Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
May Day!             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 





"Evil often triumphs, but never conquers" - Joseph Roux

สัญญาใจระหว่างพนักงานกับบริษัท คือ ความคาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเลื่อนตำแหน่ง ผลตอบแทน และอื่นๆ ดังนั้น "เรื่องเล่า" ของบริษัทจึงมักจะเกี่ยวกับความสำเร็จงดงามของพนักงาน ที่มีความรู้ความสามารถจนก้าวหน้า สามารถไต่เต้าจากตำแหน่งต่ำสุดไปสู่ตำแหน่งระดับบริหารได้ในที่สุด

แต่สำหรับบริษัทต่างชาติในไทย ที่มีคนไทยบางส่วนเป็นขี้ข้า บ้างก็พยายามทำทุกวิถีทางที่จะรักษาเก้าอี้ตัวเองไว้ มากกว่าการทำงานด้วยเหตุผลและพื้นฐานความถูกต้อง

Labour conflict ในระดับ white collar กรณีแรกที่นิตยสารผู้จัดการ (ฉบับที่ 2 และ 16) ให้ความสำคัญมากๆ คือ คดีของ ทัศนียา ปริวุฒิพงศ์ ถูกบริษัทสายการบิน SAS เลิกจ้างจากตำแหน่งเลขานุการอาวุโส ผู้จัดการฝ่ายการตลาด อย่างไม่เป็นธรรมในเดือนมิถุนายน ปี 2526 เพราะนายใหญ่มีอคติที่สงสัยว่า ทัศนียาจะเป็นคนเขียนใบปลิวโจมตีผู้จัดการใหญ่ SAS ขณะนั้น ว่ามีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับเลขาอีกคน เรื่องนี้ใช้เวลาต่อสู้ในศาล 16 เดือน และจบลงด้วยชัยชนะของทัศนียา

เหมือนอย่าง กรณีของสุวัฒน์ แดงพิบูลย์สกุล ผู้จัดการฝ่ายขายแผนกผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ฟ้องบริษัทโกดัก (ประเทศไทย) จำกัด ต่อศาลแรงงานกลาง ในข้อหาผิดสัญญาจ้าง เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง โดยลดตำแหน่งลงและฟ้องคดีอาญาข้อหาปลอมแปลงเอกสารสร้างพยานเท็จ พร้อมกับเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2528

ถือว่าเป็นกรณีแรกที่พนักงานยังทำงานอยู่ในบริษัทและฟ้องบริษัทข้ามชาติแห่งนี้ !

แต่กว่าหนึ่งปีที่สุวัฒน์ทนอยู่ในโกดักอย่างโดดเดี่ยวและขมขื่นท่ามกลางบรรยากาศ เกลียดชัง ดูถูก โกรธแค้นและหวาดระแวงตลอดเวลา สุวัฒน์อยู่ในสภาพที่ต้องสู้แบบ "หมาจนตรอก" ที่ถูกบีบคั้นจิตใจรุนแรงจากบรรดา "นาย" ทั้งหลายจนถึงที่สุดวันที่ 28 มีนาคม 2529 โกดักจึงทำหนังสือเลิกจ้าง สุวัฒน์จึงฟ้องบริษัทโกดัก (ประเทศไทย) ข้อหาเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมจนกระทั่งชนะ

นอกจากประเด็น conflict of labour ของสุวัฒน์กับโกดักแล้ว งานเขียนของ ไพศาล มังกรไชยา ชิ้นนี้ยังมีนัยซับซ้อนซ่อนอยู่ในรูป conflict of interest ระหว่างคุณค่าของข่าวกับเงินโฆษณาที่สื่อต้องพึ่งพาอาศัย

แต่บรรณาธิการหัวเห็ดอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล ขณะนั้นประกาศจุดยืนของนิตยสารผู้จัดการอย่างชัดเจนว่า

"ถ้าเราลงไป เราคงจะต้องถูกตัดโฆษณาอย่างแน่นอนที่สุด!

แต่ถ้าเราไม่ลงล่ะ! เราก็คงจะนอนตาไม่หลับเป็นแน่แท้ เพราะหนังสือเล่มนี้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อสามปีที่แล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ก็เพราะมีคนซื้ออ่านและมีคนนิยมมาก

จากจุดความนิยมนี้แหละ ที่ทำให้เจ้าของสินค้าเล็งเห็นว่า หนังสือเล่มนี้เป็นสื่อที่ดีสำหรับสินค้าของเขาก็เลยลงโฆษณา

ฉะนั้น เมื่อคิดได้เช่นนี้ "ผู้จัดการ" ก็เลยมีมติขึ้นมาว่า ข่าวอะไรก็ตามถ้ามีความจำเป็นจะต้องลง ก็ต้องลง!

ไม่เช่นนั้นแล้ว เราก้มหน้าก็จะอายดิน และเงยหน้าก็จะอายฟ้า"

เช่นนี้แล้ว... บทสรุปแห่งอุดมการณ์ในวัน May Day จะคิดเป็นอื่นไม่ได้นอกจาก "ต้องสู้เพื่อชัยชนะ" แม้ว่าผู้ชนะวันนี้อาจจะเป็นผู้แพ้ยับเยินในวันหน้าก็ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us