Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กุมภาพันธ์ 2548
เอไอเอสวางหมากช่องทางขายปี48งัดกลยุทธ์อินติเกรชันแอนด์บริดจิ้ง             
 


   
www resources

AIS Homepage

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
Mobile Phone




เอไอเอสเปิดยุทธศาสตร์ด้านช่องทางขายปี 48 ชูคอนเซ็ปต์ "Invincible รวมพลังคนมือหนึ่ง" ด้วยกลยุทธ์ ชันเนล อินติเกรชัน แอนด์ บริดจิ้ง พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย และขยายขุมกำลังให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งในรูปแบบเทเลคอมและนอน เทเลคอมกว่า 7 หมื่นแห่งทั่วประเทศ หวังดันรายได้รอบปีนี้สูงถึง 8 หมื่นล้านบาท

นายตุลย์ สมสมาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารช่องทางการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายว่า ปีนี้เอไอเอสได้นำแนวคิด Invincible รวมพลังคนมือหนึ่งมาใช้ เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยกลยุทธ์ Channel Integration & Bridging

Channel Integration เป็นเรื่องของการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้เอไอเอสและช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องและประสบผลสำเร็จทางธุรกิจร่วมกัน เพื่อนำเสนอรูปแบบสินค้าและบริการที่หลากหลาย ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม

Channel Bridging เป็นการบริหารความเชื่อมโยงทางการตลาดร่วมกันระหว่างเอไอเอสและช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งร้านเทเลวิซ และ ดีลเลอร์ โดยเอไอเอสได้พัฒนาระบบงานบริการเพื่อให้ช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถนำเสนอบริการต่างๆ เช่น โมบายไลฟ์ให้แก่ผู้ใช้ได้สะดวกมากขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ดังกล่าว เอไอเอสได้วางแนวทางในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายไว้ 5 แนวทางคือ 1.สนับสนุนให้ช่องทางการจัดจำหน่ายนำเสนอบริการเสริมใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยช่องทางการจัดจำหน่ายจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการแนะนำบริการเสริมที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ซึ่งทางเอไอเอสจะมีการฝึกอบรมให้กับพนักงานของตัวแทนจำหน่ายเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับบริการเสริมต่างๆ อย่างแท้จริง

2.เน้นให้ช่องทางการจัดจำหน่าย ดูแลลูกค้าและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้ใช้บริการ โดยมีการนำซีอาร์เอ็มเข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ เช่น การจัดโปรโมชันเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการแบบเฉพาะเจาะจง และสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์เฉพาะกลุ่ม หรือการทำให้พนักงานร้านเทเลวิซและตัวแทนจำหน่ายมีจิตใจในการให้บริการ

3. สนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่ของช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เช่น เพิ่มสาขาร้านเทเลวิซ

4. ปรับโฉมร้านเทเลวิซและจัดทำ AIS Brand Corner ให้ดีลเลอร์ เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการในการจดจำรูปลักษณ์ และสัญลักษณ์ของร้านค้าได้ง่าย

5. พัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจให้กับคู่ค้า ทั้งงานขายและงานบริการ เพื่อให้ช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถมอบบริการที่ตรงใจที่สุดให้กับผู้ใช้บริการ

"เราจะขายผ่านคู่ค้าให้มากที่สุด เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น แต่จะไม่เล่นเรื่องของสงครามราคา แต่จะเน้นประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยเรา คุยกับคู่ค้าว่าจะใช้ราคาที่ทำให้คู่ค้ามีรายได้จำนวนมาตรฐานเพื่อให้ธุรกิจรันต่อไปได้"

จากยุทธศาสตร์ที่เอไอเอสวางไว้ จะมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น ทั้งที่เป็นร้านในรูปแบบเทเลคอมและนอนเทเลคอม จากที่มีอยู่ปัจจุบันประมาณ 7 หมื่นร้าน โดยเป็นร้านที่เป็นแฟรนไชส์ ดีลเลอร์ ซับดีลเลอร์ รวมถึงดิสทริบิวเตอร์ประมาณ 1 หมื่นราย และที่เป็นนอน เทเลคอมอีก 6 หมื่นราย เมื่อรวมกันแล้วเอไอเอสยืนยันว่ามีเครือข่ายที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายมากกว่ากลุ่มสหพัฒน์, พีแอนด์จี หรือยูนิลีเวอร์

แต่สิ่งที่เอไอเอสจะเร่งขยายเพื่อให้ลงลึกถึงระดับตำบลคือเทเลวิซ เอ็กซ์เพรส ที่ขณะนี้มีประมาณ 200 สาขา โดยปีนี้จะทำให้มีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 1,500 แห่ง และเป็น 3,000 แห่งในปี 2549 ซึ่งการขยายเครือข่ายตรงนี้จะเจาะเข้าไปในส่วนที่เป็นแหล่งชุมชน มีสถาบันการศึกษา หรือเป็นเส้นทางเดินรถที่แน่นอนและเป็นประจำ เป็นต้น

"เราจะขยายสาขาของเราเข้าไปในทุกที่ที่เครือข่ายเข้าถึง ซึ่งจะทำให้ร้านค้าของเรามีไม่น้อยกว่าร้านสะดวกซื้อหรือคอนวีเนียนสโตร์"

ด้านการลงทุนผู้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนขายจากเอไอเอสจะลงทุนเอง อย่างเทเลวิซ เอ็กซ์เพรสจะลงทุนประมาณตร.ม.ละ 1 หมื่นบาท และค่าคอมพิวเตอร์อีกบางส่วน ซึ่งรวมแล้วประมาณ 5 หมื่นบาท ก็สามารถทำธุรกิจได้ ส่วนค่าแฟรนไชส์เอไอเอสจะเก็บประมาณ 5,000-10,000 บาท ซึ่งจะเห็นว่าไม่สูงมากหากเทียบกับแฟรนไชส์อื่นๆ

แต่สิ่งที่เอไอเอสมุ่งหวังมากคือการที่คู่ค้าเหล่านี้สามารถรักษาฐานลูกค้าให้อยู่กับระบบได้นาน และเพิ่มยอดขายใหม่ ซึ่งจะทำให้มีรายได้จากส่วนแบ่งรายได้ที่เอไอเอสแบ่งให้ตามเงื่อนไขสัญญา โดยผู้บริหารเอไอเอสยืนยันว่าร้านเหล่านี้จะสามารถคืนทุนได้ภายใน 22-24 เดือน

ส่วนการลงทุนของเอไอเอสคาดว่าจะใช้ประมาณจุดละ 5 หมื่นบาท เรื่องหลักเป็นการลากสายลีสไลน์เข้าไปตามจุดที่คู่ค้าให้บริการ โดยรอบปีนี้คาดว่าจะใช้งบลงทุนในจุดนี้ประมาณ 27 ล้านบาท

ปัจจุบันเอไอเอสมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 60% เป็นส่วนแบ่งรายได้ 66% คิดเป็นมูลค่าที่ได้จากขายผ่านคู่ค้ากว่า 7 หมื่นล้านบาท ส่วนปีนี้เอไอเอสตั้งเป้าไว้ว่าจะโตอีกประมาณ 15% หรือมีมูลค่าประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ทำรายได้ให้กับเอไอเอส ประมาณ 40-50%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us