Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
INFORMATION RULES : A Strategic Guide to the Network Economy             
 





ในยุคที่สังคมไทยเริ่มจะก้าวเดิน เตาะแตะ สังคมตะวันตกกระโดดผ่านขีดจำกัดของสังคมข่าวสารไปสู่การจัดการเเศรษฐกิจใหม่ที่โครงสร้างพื้นฐานกำหนดจุดเปลี่ยนในการทำธุรกิจตามธุรกิจเดิมไปสู่การจัดการเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง สร้างมิติด้านวิธีคิดและปรับรากฐานทฤษฎีบริหารและการจัดการที่แตกต่างไปจากเดิมรวดเร็วมหันต์

สังคมไทยส่วนข้างมากนิยามข่าวสารเพียงแค่การเก็บการใช้ข้อมูล เราหยุดคิดได้แค่นี้ โดยยังใช้ข้อมูล ข่าวสารไม่เป็นระบบ แม้แต่ "ระเบียบ" การจัดการข้อมูลข่าวสารก็เป็นสิ่งยากต่อจินตนาการ

ขณะที่นิยามข่าวสารจากชาปริโร และแวเรียน หมายถึง "สรรพสิ่งทั้งหมด" ที่ถูกจัดเข้ารหัสดิจิตอลที่เป็นการสั่น ไหวเป็นสัญญาณบิตคือ ข่าวสาร และคะแนนรักบี้ หนังสือเป็นเล่มๆ ฐานข้อมูลมหาศาล ภาพยนตร์ เพลง รายงานข้อมูลตลาดหุ้น รวมทั้งเว็บเพจ คือ สินค้าข่าวสาร มูลค่าของสินค้าข่าวสารอาจมีค่าด้านบันเทิง ค่าทางธุรกิจ การศึกษา ฯลฯ ทั้งหมดออยู่ใน "ตลาด" มีผู้ซื้อและขาย ด้วยขนาดและความเร็วแบบทันควันและอาจกลับมาซื้อใหม่ด้วยราคาใหม่อย่างซ้ำซากได้ ยุทธศาสตร์ ข่าวสารจึงเป็นไปเพื่อให้การจัดการมีลูกค้าแตกต่าง และทำอย่างไรจึงจะ "วางตำแหน่งมูลค่า" ซึ่งไม่ได้หมายถึง "ราคา" เพียงอย่างเดียว

กระนั้นก็ตามผู้เขียนยังยืนว่าประเด็นความเข้าใจต่อกฎเศรษฐศาสตร์ ไม่เปลี่ยน ทว่าวิธีคิดและแง่มุมที่มอง "กฎ" พื้นฐานนี้ปรับเปลี่ยนไปด้วยมิติใหม่และมุมมองใหม่ได้

ข่าวสารมีต้นทุนการผลิตสูง แต่ถูกมากเมื่อผลิตซ้ำ เอนไซโคพีเดียมีกระบวนการผลิตเป็นตัวแบบราคาแพง แต่ผลิตซ้ำหลายๆ ชุดมีราคาต่ำ มูลค่าเท่าของ "ข้อมูลความรู้" เดิมคงที่และเปลี่ยนตามกาลสมัยได้ ขณะที่ภาพยนตร์ ที่ลงทุนเป็นพันๆ ล้าน นำมาก๊อบปี้เสียเงินถูกมากในรูปแบบวิดีโอและถูกลงอีกเมื่อเป็นซีดี ดังนั้นโครงสร้างของต้นทุนแล้วใช้ต้นทุนมากำหนดราคาสินค้าจึงใช้ไม่ได้เพียงหน่วยเดียว แต่ปริมาณต่อหน่วยต่างหากที่กำหนด และสินค้าที่ออยู่ในตลาดทั้งโลก ขึ้นต่อมูลค่าประเมินของลูกค้าที่ใช้มันเพื่อวัตถุประสงค์หลากหลายด้วย

