Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กุมภาพันธ์ 2548
"ธปท." แจงทุนสำรองสูงรองรับการลงทุนอนาคต             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




"หม่อมอุ๋ย" ระบุไม่จำเป็นต้องนำเงินทุนสำรองมาใช้อย่างน้อยอีก 3 ปี เผยปัจจุบันมีอยู่ที่ 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเศรษฐกิจ ของไทยยังมีเสถียรภาพ และพร้อมรองรับการลงทุนที่จะเกิดในอนาคตได้ ด้านศุภวุฒิ สายเชื้อ ชี้อีก 4 ปีข้างหน้า รัฐต้องใช้เงินดอลลาร์มากในการนำเข้าสินค้าทุน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย ถึงกรณีที่นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษา
ด้านนโยบายนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ควรอยู่ในระดับ 3.2 หมื่นล้านดอลลาล์สหรัฐ จึงจะเหมาะสม ว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลอยู่ และจะเกินดุลอย่างต่อเนื่องไปอีก 3 ปี

ทั้งนี้ เมื่อถึงเวลาที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลและประเทศไทยมีความจำเป็นต้องลงทุน โดยการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิตจากต่างประเทศ ภาครัฐและเอกชนจึงค่อยนำเงินบาทมาแลกเงินดอลลาร์จากทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องไปกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามา เพราะทุนสำรองของไทยมีอยู่สูง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากทำให้หนี้ต่างประเทศไม่เพิ่มขึ้น และค่าเงินบาทไม่ผันผวน

อย่างไรก็ตาม ธปท.จะพิจารณาไม่ให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงเป็นสัดส่วนต่ำกว่า 2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น จากระดับปัจจุบันที่ทุนสำรองสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 4 เท่า โดยทุนสำรองทางการระหว่างประเทศในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ในขณะที่หนี้ต่างประเทศระยะสั้นมีอยู่ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าเศรษฐกิจของไทยมีเสถียรภาพ และมีความแข็งแรงอยู่มาก

ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวต่อว่าในระยะเวลาอีก 3 ปี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลก็เชื่อว่าการสะสมทุนสำรองของไทยก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อมีเงินดอลลาร์เข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ธปท.ก็จำเป็นต้องดูดซับเงินดอลลาร์ดังกล่าวบางส่วนเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไป และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ ที่มีความจำเป็นในอนาคต รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน เช่น การสร้างโครงการไฟฟ้า และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

ทั้งนี้ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจุบันใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับใกล้เต็มกำลังการแล้ว และหากเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดี โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม และเชื่อว่าในขณะนี้ หากรัฐต้องการระดมทุนก็สามารถออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อขายให้แก่ประชาชนได้ เพราะยังมีความต้องการอยู่เป็นจำนวนมาก โดยไม่จำเป็นจะต้องมาขายให้ ธปท. เพื่อดึงทุนสำรองออกไปใช้

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของธปท.ว่า ต้องการใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของเงินบาทมากน้อยเพียงใด ซึ่งหาก ธปท.ให้ความสำคัญกับการดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทมาก ก็อาจจะต้องใช้เงินสำรองระหว่างประเทศไปดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เงินสำรองลดลงได้ เพราะระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ความจำเป็นที่จะใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศในการแทรกแซงค่าเงินบาทมีน้อยลง เพราะเงินบาทจะเคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในอีก 4 ปีข้างหน้า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินดอลลาร์สหรัฐจำนวนมาก เพราะต้องการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจจะใช้เงินออมในประเทศที่มีมากกว่า 300,000 ล้านบาทมาใช้ บวกกับการกระตุ้นให้มีการส่งออกมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเล็กน้อยคือ ประมาณร้อยละ 2-3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ก็ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us