกจากนี้ หากรัฐบาลของ ผู้ขายยังไม่มีความต้องการข้าวให้จดเป็นบัญชีไว้

และเมื่อมีการสั่งซื้อข้าวจากประเทศไทยแล้วจึงค่อยนำมาหักกลบกัน โครงการดังกล่าว เป็นนโยบายของรัฐที่ต้องเร่งระบายสต็อกข้าวคงเหลือในโครงการของ รัฐ

โดยกระทรวงพาณิชย์เร่งรัดการส่งออกเพื่อจำหน่ายข้าวแบบหักบัญชี (Account Trade) ซึ่งมีประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซียอยู่ในเป้าหมายการดำเนินการดังกล่าวนี้ ทั้งนี้ บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ

ได้ให้ความสนใจ จึงได้ยื่นข้อเสนอที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นผู้ได้รับผิดชอบในการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจำพวก แอมโมเนีย ยูเรีย จากอินโดนีเซีย เพื่อแลกเปลี่ยน

กับข้าวตามโครงการแทรกแซงของรัฐบาล ปัจจุบันปุ๋ยแห่งชาติอยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ โดยให้ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ คอร์ปอเรท รีสตรัคเจอริ่ง จำกัดในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน

ทำรายงานเบื้องต้นเสนอมายังบริษัทฯ ภายหลังจากทำการตรวจสอบบัญชีแล้วเสร็จ เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแผนการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับเจ้าหนี้ คาดว่าแผนปรับโครง

สร้างหนี้ดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในพฤษภาคมศกนี้ ขณะเดียวกัน บริษัทได้ลดกำลังการผลิตปุ๋ยเคมีลงเหลือเพียง 2 หมื่นกว่าตันต่อเดือน จากเดิมที่เคยตั้งเป้าผลิตปีละ 6.5 แสนตัน

เพื่อประคองตัวจนกว่าจะปรับโครงสร้างหนี้เสร็จ ซึ่งภายหลังจากปรับโครงสร้างหนี้แล้ว บริษัทจำเป็นต้องหาเม็ดเงินใหม่เข้ามาซื้อวัตถุดิบ เฉลี่ยปีละ 1,200 ล้านบาท

แต่เนื่องจากในปีนี้กว่าจะปรับโครงสร้างหนี้เสร็จใช้เวลาเกือบครึ่งปี ดังนั้นเม็ดเงินที่ใช้จึงลดลงเหลือแค่ 800-900 ล้านบาท โดยเม็ดเงินดังกล่าวจะได้มาจากการหาพันธมิตรร่วมทุน

และการแปลงหนี้เป็นทุนของเจ้าหนี้ สำหรับผลการดำเนินงานของปุ๋ยแห่งชาติในงวดปี 2544 พบว่าบริษัทฯขาดทุนสุทธิ 1,863.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 11%

เนื่องจากดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น อัน เป็น ผลจากการหยุดพักชำระหนี้ของบริษัทนั่น เอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us