ยุทธศาสตร์การจัดมูลค่าของราคาสินค้าข่าวสาร จึงวางพื้นไว้ที่ value-based pricing ซึ่งนำไปสู่ differential pricing และการแสวงหาตลาดที่จำแนกได้ของกลุ่มลูกค้า

กลุ่มสินค้าข่าวสารมีต้นทุนทางปัญญา เป็นทรัพย์สินตีราคาด้วยวิธีคิดต่างกัน สิทธิทางปัญญาและการนำปัญญาไปใช้เชิงพาณิชย์เป็นทรัพย์สินโอนถ่ายได้เพื่อการผลิตซ้ำและกฎหมาย บังคับ แต่มีปัญหาเมื่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สัญญาณดิจิตอลนั้นผลิตซ้ำได้ด้วยคุณภาพคงที่เท่าเดิม อินเทอร์เน็ตกลายเป็นตัวผ่านการผลิตสินค้ามูลค่าสูงด้วยเครื่องก๊อบปี้ราคาต่ำอย่างเหลือเชื่อ ผู้เขียนยกตัวอย่างความล้มเหลวในการบังคับใช้สิทธิภาพยนตร์ เมื่ออัดผ่านวิดีโอเทป แล้วกระจายปริมาณโดยบังคับใช้กฎหมายได้ยาก วิดีโอภายใต้การผลิตของค่ายภาพยนตร์ ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่าการฉายภาพยนตร์ผ่านปริมาณผู้ชมในโรง ดังนั้นยุทธศาสตร์หลักก็คือ การตั้งมูลค่าของสินค้าก่อนผ่านช่องทาง

นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่าสินค้านั้นต้องมีลูกค้าเห็นหรือมีประสบการณ์ในการใช้จึงจะ "รู้" มูลค่าและเห็น "ความ สัมพันธ์" ด้านราคา แต่สินค้าข่าวสารเป็น สินค้าที่ลูกค้าได้รับรู้มูลค่าทุกครั้งที่ใช้ แม้ใช้ซ้ำก็อาจมีมูลค่าต่างระดับกันยิ่งขึ้น คุณอ่านหนังสือพิมพ์มูลค่า 10 บาท แต่ผ่านสัญญาณดิจิตอลมูลค่า 10 บาท ใช้ซ้ำๆ 10 ครั้งก็อาจจะมากกว่า 100 บาท แต่ก้าวกระโดดเป็น 1,000 หรือ 10,000 บาทในบางเวลา และ 5-10 ปีผ่านไปอาจมีมูลค่าสะสมเกินกว่าราคาแรกเรียกใช้หลายเท่าพันทวีคูณ

เนื่องจากข่าวสารเปิดรับได้เร็ว ทันที และราคาเรียกใช้ต่ำ ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์ระดับโนเบลไพรซ์คนหนึ่งจึงกล่าวว่า ความมั่งคั่งของข่าวสารสร้างความน่าสนใจต่ำ เขาหมายถึงอะไร? เขากล่าวถึงมูลค่าแท้จริงขึ้นออยู่กับการ "ค้นหา" และ "การกรองชั้นข้อมูล" ซึ่งผู้ใช้จะเห็นประโยชน์ ดังนั้นข้อมูลเว็บขึ้น ต่อเครื่องมือการค้นหา ว่ามีประสิทธิภาพ อย่างไร จึงจะทำให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย, ชัดเจน และสืบค้นโดยละเอียดและโยงข้อมูลเข้าสู่ระดับลึกและกว้างได้สะดวกที่สุด เช่นเดียวกับการ "ชี้ขาด" มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ขึ้นต่อ "พื้นที่ตั้ง" อย่างไร อย่างนั้น และพื้นที่นั้นเชื่อมโยงไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่มีมูลค่าสูงด้วยความเร็ว สะดวก และประหยัดได้มากน้อยแค่ไหน

