Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
ภาวะผู้นำ             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ปัญหาในปัจจุบันที่เราเห็นกัน อยู่ในตอนนี้ คงจะไม่พ้นปัญหาทางการ เมืองที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ นับเนื่องมาตั้งแต่เรื่องของความบกพร่องโดยสุจริต ไล่เรียงมาจนถึงกรณี double standard และกรณีนิตยสารฟาร์อีสเทิร์น อิคอนอมิค รีวิว กับดิ อิคอนอมิสต์ ที่โยงใยไปหาคนคาบไปป์ และลงเอยด้วยการถูกตรวจสอบทรัพย์สินของบรรดาคนที่ทำตัวราวกับอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามรัฐบาล ทำให้เราอาจจะต้องตั้งข้อสงสัยแล้วว่า เกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยในยุคของรัฐบาลชุดนี้ ที่นำโดย ดร.ทักษิณ และเป็นรัฐบาลที่กุมเสียงข้างมากโดยเด็ดขาด

ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองกับรัฐบาลชุดนี้ก็เพราะว่า ปัญหาหลายอย่างดูจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกับการตรวจสอบรัฐบาล ดูเหมือนว่าโอกาสที่จะตรวจสอบรัฐบาลของคุณทักษิณอย่างมีประสิทธิภาพในทางรัฐสภา แทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความที่เสียงในสภาต่างกันมากเหลือเกิน สิ่งที่เราอาจจะหวังพึ่งได้คือองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญก็ดูจะมีปัญหาคาใจใครหลายคนกับการตัด สินในครั้งก่อน สิ่งที่อาจจะเหลืออยู่และเป็นเครื่องมือของภาคประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เช่น สิ่งพิมพ์ก็กลับกลายว่าเป็นกลุ่มที่ถูกมองว่าเป็นศัตรูของรัฐบาล และถูกตอบโต้โดยการตรวจสอบกลับโดยหน่วยงานอย่างเช่น ปปง.

เราอาจจะตั้งข้อสงสัยภาวะผู้นำของคนในรัฐบาลชุดนี้ว่ามีลักษณะเช่นไร

อีริค เบิร์น จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ได้วิเคราะห์โครงสร้างบุคลิกภาพของคนว่ามีอยู่ 3 องค์ประกอบ หรือ 3 ส่วนด้วยกันคือ ภาวะของความเป็นเด็ก (child ego state), ภาวะของการเป็นผู้ใหญ่ (adult ego state), และภาวะของความเป็นผู้ปกครอง (parent ego state) อีริค เบิร์น เชื่อว่า โครงสร้างบุคลิกภาพทั้ง 3 ส่วน ดังกล่าวมีอยู่ในคนทุกคนในองค์ประกอบที่มากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นกับประสบการณ์ที่ได้รับในวัยเด็ก องค์ประกอบดังกล่าวส่งผลให้คนเราแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปกับบุคคลกลุ่มต่างๆ ซึ่งหากมองให้แคบเข้าในแง่ของการทำงาน องค์ประกอบทั้งสามก็จะแสดงออกมาในเวลาทำงานทั้งต่อผู้บังคับบัญชา ต่อเพื่อนร่วมงานตลอดจนต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

สภาวะของความเป็นเด็กนั้น เป็นลักษณะที่เป็นธรรมชาติ มีความคิดริเริ่มน่ารัก น่าเอ็นดู บางครั้งอาจมีพฤติกรรมซนๆ กระตือรือร้น ดื้อรั้น หรืออยากเอาชนะ

ส่วนสภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ เป็นสภาวะที่แสดงออก โดยการมีสติ ตระหนักรู้ว่าอะไรคือสภาพที่เป็นจริง เชื่อมั่นในตนเอง มีเหตุผลอยู่เสมอ

ส่วนสภาวะของความเป็นพ่อแม่นั้น เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่แสดงกับผู้อื่นในรูปแบบที่ราวกับเห็นว่า ผู้อื่นเป็นเด็ก อาจจะแสดงออกมาในบทบาทของพ่อแม่ที่อบอุ่น ใจดี ปลอบโยน ให้กำลังใจ หรืออาจแสดงออกตรงข้ามในลักษณะของการตำหนิติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ คาดโทษ แสดงอำนาจ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติ รวมถึงการตัดสินพิพากษาผู้อื่น

เมื่อโยงภาวะบุคลิกภาพทั้งหมดดังกล่าวเข้ากับภาวะของการเป็นผู้นำแล้ว ก็จะปรากฏเป็นภาพของผู้นำแบบต่างๆ ซึ่งคุณผู้อ่านก็อาจจะลองพิจารณาดูว่าเหมือนใครบางคนที่คุณรู้จักในที่ทำงานหรือเปล่า นั่นคือ แบบแรก คือ ภาวะความเป็นเด็กในรูปแบบผู้นำ ผู้นำที่มีลักษณะเช่นนี้จะเป็นคนที่ เอาแต่ใจตัวเอง ก้าว ร้าว ดื้อรั้น กระตือรือร้น ไม่กล้าตัดสินใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มักเป็นภาวะของผู้นำที่เต็มไปด้วยความคิด แต่ไม่นำ

