Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 กุมภาพันธ์ 2548
"พลัส"ฟุ้งปี 47 ปิดการขาย 1600 ยูนิต แนวโน้มเอกชนหันใช้ตัวแทนขายเพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์

   
search resources

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์, บจก.
Real Estate




"พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์" ฟุ้งฐานข้อมูลแน่น พร้อมกลยุทธ์การศึกษาข้อมูลโครงการวางแผนการขาย ส่งผลยอดขายปี 47 กว่า 1,600 ยูนิต มูลค่ารวม 7,500 ล้านบาท คาดคอนโดฯชะลอตัวกระแสทาวน์เฮาส์เข้าแทนที่ ระบุแนวโน้มผู้ประกอบการหันใช้บริการตัวแทนขายเพิ่ม

นายยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์ จำกัด บริษัทผู้นำด้านบริหารการขายโครงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจตลาดรวมการขายอสังหาฯของไทยในปี 47 พบว่า ยังมีการเติบโตในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีที่ผ่านมา คอนโดมิเนียมถือเป็นประเภทสินทรัพย์ที่สามารถขายได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเทียบกับอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ

ทั้งนี้ข้อมูลจากฝ่ายวิจัยของแสนสิริพบว่า ในช่วงปี 2546 ถึงครึ่งปีแรกปี 2547 คอนโดมิเนียมใจกลางเมืองปิดการขายโครงการได้ในระยะเวลาอันสั้น และเริ่มมีการชะลอตัวในช่วงในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2547 โดยในช่วงดังกล่าวมีจำนวนห้องชุดสร้างเสร็จในตลาดประมาณ 86,619 ยูนิต มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 3% จากปี 2546 และเชื่อว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า จะมีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 102,109 ยูนิต ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องหันมากำหนดกลยุทธ์ด้านการขายอย่างจริงจังมากขึ้น

ซึ่งนอกเหนือจากคุณภาพของโครงการ ทำเล และราคาแล้ว หลายบริษัทยังหันมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่โครงการเพื่อดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียมเริ่มชะลอตัว แต่ตลาดทาวน์เฮาส์เริ่มเข้าแทนที

สำหรับอสังหาริมทรัพย์ในปี 48 นายยงยุทธ์ กล่าวว่า เชื่อว่าจะมีผู้ที่หันมาใช้บริการบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการขายเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่มีที่ดิน มีทุน และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพออกขายสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดทักษะการทำตลาดและการขาย หากบริหารอย่างถูกต้องและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้ และจะสามารถปิดการขายโครงการได้ตามเป้าหรืออาจจะเร็วกว่านั้น

"นอกจากพลัสจะขายโครงการที่พัฒนาเองแล้ว ยังรับเป็นตัวแทนขายให้แก่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ซึ่งทำให้เรารู้ลึกถึงโครงสร้างตลาดในทุกระดับ และนำทักษะในการขายโครงการแต่ละอย่างมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ส่งผลให้ในปี 2547 บริษัทสามารถปิดการขายได้กว่า 1,600 ยูนิต หรือคิดเป็นมูลค่ารวม 7,500 ล้านบาท และจากการวิเคราะห์แนวโน้มตลาดพบว่าในปี 48 ตลาดทาวน์เฮาส์จะเริ่มเป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย บริษัทได้เริ่มวางแผนในการขายที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการซื้อทาวน์เฮ้าส์ โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาบริษัทได้เปิดขายโครงการ พลัส ซิตี้ พาร์ค เกษตร-นวมินทร์ ขณะนี้ความคืบหน้าด้านยอดขายโครงการไปได้กว่า 70% ส่งผลให้บริษัทขยับเวลาการเปิดตัวเฟส 2 เร็วขึ้นกว่ากำหนด 2 เดือน" นายยงยุทธ กล่าว

ปัจจุบัน พลัส ทำการบริหารการขายโครงการกว่า 28 โครงการ แบ่งเป็นประเภทบ้านเดี่ยว 6โครงการรวม 1,112 ยูนิต โครงการคอนโดมิเนียม 16 โครงการ รวม 2,056 ยูนิต โครงการทาวน์เฮ้าส์ 6 โครงการ รวม 731 ยูนิต โดยคาดว่าปีนี้ได้โครงการบริหารเพิ่มอีกกว่า 21 โครงการ ซึ่งจะทำให้พลัสมีโครงการบริหารทั้งหมด 104 โครงการ หรือคิดเป็นพื้นที่รวม 3.3 ล้านตร.ม.

"พลัส ไม่เคยกังวลเรื่องการขายโครงการไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านเดี่ยว,ทาวน์เฮ้าส์หรือคอนโดมิเนียม เพราะเรามีระบบฐานข้อมูลลูกค้าที่มีศักยภาพและทันสมัยอยู่เสมอ ประกอบกับคุณภาพของทีมงาน และปรัชญาในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างชุมชนที่มีคุณภาพพร้อมทั้งมีบริการด้านบริหารโครงการเพื่อเพิ่มมูลค่าโครงการในอนาคต โดยกลยุทธ์ที่ต้องศึกษาข้อมูลโครงการ ข้อมูลกลุ่มลูกค้า วางแผนการขาย และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเข้าไปให้คำปรึกษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อให้ที่ดินของลูกค้าได้รับการวิเคราะห์ในการสร้างสรรค์เป็นโครงการทีเหมาะสมทั้งด้านกลุ่มเป้าหมาย ระดับราคา และจุดขายต่างๆ แต่ในกรณีที่ลูกค้าได้พัฒนาโครงการไปแล้วนั้น ต้องนำโครงการดังกล่าวมาวิเคราะห์ หากไม่เหมาะกับความต้องการของตลาดในปัจจุบันก็ต้องปรับ หากลูกค้ามีมุมมองที่แตกต่างหรือมีแนวทางในการบริหารการขายที่ต่างกัน เราคงต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้งว่าจะสามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่อย่างไร" นายยงยุทธกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us