ผมเพียงให้ภาพพื้นฐานว่าหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่หนังสือของมือใหม่มาอ่าน แต่ศาสตร์ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารนั้น ต้องผสมองค์ความรู้ของผู้บูรณาการ ความคิดที่แหลมลึกทุกด้านสังคม, เศรษฐกิจ, การเมือง, การศึกษา, จิต วิทยา, บันเทิง และสารนิเทศ ไม่นับความเข้าใจด้านฮาร์ดแวร์ทางเทคโนโลยี และการปรับใช้ ซึ่งรวมถึงการเก็บสะสม, การสืบค้น, การดึงมาใช้, การก๊อบปี้, การ กรองชั้นข้อมูล, การกระตุ้นเร้า, การดูฟัง และความรู้สึกทุกโสตประสาท รวมไปถึงการถ่ายโอนโยกย้ายข้อมูลเพื่อเพิ่มมูลค่าใช้งานด้วย

เว็บโดยตัวของมันเองเหมือนภาชนะ สิ่งสำคัญคือเนื้อหา และเนื้อหาที่สำคัญคือ สาระประโยชน์ที่มีมูลค่าทับซ้อนที่เพิ่มขึ้นได้

ระบบคืออะไร? เทคโนโลยีข้อมูลเต็มไปด้วยระบบทั้งระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ที่จะนำมาใช้ รวมไป ถึงซีพียู เมมโมรีชิป ดิสก์ไดรฟ์ การ์ดคอนโทรล การ์ดเสียงภาพ และการ์ดที่ใช้กับฮาร์ดแวร์อื่นๆ ที่เป็นโทรศัพท์ เครือข่ายข้อมูล และเครือข่ายฐานข้อมูล บันทึกเพื่อประโยชน์อนาคต ไม่นับการ์ด รหัสพันธุวิศวกรรมที่จะเกิดขึ้นที่มีมูลค่า เท่าชีวิตของคนคนหนึ่ง

ระบบที่มีออยู่มีการแข่งขันสูง พัฒนาเร็ว ราคาตกลง และประโยชน์ใช้สอยเพิ่ม แต่ระบบมีกุญแจและต้นทุนการเปิดปิดและรูปแบบ เช่น แผ่นเสียงลองเพลย์ ซีดี, วีซีดี, เอ็มดี, เอ็มพี 3 ฯลฯ สัญญาณเปิดปิดอาจมาในรูปภาพยนตร์ เครื่องอัดภาพยนตร์ กล้องถ่ายวิดีโอ เครื่องเล่นเกม ไปจนเครื่องถ่ายภาพ

ระบบผ่านรหัสและกุญแจสัญญาณสวิตชิ่งซึ่งล้วนมีราคา และระบบเชื่อมต่อที่เรียกว่า ล็อกอิน ที่สำคัญที่สุดคือ "การวางระบบ" ที่หากคิดสั้นไม่คิดยาวถึงยุทธศาสตร์พัฒนา การ การ "เปลี่ยนระบบ" อาจเปลี่ยนทุกอย่างด้วยราคาต้นทุนสูง ผู้เขียนเคยเปลี่ยนระบบวิดีโอมาถึง 5 ระบบ มูลค่าหลายแสนบาท ทั้งที่ระบบใหม่ที่ก้าวหน้า กว่าใช้งบประมาณไม่ถึง 3 หมื่นบาทและ หากจะเปลี่ยนระบบใหม่ในอนาคต ต้อง ใช้งบอีก 1 แสนบาท ตามมูลค่าของเทคโนโลยี

นอกจากนี้ ปัญหาการ "จัดการ" ยังออยู่ที่การ "เชื่อมต่อระบบ" เพราะฐานข้อมูลสินค้าข่าวสารต้องผ่าน "เครือข่าย" ปัจจุบันผู้บริการจุดเชื่อมต่อ เพื่อให้ข้อมูล ทะลุถึงกันเป็นผู้บริการโดยเก็บค่าเชื่อมต่อในราคาต่ำ เพราะปริมาณผู้เชื่อมต่อมีมาก

