|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กสทเสนอซื้อโครงข่ายซีดีเอ็มเอใน 25 จังหวัดภาคกลาง จากกลุ่มฮัทชิสันกว่าหมื่นล้านบาท หวังเป็นเจ้าของโครงข่ายหรือ Network Provider โทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอทั่วประเทศ ในขณะที่กลุ่มฮัทชิสันขอเวลา 2 สัปดาห์ ในการพิจารณาข้อเสนอที่อาจรวมถึงการยื่นข้อเสนอกลับในการเป็นผู้ทำตลาดซีดีเอ็มเอในชื่อฮัทช์ทั่วประเทศเช่นกัน
นายวิทิต สัจจพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวถึงการเจรจากับกลุ่มฮัทชิสันในการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอในชื่อบริการ ฮัทช์ ว่า กสทได้ยื่นข้อเสนอซื้อโครงข่ายซีดีเอ็มเอ ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง 25 จังหวัดของบริษัท บีเอฟเคที ซึ่งกลุ่มฮัทชิสันถือหุ้น 100% โดยกลุ่มฮัทชิสันขอเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการพิจารณาข้อเสนอของกสท
การซื้อโครงข่ายดังกล่าวเมื่อรวมกับโครงข่ายซีดีเอ็มเออีก 51 จังหวัดในภูมิภาคที่กสทมอบให้หัวเหว่ย เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งให้เสร็จ 1,600 สถานีฐานภายใน 2 ปี ก็จะทำให้กสทเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (Network Provider) โทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอทั่วประเทศ
ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มฮัทชิสันจะเสนอตัวเป็นผู้ทำตลาดภายใต้แบรนด์ฮัทช์ทั่วประเทศเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องต้องเจรจาต่อไป ภายใต้สถานการณ์ที่ถือว่าได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย
ด้านกสทในฐานะการเป็นเจ้าของโครงข่ายก็สามารถสร้างบริการเสริมเพิ่มเติมจากโครงข่ายซีดีเอ็มเอ 2000 1X EV-DO ได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง การเป็นไวร์เลสบรอดแบนด์ หรือการให้บริการในลักษณะโทรศัพท์ประจำที่หรือโทรศัพท์สาธารณะ
แหล่งข่าวในกสทกล่าวว่ากลุ่มฮัทชิสันเกี่ยวข้องกับซีดีเอ็มเอ 2 เรื่อง คือ การเป็นผู้ลงทุนโครงข่ายใน 25 จังหวัดภาคกลางในชื่อบริษัทบีเอฟเคที และการได้สิทธิเป็นผู้ทำตลาดในชื่อบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย ซึ่งฮัทชิสันถือหุ้นราว 74% และกสทถืออยู่ราว 26% ซึ่งที่ผ่านมาบีเอฟ เคที จะมีรายได้ที่แน่นอนจากค่าเช่าโครงข่าย ในขณะที่ฮัทช์อยู่ในภาวะขาดทุนจากการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากกสทจะต้องการซื้อโครงข่าย โดยไม่ต้องการซื้อกิจการ ก็อาจต้องใช้เงินในระดับไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท เพราะโครงข่ายซีดีเอ็มเอใน 25 จังหวัดภาคกลางลงทุนไม่น้อยกว่า 3 หมื่นล้านบาท
"อาจต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาหากต้องการซื้อโครงข่ายระดับหมื่นล้านบาท"
ทั้งนี้ ฮัทช์เริ่มรุกตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ภายหลังเกิดความชัดเจนของการขยายโครงข่ายซีดีเอ็มเอไปทั่วประเทศ โดยการออกแพกเกจแคมเปญต่างๆอย่างโทร.ฟรี 1 ปีแบบไม่มีสัญญา ไม่มีค่าบริการขั้นต่ำ ซึ่งตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าที่ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายและไม่มีข้อผูกมัดเรื่องการทำสัญญา โดยมีงบในการซื้อ โทรศัพท์มือถือประมาณ 5-6 พันบาท และเป็นคนใช้โทรศัพท์น้อยไม่เกินเดือนละ 300 นาที แคมเปญนี้ จะได้รับสิทธิโทร.ฟรีเดือนละ 150 นาทีเป็นเวลา 1 ปีเต็ม แต่หากลูกค้าใช้เกิน 150 นาที ในส่วนที่เกินคิดค่าบริการเพียงนาทีละ 2 บาทหมายถึงหากในเวลา 1 ปีลูกค้าใช้ไม่เกินเดือนละ 150 นาทีเท่ากับซื้อเครื่องในราคาดังกล่าวไปแล้ว ก็ไม่ต้องเสียค่าโทร.อีกเลย
"การบุกตลาดต่างจังหวัดพร้อม กิจกรรมโรดโชว์ต่างๆ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าซีดีเอ็มเอใช้ได้ทั่วประเทศแล้ว ถึงแม้ในพื้นที่ 51 จังหวัดยังเป็นการใช้งานด้านเสียงอย่างเดียวก็ตาม"
|
|
|
|
|