Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 กุมภาพันธ์ 2548
MFCเปิดแผนหาทุนรถไฟฟ้า7สาย4แสนล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บลจ. เอ็มเอฟซี
โฮมเพจ รถไฟฟ้ากรุงเทพ

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
รถไฟฟ้ากรุงเทพ, บมจ.
Transportation
Funds




MFC ชงสูตรระดมทุนโครงการรถไฟฟ้า 7 เส้นทาง มูลค่า 4.1 แสนล้านบาท แนะใช้ระบบตั๋วร่วมเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ป้องกันเอกชนคู่สัญญาสัมปทานชาร์จค่าบริการแพงเกินเหตุ คาดราคาเริ่มต้นที่ 10 บาท สถานีต่อไป 2 บาทต่อสถานี เตรียมหารือกรมธนารักษ์เปิดทางเอกชนร่วม พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รอบบริเวณใกล้เคียงรถไฟฟ้าใต้ดิน ก่อนออก "พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์" เสนอขายนักลงทุน เพื่อสร้างรายได้หล่อเลี้ยงโครงการ

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ในฐานะกรรมการ คณะทำงานระดมทุนโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย มูลค่าประมาณ 4.1 แสนล้านบาท เปิดเผยว่า ผลการศึกษารูปแบบการลงทุนระบบรางทั้ง 7 สาย ที่จะก่อสร้างในช่วง 5-6 ปีข้างหน้า จะเปิดทางให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานหัวรถจักรมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท และในส่วนของระบบรางมูลค่า 2.8 แสนล้านบาท จะใช้เงินงบประมาณของรัฐบาลเพียง 8 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือจะทำการเปิดสัมปทานให้ภาคเอกชนแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชัน) และการออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์)

สำหรับระบบตั๋วรถบริษัทได้เสนอแนวคิดให้ใช้ระบบตั๋วร่วม ซึ่งจะมีการพัฒนาระบบเคลียริ่งเฮาส์ใช้ร่วมกัน ซึ่งจุดนี้จะช่วยลดภาระต้นทุนให้กับภาคเอกชนที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานในแต่ละสาย โดยราคาค่าเดินสายเริ่มต้นที่ 10 บาทต่อสถานี ส่วนสถานีต่อไปจะคิดในอัตรา 2 บาทต่อสถานี ราคาสูงสุดจากมหาชัยและรังสิต เข้ามาในตัวเมืองจะไม่เกิน 50 บาท

เส้นทางทั้ง 7 สาย ประกอบด้วย 1.สีเขียวอ่อน ระหว่างพรานนก-สมุทรปราการ 2. สีเขียวเข้ม ระหว่างบางหว้า-สะพานใหม่ 3. สีน้ำเงิน วงแหวน-จรัญสนิทวงศ์ 4.สีม่วง บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ 5.สีส้ม บางกะปิ-บางบำหรุ 6. สายสีแดงเหนือ-ใต้ ระหว่าง รังสิต-มหาชัย และ 7. สายสีแดงตะวันตก-ตะวันออก ระหว่าง ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ

สำหรับวงเงินลงทุนในส่วนของระบบราง 2.8 แสนล้านบาท ส่วนแรกจะเปิดสัมปทานให้กับภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นค่าเซ้งพื้นที่จะเปิด Open Bid คิดเป็นเงินประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท ส่วนที่สอง จะออก Revenue Bond ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเก็บภาษีเฉพาะคนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบขนส่งราง เช่น ภาษีป้ายรถยนต์ในกรุงเทพฯ คาดว่าจะมีเงินเข้ามาประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท

ส่วนที่สาม เป็นรายได้ที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ในส่วนใกล้เคียงกับบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 7 สาย ซึ่งจะออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ให้กับนักลงทุนที่สนใจ คาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้ามาเพิ่มเติมประมาณ 8 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท

"ในประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง การทำรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าโดยสารไม่คุ้มกับค่าก่อสร้าง การออก Property Project ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นโครงการคอนโดมิเนียม โครงการเอนเตอร์เทนเมนต์ เงินส่วนนี้จะช่วยหล่อเลี้ยงโครงการได้ ซึ่งจุดนี้ต้องมีการร่วมมือกับกรมธนารักษ์ เพื่อเปิดทางให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาโครงการ" นายพิชิตกล่าว

สำหรับสถานีที่จะมีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรมธนารักษ์ ประกอบด้วย บริเวณมักกะสัน บางซื่อ ศูนย์ประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ หัวลำโพง สนามกีฬาแห่งชาติ และท่าเรือคลองเตย

นายพิชิตกล่าวว่า การออกพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ถือเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการ และสามารถดึงเม็ดเงินไหลเข้าประเทศหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน ที่เชื่อมโยงกับแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งคาดว่าความต้องการมีสูงทั้งจากนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ โดยรูปแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่จะพัฒนาขึ้นมารองรับประกอบด้วย ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค และกลายเป็นศูนย์การประชุมระหว่างประเทศ การพัฒนาโครงการ คอนโดมิเนียม ออฟฟิศบิวดิ้ง ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้มีเงินส่วนเพิ่มที่ได้จากกลุ่มนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้ การระดมทุนผ่านซีเคียวริไทเซชัน และการออกพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ จะช่วยลดช่องว่างเงินออมและเงินลงทุน ที่คาดว่าการลงทุนเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลจะมีมูลค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 2 แสนล้านบาทต่อปี

ส่วนสุดท้ายในการลงทุนระบบรางจะมาจากงบประมาณจำนวน 8 หมื่นล้านบาท

นายพิชิต กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้เดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศบาห์เรน ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก และในช่วงเดือนมีนาคมนี้จะเดินทางไปโรดโชว์ประเทศตะวันออกกลางอีกครั้ง เพื่อเสนอรายละเอียดโครงการเมกะโปรเจกต์

ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมที่จะเสนอให้มีการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) จัดตั้งองค์การขึ้นมาระดมทุนโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งจะอยู่ในรูปขององค์การมหาชน แต่รัฐบาลจะไม่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งสาเหตุที่ต้องออกเป็น พ.ร.ฎ. เนื่องจากการตั้งองค์การดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการออก พ.ร.ฎ.ไปแล้วระยะหนึ่งจะมีการเสนอพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เพื่อทำให้องค์การเป็นองค์การที่มีหน้าที่ระดมทุนอย่างถาวร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us