สมัยที่ผู้เขียนออยู่บริษัทการบิน ไทย และคุณสนธิ ลิ้มทองกุล วางเครือข่ายข้อมูล โดยมีคุณวิรัตน์ แสงทองคำบก.รายเดือน บริหารออยู่นั้น จากจุดเริ่มต้นเวลานั้นถึงปัจจุบันก็ร่วม 20 ปีมาแล้ว การบินไทยมี Electronic Data Interchange โดยไม่พัฒนาเนื้อหา ขณะที่ค่ายผู้จัดการคิดเนื้อหาทะลุโลกโลกานุวัตร แต่พัฒนาการของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ยังตามไม่ทัน แม้ปัจจุบัน ตามทันอรรถประโยชน์ที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ก้าวข้ามเทคโนโลยีและสินค้าข่าวสารในปี ค.ศ.2000 ไปอีกก้าวหนึ่ง ที่ล้ำหน้ากว่า 10 ปีแล้ว

หนังสือเล่มนี้แยกย่อยบทต่างๆ ลงไปถึง 10 บท โดยวางบทปฐมฤกษ์ไว้ กับเศรษฐศาสตร์แห่งสารสนเทศ, ราคา, รุ่นแบบ (version), สิทธิและกฎหมาย, การล็อกเชื่อมต่อ (lock-in), การบริหาร lock-in, การประเมินเครือข่ายและปฏิกิริยาตอบรับเชิงบวก, การร่วมมือและการปรับแบบเดียวกัน (compatibility), การสู้ในเรื่องมาตรฐานและนโยบายข่าวสารสนเทศ

ผู้วิจารณ์ไม่ต้องการลงลึกในรายละเอียด แต่เท่าที่แนะนำเบื้องต้นผู้อ่านคงพอเห็นภาพร่างว่าหนังสือเล่มนี้ แม้จะถูกเรียกว่าเป็น guide book แต่ก็มีความลึกซึ้งแตกฉานและมีกรณีศึกษาก้าวหน้าและน่าจะใช้เป็นตำราพื้นฐานในสังคมไทยไปอีกนานหลายปี

ประเด็นสำคัญคือ เรามีนักบริหารสักกี่คนที่จะเข้าใจเชิงความคิดและประยุกต์ใช้ข่าวสารเชิงสนเทศที่ช่ำชอง โดยรู้ลึกทั้งกระบวนเหมือนเข้าใจ "นามรูป" ว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ที่ปฏิสนธิซึ่งกันและกันในทางพุทธปรัชญา

ในเรื่องต้นทุนข่าวสาร มีกรณีศึกษาของผู้ทำหมายเลขโทรศัพท์ในรูปแบบดิจิตอล โดยผู้คิดต้นแบบขายแผ่นซีดีข้อมูล 1,000 เหรียญสหรัฐ ต่อมาแตกตัวไปทำบริษัทใหม่ ว่าจ้างชาวจีนพิมพ์ข้อมูลจากโทรศัพท์ทั้งสหรัฐฯ มีหมายเลขและข้อมูลถึง 70 ล้านรายชื่อ แล้วนำมาเป็นซีดี ขายไปเป็นแสนแผ่น ต้นทุนตกแผ่นละไม่ถึง 40 บาท ขายไปแผ่นละ 4-5,000 บาท กำไรกี่เท่าคำนวณ ดูเองเถอะครับ นี่เป็นกฎของ "ราคา" ที่มีต้นทุนการผลิตตายตัว หลังจากนั้นก็มี คู่แข่งขัน ปัจจุบันขายแผ่นละ 800 บาท นี่ถ้ามาโดนก๊อบปี้บ้านเราน่าจะไม่ถึง 50 บาท

