Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
Driven             
 





อะไรทำให้เราทำในสิ่งที่เราทำ
อะไรผลักดันให้เราเลือกในสิ่งที่เราเลือก ในหนังสือ Driven : How Human Nature Shapes Our Choices ผู้แต่งทั้งสองซึ่งเป็นนักวิจัยจาก Harvard ได้รวบรวมหลักฐาน ที่เชื่อถือได้หลายอย่าง ที่สามารถไขปริศนาความลึกลับเกี่ยวกับนิสัยและพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ Lawrence และ Nohria 2 ผู้แต่งได้เชื่อมโยงธุรกิจเข้ากับชีววิทยา เพื่อแสดงให้เราเห็นว่า พฤติกรรมของสังคมมีผลต่อคนแต่ละคน การบริหาร ความเป็นผู้นำ และองค์กรแต่ละองค์กรอย่างไร

Lawrence และ Nohria อธิบายว่า พฤติกรรมของคนเราเป็นผลมาจากการเลือกของจิตสำนึกในขณะที่เรารู้ตัว แต่สิ่งที่มีอิทธิพลต่อทางเลือกต่างๆ นั้นกลับเป็นแรงขับที่มาจากจิตใต้สำนึก ซึ่งมีอยู่ 4 ตัวดังนี้

แรงขับที่ 1 : ความอยากได้
แรงขับจากจิตใต้สำนึกตัวแรกคือความอยากได้สิ่งของและประสบการณ์ ที่จะทำให้เรามีสถานภาพดีกว่าเมื่อเทียบกับคนอื่น แรงขับตัวนี้ เป็นแรงขับขั้นพื้นฐานที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ ผลการศึกษาข้าราชการอังกฤษ 2 ครั้งได้เผยให้เราเห็นอย่างชัดเจนถึงผลที่เกิดจากแรงขับตัวนี้ การศึกษาทั้ง 2 ครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาว่า สุขภาพของข้าราชการอังกฤษสัมพันธ์กับระดับสูงต่ำของตำแหน่งงานหรือไม่ ผลปรากฏว่า ยิ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งสูง ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตต่ำกว่า ไม่ว่าจะมีระดับอายุเท่าใด ผู้ประพันธ์ทั้งสองสรุปว่า ในโลกที่มีทรัพยากรอันจำกัดนี้ มนุษย์ที่สามารถได้ในสิ่งที่ตนต้องการมากกว่าคนอื่น มีโอกาสอยู่รอดสูงกว่า

แรงขับที่ 2 : ความอยากผูกพันกับคนอื่น
แรงขับจากจิตใต้สำนึกตัวที่สองเป็นความต้องการที่จะผูกพันกับคนอื่น โดยการมีความสัมพันธ์ที่ยืนยาว และมีความห่วงใยและรับผิดชอบซึ่งกันและกัน

ความต้องการผูกพันกับคนอื่นมีอยู่ในตัวคนทุกคนและมีอยู่ในทุกองค์กร แรงขับตัวนี้มีผลต่อศีลธรรมของคนรวมไปถึงภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วย ความต้องการผูกพันกับคนอื่นเป็นสิ่งที่คนใช้พิจารณาว่าองค์กรนั้นๆ น่าไว้วางใจหรือไม่ การผิดสัญญาซึ่งมีผลทำลายความสัมพันธ์กับคนอื่น จึงมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจจ้างงานหรือไล่ออก คนเราจะรู้สึกผูกพันกับองค์กรและเต็มใจทุ่มเทเวลาและความพยายามให้แก่องค์กร เหมือนที่ทุ่มเทให้กับเพื่อน มนุษย์รู้จักใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เป็นเครื่องมือช่วยในการสร้างความผูกพันกับคนอื่น โดยไม่ปล่อยให้ระยะทางที่ห่างไกลมาเป็นอุปสรรคในการสร้างความรู้สึกเป็นชุมชน และความผูกพันกับองค์กร

แรงขับที่ 3 : ความต้องการเรียนรู้
แรงขับตัวที่สามที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของเราคือ ความต้องการที่จะเรียนรู้และเข้าใจโลกภายนอกและเข้าใจตัวเราเอง แรงขับซึ่งสนองความอยากรู้อยากเห็นของเรา สนองความอยากรู้ อยากเข้าใจ อยากเชื่อ อยากเข้าถึงคุณค่าของสิ่งต่างๆ และอยากพัฒนาความเข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้นตัวนี้ มีอยู่ในตัวเราทุกคน

แรงขับที่ 4 : ความต้องการปกป้องตนเอง
แรงขับตัวที่สี่คือความต้องการปกป้องตนเอง ปกป้องคนที่เรารัก ความเชื่อของเรา และทรัพยากรที่เราเป็นเจ้าของ

ผู้ประพันธ์ได้หยิบยกบทเรียนทางประสาทวิทยามาประกอบการอธิบายถึงแรงขับตัวนี้ว่า เป็นความต้องการที่จะปกป้องความรู้เกี่ยวกับโลกและตัวเราเองที่เราเคยได้เรียนรู้มา แรงขับนี้จะทำงานทันที เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกว่าโลกทัศน์ของเราหรือภาพลักษณ์ของตัวเรากำลังถูกคุกคาม กลไกป้องกันตนเองจะปรากฏตัวออกมาในรูปของการพูดโต้แย้ง การเขียน การสื่อสารผ่านสื่อสารมวลชน และการปฏิเสธ ในขั้นรุนแรงที่สุด แรงขับตัวนี้อาจจะแสดงออกมาในรูปของความโกรธแค้น ความรุนแรง กระทั่งถึงการก่อสงคราม ผู้แต่งทั้งสองย้ำว่า มนุษย์เราไม่มีแรงขับที่ทำให้เราแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ดังนั้น พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทั้งหลายของมนุษย์นั้น แท้จริงแล้ว เป็นเพียงการป้องกันตัวเองเท่านั้น

แรงขับกับองค์กร
หลังจากอธิบายถึงแรงขับทั้งสี่ในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาแล้ว Driven ได้อธิบายถึงนิสัยของมนุษย์ โดยกล่าวถึงประเด็นวัฒนธรรม ทักษะ อารมณ์ และความสัมพันธ์ของมนุษย์กับความหลากหลายในสังคมที่เราต่างเผชิญมาเหมือนๆ กัน โดยอธิบายในบริบทขององค์กร และหากนำทฤษฎีเรื่องแรงขับจากจิตใต้สำนึกทั้งสี่มาปรับใช้กับองค์กรแล้ว ก็จะสามารถทำนายพฤติกรรมของคนในองค์กรได้

ดังนั้น สิ่งที่หนังสือเล่มนี้ท้าทายคนอ่านคือ ด้วยพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับแรงขับจากจิตใต้สำนึก ทักษะ ความฉลาด และอารมณ์ของมนุษย์นี้ เราจะสามารถออกแบบองค์กร โดยคำนึงถึงแรงขับทั้งสี่ที่มีอยู่ในตัวสมาชิกองค์กรทุกคนได้หรือไม่ แล้วทำให้องค์กรมีบรรยากาศของการร่วมมือกันสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ตลอดจนผลิตและขายสินค้าและบริการที่มีคุณค่าต่อโลก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us