|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แฉคดี แบงก์กรุงไทยปล่อยกู้บริษัทธนบุรีประกอบยนต์ มีนักธุรกิจหนุ่มและนักการเมืองหญิงจากภาคเหนือ มีเอี่ยวส่วนแบ่งค่านายหน้า 600 ล้าน ออกเช็ค 18 ใบ แต่บิ๊กแบงก์ชาติเลือกเล่นงานบางราย เก็บที่เหลือไว้ต่อรองฝ่ายการเมืองยามจำเป็น "สมคิด" ยันนโยบายแก้หนี้-ฟื้นฟูธุรกิจไม่เปลี่ยน บอร์ดกรุงไทยรอหนังสือจากแบงก์ชาติก่อนโยกย้ายผู้บริหาร
วานนี้ (17 ก.พ.) คณะกรรมการธนาคารกรุงไทย ประชุมเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร้องทุกข์กล่าวโทษอดีตกรรมการและ ผู้บริหารธนาคารกรุงไทย (KTB) จำนวน 21 ราย ปล่อยสินเชื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อธนาคารกรุงไทย นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสืออย่างเป็นทางการจากธปท. โดยเฉพาะรายชื่อบุคคลต่างๆ ที่ถูกกล่าวโทษ เป็นเพียงการนำเสนอผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น
"มติดังกล่าวเป็นไปตามมติของบอร์ดบริหาร ซึ่งประชุมไปเมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา ตอนนี้เรากำลังดูว่าจะดำเนินการอย่างไร ในกรณีที่พนักงานแบงก์ถูกฟ้องร้อง ก็ต้องดูกฎหมายรวมทั้งรัฐธรรมนูญเข้ามาพิจารณาด้วย"
นายอภิศักดิ์ยังระบุว่า ไม่ทราบรายละเอียดหรือเส้นทางการไหลของเงินกู้ โดยเฉพาะคดีที่ 3 ซึ่งธปท.ระบุว่าพบเส้นทางการยักยอกเงินในการปล่อยกู้ไปสู่บุคคลภายนอก 600 ล้านบาท
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวเป็นการปล่อยกู้ให้บริษัทธนบุรีประกอบยนต์ ธปท.อ้างว่าผู้บริหารไม่ปฏิบัติตามมติบอร์ดบริหาร จ่ายเงินสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกหนี้เกินกว่าที่ควรจ่ายจริง โดยไม่รักษาผลประโยชน์ทำให้ธนาคารกรุงไทยได้รับความเสียหาย และเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกได้รับประโยชน์ที่ไม่ควรได้ มีผู้ถูกฟ้องร้อง 4 คน
เกี่ยวกับคดีนี้ แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการธนาคารพาณิชย์เปิดเผยว่า ผู้บริหารระดับสูงของธปท.ได้พูดกับคนรอบข้างว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีมากกว่า 4 คน ที่ได้ประโยชน์จากเงินที่บุคคลคนนอกซึ่งเป็นนักธุรกิจหญิงแบ่งให้ โดยในจำนวนนี้มีนักธุรกิจหนุ่มดาวเด่นในสังคมไทย และนักการเมืองหญิงที่ทรงอิทธิพลจากภาคเหนือ
"ผู้บริหารแบงก์ชาติคนนี้ บอกว่าเห็นเส้นทางการไหลของเงิน จึงได้ดำเนินคดี แต่คนที่ได้ส่วนแบ่งจากนักธุรกิจหญิง ยังมีอีกหลายคนซึ่งไม่ได้ฟ้องร้อง โดยเคสนี้มีการออกแคชเชียร์เช็คของแบงก์เอเชีย จ่ายให้กับผู้เกี่ยวข้องถึง 18 ใบ"
แหล่งข่าวระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าธปท.ไม่ได้ละเว้นเฉพาะกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย (ฟ้อง 3 จาก 5 คน) แต่ยังละเว้นบุคคลภายนอก อย่างไรก็ตามหากดูจากพฤติกรรมที่ผ่านมา เป็นไปได้ที่ผู้บริหารระดับสูงของธปท.จะเก็บข้อมูลนี้ไว้ เพื่อต่อรองทางการเมือง ในกรณีที่จำเป็น สังเกตได้จากการแสดงความกังวลของธปท.ที่กระทรวงยุติธรรมจะดึงเรื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับผิดชอบคดีนี้แทน
เผยคงไม่จบแค่ 3 คดี
นายวีระชาติ ศรีบุญมา ผู้อำนวยการฝ่ายคดี ธปท. เปิดเผยว่า กำลังดำเนินการส่งคดีการฟ้องร้องผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ในคดีที่บุคคลภายนอกได้รับประโยชน์ที่ไม่ควรได้ 600 ล้านบาท ให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อให้ปปง.นำเรื่องไปดำเนินการสอบสวนต่อตามกฎหมายและวิธีการฟอกเงิน เนื่องจากทาง ปปง.มีอำนาจในตรวจสอบเส้นทางการเดินของเงินมากกว่า
"เท่าที่ฟ้องร้องไปแล้วคิดว่าครบถ้วนแล้ว เพราะได้ฟ้องร้องผู้อนุมัติสินเชื่อ ผู้สั่งจ่ายเงิน บริษัทผู้รับเงิน และผู้ที่ได้รับเงิน 600 ล้านบาท ขึ้นกับ ปปง. แต่อาจจะตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายคดีของธปท.ร่วมด้วยก็ได้
