Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
รวมศรีนคร-นครหลวงไทย เพื่อขยาย-ขายธุรกิจ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ธนาคารศรีนคร




ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นมา ชื่อของธนาคารศรีนคร ได้หายไปจากสารบบของธนาคารพาณิชย์ไทย จากการตัดสินใจของทางการ โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยุบไปรวมกับธนาคารนครหลวงไทย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของระบบธนาคารพาณิชย์ให้เสร็จสิ้นลงไป เพราะตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤติทางการเงินเมื่อเกือบ 5 ปีก่อน ในระบบธนาคารพาณิชย์ ยังเหลืออยู่อีกเพียง 2 แห่งคือ ศรีนคร และนครหลวงไทยเท่านั้น ที่ยังมีปัญหาอยู่

ปฏิบัติการยุบรวมธนาคารพาณิชย์ทั้ง 2 แห่ง กระทำอย่างรวบรัด และรวดเร็ว เพราะเพียงการแถลงข่าวของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าแบงก์ชาติ ในช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ถัดมาอีก 2 วัน ทรัพย์สิน และบุคลากรของธนาคารศรีนคร ก็ถูกเปลี่ยนมือ ให้เป็นของธนาคารนครหลวงไทย โดยทันที

รูปแบบการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ โดยการยุบรวมธนาคารที่มีปัญหา ไปรวมกับธนาคารที่มีฐานะดีกว่า ดูเหมือนจะเป็นสูตรสำเร็จของทางการไทย เพราะตั้งแต่ระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มประสบกับปัญหาครั้งแรกๆ เมื่อหลายสิบปีก่อน ก็ได้ใช้รูปแบบนี้มาตลอดเป็นส่วนใหญ่

มีการยุบธนาคารมณฑล ไปรวมกับธนาคารเกษตร ก่อนที่จะมาเป็นธนาคารกรุงไทย

เมื่อธนาคารเอเซียทรัสต์มีปัญหาถูกทางการยึดมาเป็นธนาคารสยาม หลังดำเนินกิจการมาได้ไม่นาน ก็ถูกสั่งยุบให้ไปรวมกับธนาคารกรุงไทย ที่มีฐานะดีกว่า

หลังวิกฤติการเงินปี 2540 มีการยุบรวมสถาบันการเงินหลายแห่ง เช่น ธนาคารมหานคร ถูกยุบรวมไปอยู่กับธนาคารกรุงไทย ธนาคารสหธนาคาร ยุบรวมกับบริษัทเงินทุน 4-5 แห่ง เป็นธนาคารไทยธนาคาร และธนาคารแหลมทอง ยุบไปรวมกับธนาคารรัตนสิน

เป็นหลักการเดียวกัน แต่อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด และกระบวนการทางบัญชี

สำหรับกรณีของธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารศรีนครนั้น ก่อนจะถึงกระบวนการยุบรวมในครั้งนี้ทางการพยายามหาทางแก้ปัญหาแล้วหลายวิธี ทั้งการเร่ขาย ซึ่งก็เคยมีผู้ลงทุนให้ความสนใจ โดยเฉพาะธนาคารศรีนคร เคยมีการตกลงเบื้องต้นกับธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แล้ว แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถเจรจาในข้อสรุปได้

กระบวนการแก้ปัญหาล่าสุด คือการให้ธนาคารทั้ง 2 แห่ง โอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปไว้ยังบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี ทำให้ขนาดของธนาคารทั้ง 2 แห่งเป็นธนาคารที่มีแต่สินทรัพย์ดี แต่ลดขนาดลงมาเหลือสินทรัพย์เพียงแห่งละประมาณ 60,000 ล้านบาท ก่อนที่เปิดทางให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาถือหุ้นใหญ่ แห่งละ 51% แต่ถึงที่สุด ทางการก็ไม่สามารถให้ความมั่นใจถึงการรับประกันความเสียหายในภายหลังให้กับ กบข.ได้ การตกลงเข้าถือหุ้นใหญ่ของ กบข.ครั้งนี้จึงไม่ประสบผลสำเร็จ

การตัดสินใจยุบรวมธนาคารทั้ง 2 แห่ง จึงจำเป็นต้องทำก่อนวันที่ 30 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่เอ็มโอยูที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 ธนาคาร กับ กบข.จะหมดอายุลง

สำหรับกระบวนการยุบรวม ธนาคารศรีนคร กับธนาคารนครหลวงไทยในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนแรกวันที่ 1 เมษายน ธนาคารศรีนครจะโอนสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันทั้งหมด ในราคาตามบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม ให้ธนาคารนครหลวงไทย รวมทั้งเปลี่ยนสาขาและสำนักงานทั้งหมด เป็นสาขาและสำนักงานธนาคารนครหลวงไทย พนักงานทั้งหมดของธนาคารศรีนครจะรวมเป็นพนักงานธนาคารนครหลวงไทย และปฏิบัติงานทุกอย่างตามปกติ ณ สาขา หรือสำนักงานเดิม แต่ใช้ชื่อพนักงานธนาคารนครหลวงไทย และ ปฏิบัติทุกอย่างตามปกติ ณ สาขาหรือสำนักงานเดิม แต่ใช้ชื่อธนาคารนครหลวงไทยในการดำเนินธุรกิจ