แบบที่สอง คือ ภาวะผู้ใหญ่ในรูปแบบผู้นำ ผู้นำ แบบนี้จะเป็นคนที่มีการวิเคราะห์ และสนใจข้อมูลเป็นหลัก เป็นคนที่มุ่งความสำเร็จ โดยไม่สนใจความรู้สึกของลูกน้อง อยู่ในโลกแห่งเหตุและผล ไม่มีอารมณ์ขันพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นคนที่จริงจังกับทุกเรื่องโดยเฉพาะกับลูกน้อง

แบบที่สามเป็นลักษณะภาวะพ่อแม่ในแบบผู้นำ ผู้นำเช่นนี้จะเป็นผู้นำที่ออกจะเผด็จการ ติชมลูกน้องเสมอ ถ้าดีจะเป็นห่วงเป็นใย คอยปกป้อง อีกด้านก็คือ รวบอำนาจเบ็ดเสร็จ โดดเดี่ยว มีความลึกลับ ออกคำสั่งอย่างเดียวไม่ค่อยฟังความเห็น

ดังที่กล่าวข้างต้น ตามปกติแล้วคนเราจะมีทั้ง 3 สภาวะอยู่ในตัว บางครั้งเราแสดงภาวะแบบใดแบบหนึ่งเด่นกว่าอีกสองแบบที่เหลือโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากความเคยชิน แต่หากเลือกได้ และตั้งใจจะเลือก การเลือกแสดงสภาวะใดสภาวะหนึ่งของบุคลิกภาพควรต้องเลือกให้เหมาะกับกาลเทศะ คือ บุคคล, เวลา และสถานที่

เช่นหากผู้นำที่ทำตัวตามสบาย กระตือรือร้น นั่นคือผู้นำที่แสดงสภาวะเด็กในองค์การ ผู้นำคนนั้นคงจะเป็นที่รักใคร่ของลูกน้อง เนื่องจากคุณมีอารมณ์ขัน มนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่คนรอบข้างอาจไม่ให้ความเคารพคุณ เนื่องจากเขามองว่าคุณไม่กล้าตัดสินใจ และไม่สามารถนำเขาได้

หรือถ้าคุณเลือกการเป็นภาวะของผู้ใหญ่ คุณจะเป็นผู้นำที่เป็นเจ้าแห่งเหตุผล ไม่ยอมให้อภัยกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คงไม่มีลูกน้องอยากเข้าใกล้นัก

แต่ถ้าคุณเลือกเป็นผู้นำในแบบฉบับของพ่อแม่ ก็อย่าลืมว่า หลายคนในที่ทำงานคงไม่ต้องการให้มีญาติผู้ใหญ่ตามมาถึงที่ทำงาน แน่นอนว่าความอบอุ่น การปลอบโยนลูกน้องเป็นสิ่งที่ดี แต่การเป็นผู้ใหญ่ใจดีก็อาจจะไม่ทำให้งานเดินหน้า หากคุณอยู่ในสถานที่ทำงานที่ลูกน้องไร้ระเบียบวินัย

หากกลับมามองภาวะผู้นำของคนในรัฐบาลชุดนี้ เราคงจะเห็นว่า ผู้นำบ้านเรานิยมเป็นผู้นำในภาวะที่ไม่เต็มรูปแบบ และที่แย่กว่านั้นคือ เอาแต่ด้านลบมากกว่าด้านบวก เช่นเป็นผู้นำแบบเด็ก คือ การเอาแต่ใจตนเอง แต่ไม่ค่อยเป็นมิตร หรือภาวะผู้นำแบบผู้ใหญ่คือ สนใจความสำเร็จโดยไม่สนใจความเป็นอยู่ของลูกน้อง และแบบพ่อแม่ คือจะเอาให้ได้อย่างใจโดยไม่คิดว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไร และถ้าไม่ได้อย่างใจเป็นเรื่องขึ้นมา หรือรับแต่คำชมมากกว่าคำวิจารณ์ ถ้าวิจารณ์ขึ้นมาเมื่อไรเป็นได้เรื่อง

เขียนมาถึงตรงนี้ก็คงต้องเตือนผู้อ่านว่า อ่าน ได้ คิดได้ พูดได้ แต่มีข้อแม้ประการเดียว อย่าพูด อย่าวิจารณ์ในรถแท็กซี่ เพราะอาจโดนทุบเอาได้ง่ายๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us