|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"กรุงไทย" ผ่าตัดครั้งใหญ่ รื้อโครงสร้างบริหารใหม่หวังลดความเสี่ยงด้านการบริหาร พร้อมเดินหน้าปรับโฉมการบริการ ทั้งคน-รูปแบบสาขา ตั้งเป้า 3 ปี ก้าวเข้าสู่สนามแข่งขันแบงก์พาณิชย์เต็มสูบ สิ้นปีแยกบัญชีบริการรัฐ-เอกชนออกจากกันให้ชัด
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเข้ารับตำแหน่งครบ 3 เดือน เมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ผู้จัดการรายวัน" ถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจของธนาคารว่า หลังจากแก้ปัญหาเรื่องหนี้ด้อยคุณภาพ ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ ทำอย่างไรให้ธนาคารกรุงไทยเป็นแบงก์ที่ดี โปร่งใส พึ่งพาได้ มีผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย พนักงานให้บริการได้อย่างภาคเอกชน เป็นธนาคารพาณิชย์สมบูรณ์แบบ ขณะเดียวกันก็จะต้องทำหน้าที่บริการให้กับภาครัฐได้อย่างได้ตามที่รับมอบหมาย
นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ภายใต้เป้าหมายดังกล่าวจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงภายในปีนี้ โดยขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการศึกษาปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนจากโครงสร้างที่อิงอยู่กับภูมิศาสตร์เป็นระบบที่ยึดตามฟังก์ชันงาน เช่น สายงานสินเชื่อ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการบริหารที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ทั้งนี้ การรื้อโครงสร้างการบริหารของธนาคารครั้งนี้ถือเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ แต่คงไม่กระทบต่อการทำงานโดยรวมของธนาคาร และจะใช้ทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรเป็นหลักเพราะเชื่อว่าคนในกรุงไทยมีศักยภาพอยู่เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ ธนาคารจะปรับปรุงการให้บริการในส่วนของพนักงานและรูปแบบสาขาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยในช่วงแรกจะให้พนักงานฝึกการเป็นนักขายซ้อมขายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของธนาคาร เมื่อมีความคล่องตัวก็จะนำผลิตภัณฑ์อื่นๆ เข้ามาเสริม เป็นลักษณะขายข้ามผลิตภัณฑ์ ซึ่งรูปแบบของสาขาจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆกันภายใน 3 ปี จะเป็นรูปธรรมชัดเจน
นายอภิศักดิ์ ยอมรับว่า ขณะนี้สินค้าของธนาคารยังมีไม่ครบ รวมทั้งถือว่ายังไม่ใช่กับความต้องการของลูกค้าอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนากันต่อไปในอนาคต โดยในช่วงเริ่มต้นจะต้องสรรหาผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบให้พนักงานได้คุ้นเคยเป็นคนขายแล้วจึงค่อยๆ นำผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีความซับซ้อนเข้ามาขายเพิ่มขึ้น
"เมื่อถึงจุดนั้นแล้วธนาคารจะมีศักยภาพสูงมาก เพราะฐานลูกค้าของธนาคารมีมากที่สุดในระบบ จะมีสินค้าวิ่งเข้ามาให้ธนาคารขายเอง ทั้งหมดนี้จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำได้ในการดำเนินธุรกิจการแข่งขันจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน" นายอภิศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงปลายปีธนาคารจะมีการแยกบัญชีลูกค้าของภาครัฐและเอกชนออกมา เพื่อให้เห็นแนวทางหรือรูปแบบการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และในปีหน้าจึงจะสรรหานำเสนอบริการให้ตรงและครบที่สุด
กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย กล่าวอีกว่า จุดหนึ่งก็ไม่ควรที่จะลืมธนาคารเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ดังนั้นจะต้องให้บริการภาครัฐให้ดีที่สุด แต่จากนี้ธนาคารจะต่อยอดธุรกิจจากความได้เปรียบที่เคยบริการให้กับภาครัฐมารับลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจด้วย โดยขณะนี้ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีชื่อแห่งหนึ่งที่มีความชำนาญมาวางรากฐานให้ โดยจะเสร็จประมาณกลางปีนี้
"ในปีนี้ธนาคารจะหวังรายได้จากค่าธรรมเนียมได้บ้างแต่อาจจะไม่เต็มที่นัก เพราะในปีนี้ธนาคารมีรายได้จากค่าธรรมเนียมน้อยมากประมาณ 10% ดังนั้น ธนาคารขยายเพียงเล็กน้อยก็ถือว่าได้เพิ่มขึ้นแล้ว ประมาณ 20% เพราะฐานรายได้ยังน้อยอยู่ แต่ธนาคารมีเป้าหมายที่มากกว่านั้น โดยประเทศที่พัฒนาแล้วธนาคารพาณิชย์จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียม ประมาณ 50% ซึ่งธนาคารก็หวังว่าจะมีรายได้ตามนั้นอยู่เหมือนกัน" นายอภิศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ดี การดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ธนาคารกรุงไทย ยังยึดถือเป็นนโยบายสำคัญ แต่ทุกอย่างจะต้องผ่านเข้าสู่กระบวนการของธนาคาร เช่น การปล่อยสินเชื่อจะต้องเข้าสู่การควบคุมความเสี่ยงของธนาคารทุกโครงการ หากออกไปนอกกรอบธนาคารก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อ
ในเบื้องต้นธนาคารให้มีการแยกบัญชีออก เช่น การให้บริการสินเชื่อของหน่วยงานรัฐ เช่น สินเชื่อเพื่อฌาปนกิจ สินเชื่อของกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาเป็นหนี้เสียน้อยมาก เพราะมีการกำหนดที่ชัดเจน คุณสมบัติอย่างไรที่จะสามารถเข้ากรอบสินเชื่อได้
"สิ่งสำคัญอยู่ที่ธนาคารเมื่อรับโครงการจากรัฐบาลมาแล้ว ก็นำมาปรับโครงสร้างเพื่อให้สอดคล้องและเข้าอยู่ในกรอบของการควบคุมความเสี่ยงของธนาคาร" นายอภิศักดิ์ กล่าว
โดยภาพรวมขณะนี้ กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ยืนยันว่า ธนาคารมีสำรองเพียงพอแล้ว แต่เพื่อความไม่ประมาทได้มีการตั้งสำรองไว้ในปีที่ผ่านมาเพิ่มอีก 3,000 ล้านบาท และในปีนี้ธนาคารมีนโยบายการตั้งสำรองไว้เดือนละ 300 ล้านบาท โดยจะพยายามทำให้สำรองส่วนเกินสูงระดับ 2% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด
|
|
|
|
|