ขั้นตอนที่สอง เป็นการดำเนินการเชื่อมโยงหรือรวมระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ของธนาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน เช่น ระบบโอนเงิน ระบบชำระเงิน ระบบบัตรเครดิต และระบบบัญชีหรือข้อมูล จนสามารถทยอยรวมกันเป็นระบบธนาคารเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งคาดว่ากระบวนการนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี

ขั้นตอนที่สาม เป็นการปรับปรุงนโยบายและกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งปรับปรุงภาพลักษณ์ใหม่ของธนาคาร ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถเตรียมการควบคู่ไปได้ทันทีในขณะนี้ เพื่อให้พร้อมที่จะปฏิบัติได้ทันทีเมื่อรวมระบบต่างๆ

ภายหลังการยุบธนาคารศรีนครไปรวมกับธนาคารนคร หลวงไทยแล้ว จะทำให้ธนาคารนครหลวงไทยใหม่เป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อันดับที่ 5 ของประเทศ โดยมีขนาดสินทรัพย์ รวม 489,300 ล้านบาท เงินกองทุน รวม 22,900 ล้านบาท (เป็น ของธนาคารศรีนคร 9,800 ล้านบาท และนครหลวงไทย 13,100 ล้านบาท) เงินฝาก 4.36 แสนล้านบาท สินเชื่อ ก่อนหักสำรอง 1.34 แสนล้าน หลังหักสำรอง 1.2 แสนล้านบาท เงินกองทุนต่อสินทรัพย์ตามมาตรฐานบีไอเอส 16.21%

โดยมูลค่าตามบัญชีของธนาคารทั้งสอง ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2545 ธนาคารนครหลวงไทย 17 บาทเศษ ธนาคารศรีนคร 10.80 บาท

จำนวนพนักงานของธนาคารนครหลวงไทยใหม่จะมีทั้งสิ้น 7,500 คน เป็นของธนาคารนครหลวงไทยเดิม 4,000 คน และธนาคารศรีนคร 3,500 คน

"การยุบรวมทั้ง 2 ธนาคารครั้งนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรได้ให้เหตุผลกับที่ประชุมผู้จัดการธนาคารศรีนคร เพื่อลดกระแสกดดันที่ว่าอาจต้องมีการปรับลดพนักงานลงในภายหลัง เพราะจำนวนพนักงานที่มีการประเมินไว้ ควรมีเพียง 5,000 คน

การขยายธุรกิจตามมุมมองของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร คือเพื่อให้ธนาคารมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น โอกาสการปล่อยสินเชื่อเพื่อแข่งขันกับธนาคารที่ใหญ่กว่าสามารถทำได้โดยง่าย เพราะหากปล่อยให้ทั้ง 2 ธนาคารทำธุรกิจต่อไป โดยมีฐานธุรกิจขนาดเล็ก ย่อมเป็นการเสียเปรียบกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ซึ่งเป็นคู่แข่ง

อย่างไรก็ตาม มีการประเมินตามมาภายหลังว่านอกจากการเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจแล้ว การยุบรวมธนาคารศรีนคร กับธนาคารนครหลวงไทยเข้าด้วยกัน ยังมีผลให้อำนาจการต่อรองของทางการ ในการที่จะขายกิจการของธนาคารนครหลวงไทยใหม่ มีมากขึ้น โดยเฉพาะการต่อรองทางด้านราคา เพราะการขายธนาคารขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียว น่าจะได้ราคาดีกว่าการซอยย่อยขายธนาคารขนาดเล็ก 2 แห่ง ซึ่งทางการเคยมีประสบการณ์มาแล้วจากการถูกกดราคาอย่างมากในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้

มีการคาดการณ์ว่ากระบวนการยุบรวมทั้ง 2 ธนาคารเข้าด้วยกัน จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น สภาพเศรษฐกิจ และบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยน่าจะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน สิ่งที่ทางการตัดสินใจทำครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการลดกระแสกดดันจากพนักงาน และกระแสการเมืองแล้ว ยังเป็นการตัดสินใจที่เล็งผลทางธุรกิจเข้าไปด้วย

คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งจะมองเห็นช่องทางเช่นนี้ ถ้าไม่ใช่คนที่เคยมีพื้นฐานมาจากการเป็นนักธุรกิจแล้ว คงมองไม่เห็น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us