Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
สะพานสะท้อนอัจฉริยภาพของ Leonardo da Vinci             
 


   
search resources

Leonardo da Vince




"มันเหมือนกับได้ตกหลุมรัก" Vebjorn Sand ศิลปินชาวนอร์เวย์ฟื้นความหลัง "ผมไม่สามารถสลัดมันออกไปจาก ความรู้สึกนึกคิดได้"......

เป็นเรื่องราวที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Popular Science ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ Sand พูดถึงเหตุการณ์เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ขณะมีโอกาสเข้าชมนิทรรศการผลงานของ Leonardo da Vinci ซึ่งทำให้เขาสะดุดและให้ความสนใจในแบบจำลองสะพานที่ da Vinci ทำขึ้นเสนอสุลต่าน Bajazet II แห่งอาณาจักรออตโตมาน ในปี 1502 เพื่อทำการก่อสร้าง

ในครั้งนั้น สุลต่านมีโครงการขยายอ่าว Golden Horn ซึ่งอยู่ระหว่างเมือง Pera และ Constantinople (Istanbul ในปัจจุบัน) ของตุรกี และถ้าได้ก่อสร้างขึ้นจริง ก็จะได้ชื่อว่าเป็นสะพานใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในยุคนั้นเลยทีเดียว

ปรากฏว่า ราชสำนักออตโตมานกลับรู้สึกทึ่งและประหลาดใจมาก กับงานออกแบบสะพานที่เป็นรูปทรงโค้งขนาดมหึมา และหลังจากปรึกษา กับคณะที่ปรึกษาแล้ว สุลต่านมีบัญชาที่มีผลให้โครงการก่อสร้างต้องพับฐานไปว่า สะพานทรงโค้งขนาดใหญ่อย่างนั้นมีสิทธิจะถล่มพังลงตรงส่วนกลางของสะพานได้

แต่ทันทีที่ Sand ได้เห็นแบบของสะพาน เขาเชื่อมั่นว่ามันต้องสร้างได้ "ที่สำคัญเรากำลังจะได้ร่วมงานกับ Leonardo" เขาคิด

Sand ไม่ยอมเสียเวลาอีกต่อไป เขาติดต่อกับ Norwegian Public Road Administration ทันที พร้อมเสนอให้สร้างสะพานตามแบบของ da Vinci

แล้วฝันของ Leonardo da Vinci ก็เป็นจริงเอาในศตวรรษที่ 21 นี้เอง เมื่อทางการนอร์เวย์ตกลงสร้างสะพานดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องย่อส่วนให้เล็กลงจากต้นแบบซึ่งยาว 787 ฟุตให้เหลือ 328 ฟุต โดยสนับสนุนเงินงบประมาณให้สร้างสะพานด้วยไม้สนอัดซ้อนกันเป็นชั้นๆ (Laminated pine) ที่บริเวณ As ซึ่งอยู่ชานกรุงออสโล นครหลวงนั่นเอง

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ สมเด็จพระราชินี Sonja แห่งนอร์เวย์ เสด็จเปิดสะพานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ตุลาคมปีที่แล้ว

ที่น่าทึ่งที่สุดในสายตาของวิศวกรก็คือ รูปลักษณ์อันทันสมัยของสะพาน ซึ่งบางคนถึงกับยกย่องให้เป็นสะพานแห่งอนาคต ด้วยซ้ำ

Sand อธิบายเหตุผลในจุดนี้ว่า เป็นเพราะการออกแบบซึ่งใช้หลักคณิตศาสตร์นั่นเอง "คณิตศาสตร์และเรขาคณิตเป็นหลักวิชาที่อยู่เหนือกาลเวลา"

แต่ถ้าพินิจพิจารณาให้ถี่ถ้วน ก็ช่วยไม่ได้ที่คนทั่วไปจะคิดด้วยหลักสามัญสำนึกเหมือนราชสำนักออตโตมานยุคนั้นว่า เป็นไปได้อย่างไรที่สะพานโค้งกลมขนาดนั้นจะทอดตัวลงสู่แนวราบได้ในระยะทางที่หดสั้นเข้า?

คำตอบก็คือ ใช้หลักการก่อสร้าง "pressed-bow construction" (โปรดอ่านผังประกอบ)

โดยตัวสะพานจะมีฐานที่แผ่กว้างออกไปมาก ซึ่งก่อให้เกิดแรงต้านจากพื้นดินบริเวณที่รองรับฐานของตัวสะพานนั่นเอง นอกจากนี้ การสร้างให้สะพานโค้งคู่กันแบบ double-arch construction ยังทำให้สะพานสามารถต้านแรงลมที่พัดกระโชกเข้าทางด้านข้างได้เป็นอย่างดี

สะพานที่สะท้อนอัจฉริยภาพของ Leonardo da Vinci นี้จึงได้รับการยกย่องจากทั่วโลกแบบไม่มีข้อกังขา

เป็นเรื่องของกาลเวลาโดยแท้!

500 ปี หลังจาก Leonardo ออกแบบสะพานแก่สุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมาน ในที่สุดผลงานของสมองอันปราดเปรื่องของเขาก็เป็นจริงขึ้นที่ชานกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เป็นสะพานโค้งที่ออกแบบโดยใช้หลักเรขาคณิตได้อย่างสมบูรณ์แบบดังที่แสดงในผังประกอบ ที่ทีมวิศวกรซึ่งรับผิดชอบโครงการนี้สร้างขึ้น

A นำทรงกระบอกที่มีปีกโค้งเว้าเข้าข้างในมาหนึ่งอัน แล้วตัดขวางตามแนวนอน B ได้ส่วนของส่วนโค้งที่เกิดจากการตัดขวางรูปทรงกระบอก C จากนั้นตัดส่วนที่เป็นปีกของส่วนโค้งนั้นออก เกิดเป็นรูปโค้งทรง parabola คือมีความแบนโค้งสองด้านขนานกัน D ตอนนี้ส่วนโค้งนั้นก็กลายเป็นสะพานที่มีความมั่นคง เชิงโครงสร้างคือ มีฐานกว้าง และคอดแคบเข้าบริเวณ ส่วนกลางของตัวสะพาน E ต้นแบบเชิงเรขาคณิตที่เห็นอยู่นี้ เกือบจะเป็นภาพเดียวกับภาพวาดของ Leonardo da Vinci เมื่อปี 1502

ภาพสะพานที่ Leonardo da Vinci สเกตช์ขึ้นและเสนอต่อสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมาน (ขวาสุด)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us