Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 กุมภาพันธ์ 2548
กองทุนสำรองฯ1แสนล้านจ่อตีทะเบียนบลจ.กรุงไทยตั้งเป้าบริหารเพิ่ม2หมื่นล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรุงไทย, บลจ.

   
search resources

กรุงไทย, บลจ.
Funds




เผยยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่อคิวตีทะเบียนจัดตั้งมีกว่า 1 แสนล้านบาท บลจ.กรุงไทยในฐานะเบอร์ 1 ธุรกิจบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งเป้าคว้าเม็ดเงินบริหารเพิ่ม 2 หมื่นล้านบาท ภายในปีนี้ "ประภา" เชื่อมั่นลูกค้าให้การตอบรับในฝีมือบริหาร ขณะที่บลจ.ทหารไทยซุ่มเปิดตัว Feeder Fund

นางสาวประภา ปูรณโชติ รองประธานกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM) เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าบริหารจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของหน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนเพิ่มขึ้นประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ออกประกาศให้นายจ้างที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสามารถเข้ามาจดทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษด้านภาษีได้ จากที่ก่อนหน้าได้ปิดรับการจดทะเบียน

สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.กรุงไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 อยู่ที่ 52,850.76 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งตลาด (มาร์เกตแชร์) อันดับ 1 อันดับ 2. บลจ.ทิสโก้ มูลค่า 42,471.28 ล้านบาท อันดับ 3. บลจ. เอ็มเอฟซี 41,130.39 ล้านบาท อันดับ 4. บลจ.กสิกรไทย 35,694 ล้านบาท อันดับ 5 ธนาคารไทยธนาคาร 35,666.30 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า นายจ้างที่มีสวัสดิการประเภทเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย สามารถมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้ว ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2548

เนื่องจากในปัจจุบันยังมีนายจ้างจำนวนหนึ่งที่ได้จัดให้มีสวัสดิการในลักษณะเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้าง แต่มิได้นำเงินดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายในระยะเวลาที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งหมดเขตไปตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2540 ทำให้ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ควรจะได้

ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเงินเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้น กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดระยะเวลาเพิ่มเติมให้นายจ้างสามารถนำเงินประเดิมมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ หรือนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ทั้งนี้ให้ทำได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนของนายจ้างตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 247 (พ.ศ. 2547)

นางสาวประภา กล่าวว่า มีการประเมินว่ามีเม็ดเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งของรัฐวิสาหกิจและเอกชนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งประมาณ 1 แสนล้านบาท ถ้าหากนายจ้างนำเงินประเดิมมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบมากขึ้น ซึ่งถือเป็นจังหวะที่ดีทำให้บริษัทตั้งเป้าบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีนี้เพิ่มขึ้น และคาดว่าในปีนี้ยอดการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ บลจ.กรุงไทยน่าจะใกล้เคียงระดับ 8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเข้ามาติดต่อให้บริษัทฯบริหารกองทุนให้เพิ่มเป็น 59,608 ล้านบาท

โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนประกอบด้วย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน และการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท

สำหรับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ ปัจจุบันของบลจ.กรุงไทย มีกองทุนที่บริหาร 36 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนเดี่ยว 33 กองทุน กองทุนรวมทุน 3 กองทุน จำนวนนายจ้าง 180 ราย แบ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ 24 ราย และเอกชน 165 ราย จำนวนสมาชิก 84,000 คน

นางสาวประภา กล่าวว่า การบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การจัดการของบริษัทเม็ดเงินส่วนใหญ่เป็นของรัฐวิสาหกิจ การจัดสรรเงินลงทุนจะให้น้ำหนักการลงทุนผ่านตราสารหนี้ประมาณ 75% และลงทุนในตลาดหุ้นเพียง 25% เท่านั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน แม้ก.ล.ต.จะเปิดทางให้สามารถลงทุนในตลาดหุ้นได้สูงถึง 30% ของพอร์ตการลงทุนก็ตาม

"จุดเด่นของการบริหารจัดการกองทุนของเราอีกจุดหนึ่งที่ทำให้กรรมการของแต่ละกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเชื่อมั่นในการบริหารจัดการคือ เราจะมีการจัดส่งรายงานการบริหารกองทุนเป็นรายเดือนเพื่อให้กรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ละแห่งได้มีการตรวจสอบ และปรับรูปแบบการลงทุนได้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละกองทุน" นางสาวประภากล่าว

นอกจากนี้ ในช่วงแนวโน้มดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น บริษัทได้ปรับสัดส่วนการถือครองตราสารหนี้ระยะยาวลดลงจากเดิมที่ถือครองตราสารอายุ 2-2.5 ปี ลงมาเหลือ 1.5-2 ปีเท่านั้น เพื่อที่จะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนผ่านตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

ขณะที่ นางสาวกรองจันทร์ สกุลยง ผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฝ่ายวางแผนการลงทุนและพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด (TMBAM) กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าไปบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับภาครัฐวิสาหกิจและเอกชน โดยรูปแบบการบริหารกองทุนจะเป็นในลักษณะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลงทุนผ่านกองทุนรวมของบลจ.ทหารไทย ที่มีอยู่แล้ว (Feeder Fund) ซึ่งก.ล.ต.ได้อนุมัติให้สามารถดำเนินการได้แล้ว

"การบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้โปรแกรม Feeder Fund จะช่วยลดต้นทุนค่าบริหารจัดการให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก เชื่อว่าหลังโปรแกรมนี้เสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะสามารถเปิดตัวในปีหน้าจะได้รับการตอบรับจากลูกค้า"

นางสาวกรองจันทร์ กล่าวว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลงทุนในกองทุนรวมจะมีความหลากหลาย และขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ละแห่งว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด หรือต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนแบบไหน ซึ่งลูกค้าจะเป็นผู้เลือกรูปแบบการลงทุนผ่านกองทุนของบลจ.ทหารไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ที่จำเป็นต้องให้ความรู้กับกลุ่มลูกค้า และรูปแบบนี้จะช่วยลดต้นทุนค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของแต่ละบริษัทได้เป็นจำนวนมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us