สำหรับสินเชื่อที่เหลืออีก 9 ราย (ทั้งหมด 12 ส่งฟ้องแล้ว 3) นายวีระชาติกล่าวว่า ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการอนุมัติหรือการปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์แก่ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกจนผิดปกติ จึงอาจจะดำเนินการทีหลังได้
สำหรับเหตุผลที่ ธปท.ดำเนินการกันพยาน 2 คน ซึ่งเป็นกรรมการนั้น นายวีระชาติกล่าวว่า ทำตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 226 กำหนดไว้ว่า การจะพิจารณาพยานที่จะมาเป็นพยานให้ว่า จะต้องมาด้วยความเต็มใจไม่ได้ถูกบังคับขู่เข็ญมา และ ป.วิ.อาญา มาตรา 227 กำหนดว่าต้องเป็นบุคคลที่พิจารณาแล้วว่า ไม่ได้กระทำผิดหรือไม่มีข้อมูลหลักฐานว่ากระทำผิด
พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติเลขาธิการปปง.ให้สัมภาษณ์ว่า ปปง.ได้รับสำนวนคดีที่ธปท.ร้องทุกข์กล่าวโทษ อดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทยแล้ว
สินเชื่อกรุงไทยระส่ำ
การร้องทุกข์กล่าวโทษของธปท.ต่อกรรมการผู้บริหารและบุคคลภายนอกดังกล่าว ยังกระทบต่อการปล่อยกู้ในระบบธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะธนาคารกรุงไทย เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนายอภิศักดิ์กล่าวว่า จากการสอบถามพนักงานพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เกิดความไม่สบายใจ แต่ทางธนาคารได้พยายามทำความเข้าใจว่า หากพนักงานทำไปอย่างสุจริต และเป็นไปตามขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อตามปกติ ธนาคารจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาแต่ออย่างใด รวมทั้งเรื่องนี้จะไม่มีผลกระทบต่อเป้าหมายการขยายสินเชื่อในปีนี้ที่ตั้งเป้าไว้ประมาณ 70,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายการขยายตัวจากปีก่อนไม่มากนัก
ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ถูกธปท. กล่าวโทษนั้น ขณะนี้ทั้ง 3 ราย ยังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งลูกหนี้จำนวน 1 ราย ยังมีการชำระหนี้ตามปกติ แต่ลูกหนี้ทั้ง 3 รายนั้นธนาคารได้จัดชั้นเป็นหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไปแล้ว
คลังยันแก้ NPL-ฟื้นฟูธุรกิจต่อ
ด้านนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการที่ธปท.ฟ้องร้องกรรมการผู้บริหารและบุคคลภายนอกว่าไม่ทำให้นโยบายแก้หนี้เสียและฟื้นฟูธุรกิจเอกชนของรัฐบาลมีปัญหาแต่อย่างใด
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่า ธปท.ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังตัวในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ควบคุมมิให้ธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อนำเงินกู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน ส่วนการที่ ธปท.ดำเนินการ แสดงว่าต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน
"ในส่วนของคลังได้เสนอให้มีการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ออกไปอีก 2 ปี และตั้งคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของสถาบันบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ของรัฐ โดยตั้งเป้าหมายปรับลดเอ็นพีแอลในระบบเหลือ 3% ในปี 2551 ซึ่ง ณ ขณะนี้นโยบายดังกล่าวยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นทิศทางนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ยังคงเป็นไปตามที่วางไว้ คือ เร่งปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินกิจการได้ต่อไป"
อย่างไรก็ตาม หากธนาคารพาณิชย์ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อในช่วงนี้ ภาคธุรกิจยังสามารถพึ่งพาสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐได้
|
|
|
|
|