ประเด็นคือ ราคายังมีการทำสินค้าข่าวสารข้อมูลให้มีความต่าง ข้อมูลชนิดเดียวกัน การค้นหาง่ายกว่า มี ภาพประกอบ และใช้สะดวกกว่าอาจทำให้ข้อมูลชุดเดียวกันราคาต่างกันหลายพันไปจนถึงหมื่นบาท และทำอย่างไรคุณจะคุม "ราคา" โดยมองขนาด และระดับความกว้างของตลาดได้ด้วยคุณจึงจะเป็นผู้นำทั้งทางราคา และมูลค่าสินค้า

สินค้าข้อมูลยังมีมูลค่า "ใช้ได้ร่วมกัน" หรือเปลี่ยนถ่ายใช้ด้วยกัน เช่น เดียวกับวารสารขายแพงให้ห้องสมุด แต่ขายปลีกได้ในราคาถูก เพราะอรรถ ประโยชน์ในห้องสมุดดึง "ใช้ร่วมกันได้" การจัดการเพื่อแชร์ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของความสำเร็จในการจัดวางข้อมูลเชิงพาณิชย์

สินค้าข้อมูลข่าวสารเป็นสินค้ามีมูลค่าออยู่กับ "ความรู้" ข้อมูลข่าวสารโดย ตัวไม่ใช่ "ความรู้" แต่ส่งผ่านชุดข้อมูลที่หากจัดการได้กลายเป็นความรู้มีมูลค่ามากกว่าต้นทุนสะสมข้อมูล

ครับ ต้องไปศึกษาเรื่อง "วิสัยทัศน์" ซึ่งปัจจุบันหายากในหมู่ผู้ออยู่ในวงการ IT ที่ไม่รู้content และพวกมี content แต่ขาดการแปลงไปเป็น knowledge ความรู้คืออำนาจ ซึ่งกระจายถ่ายโอนได้

version ของชุดข้อมูลสามารถจัดแบ่งได้ ขึ้นต่อการจัดส่วนแบ่งของตลาดว่าจะทำอย่างไร และการทำโปรโมชั่นด้านราคาขึ้นต่อคุณจัดส่วนแบ่งของตลาดให้ถูกต้องด้วย

สินค้าข้อมูลที่แจกให้เปล่า แท้ จริง คือ การ "ขายเนื้อหา" ตามลำดับชั้น ของข้อมูล นอกจากนั้นข้อมูลมีมูลค่า เพิ่มได้ตาม "เครื่องเคียง" ซึ่งอาจเป็นสินค้าผ่าน format อื่น คุณขายชุดข้อมูล ที่ให้ข้อมูลบวกความรู้และผ่านการรับรู้นั้นไปสู่การขายสินค้าและบริการที่เป็นชุดความรู้ต่างๆ ได้ตามการจัดแบ่งตลาด ทั้งด้านลึกและด้านกว้าง

ผู้วิจารณ์เห็นว่าในระบบสารสนเทศของบ้านเรา ปัจจุบันสิ่งที่ขาดตกบกพร่องไปคือเรื่องเนื้อหา หรือ content เหมือนเราใช้รถยนต์ราคาแพงกำลังขับเคลื่อนสูง วิ่งในกทม.ได้ 30-40 กิโล เมตรต่อชั่วโมง เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้ให้คำถามที่ต้องถามให้คำตอบจากข้อสงสัยซึ่งหลายคนยังไม่รู้ให้ข้อสนเทศศึกษาเฉพาะกรณีเหมือนบทเรียนซึ่งยังมาไม่ถึง

แน่นอนเศรษฐศาสตร์ใหม่ ใช้ข้อมูลพื้นฐานได้บ้าง แต่มิติการมองปัญหา วิธีการจัดการไม่เหมือนเดิม

เป็นหนังสือที่ควรอ่านและต้องอ่าน และถ้าไม่อ่านคุณอาจพบว่าลงทุนแพง แต่เสียค่าที่ขาด "ความรู้" เป็นมูลค่า สูงกว่า สำหรับสังคมไทยซึ่งกำลังเห่อเทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีผิดพลาดหรือเต็มไปด้วยขยะทางปัญญาครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us