Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
มหัศจรรย์แห่งแสงเหนือ             
 





ปลายฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเฝ้าดูปรากฏการณ์ธรรมชาติเหนือขอบฟ้าอลาสก้า ที่เรียกกันว่า "แสงเหนือ" (aurora borealis) ซึ่ง Ken Griffiths ช่างภาพประจำนิตยสาร Conde Nast Traveller ใช้เวลา 8 วันเฝ้าจับภาพความมหัศจรรย์ของแสงเหนือช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วมาฝาก พร้อมกับเล่าประสบการณ์ประทับใจว่า

"คุณเฝ้ารอแล้วรอเล่าจนคิดว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นแล้วล่ะ แต่แล้วคุณก็สังเกตเห็นแสงรุ่งโรจน์ขึ้นที่ขอบฟ้า และมันเริ่มเคลื่อนตัวเข้าหาคุณด้วยความเร็วและแรงเหมือนขบวนรถไฟ เมื่อมันเคลื่อนใกล้เข้ามา บางครั้งมันก็ส่ายไปมา และบางครั้งก็แผ่ออกเหมือน ม่านบางๆ ที่พลิ้วไหวตามแรงลม แสงเหนือที่ปรากฏต่อสายตาคุณ แต่ละครั้งจึงไม่มีวันเหมือนกันเลย"

ความแปลกประหลาดชวนขนหัวลุกของแสงเหนือก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ นานา สำหรับหลักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันอธิบายว่า แสงเหนือเกิดจากอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งพวยพุ่งออกจากดวงอาทิตย์ และถูกขั้วแม่เหล็กโลกดูดเข้ามา ซึ่งปรากฏการณ์ของแสงเหนือที่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือและแสงใต้ที่เกิดในซีกโลกใต้ มีลักษณะเดียวกันคือ เมื่ออนุภาคดังกล่าวเดินทางถึงบรรยากาศโลกชั้นนอกสุด ก็จะชนเข้ากับแก๊สที่อยู่ในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) เกิดเป็นลำแสงรุ่งโรจน์ขึ้นในลักษณะเดียวกับอิเล็กตรอนวิ่งผ่านแก๊สในหลอดไฟนีออน แล้วเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นมานั่นเอง

ส่วนที่เห็นเป็นเหมือนแสงกำลังเริงระบำ และรูปร่างแลดูแปลกประหลาดบนท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้น เป็นเพราะการปิดโค้งของสนามแม่เหล็ก ที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ลำอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าพุ่งเข้าปะทะ ส่วนสีต่างๆ ที่เรามองเห็นนั้น เกิดจากแก๊สในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ โดยสีเขียวและแดงเกิดจากแก๊สออกซิเจน สีน้ำเงินและม่วงเกิดจากแก๊สไนโตรเจน

สำหรับสีเขียวของแสงเหนือที่ Ken Griffiths ถ่ายภาพมาได้เกิดจากแก๊สออกซิเจนที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลกประมาณ 60 ไมล์ (ส่วนสีแดงเกิดจากแก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งพวยพุ่งจากดวงอาทิตย์ ณ ความสูงจากพื้นโลกราว 200 ไมล์)

8 วันของการเฝ้าดูแสงเหนือบนขอบฟ้าอลาสก้าของ Ken Griffiths เป็นประสบการณ์ประทับใจไม่รู้ลืม "เหมือนได้อยู่บนดวงจันทร์ยังไงยังงั้น"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us