Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 กุมภาพันธ์ 2548
MFCโรดโชว์ตะวันออกกลาง ดึงลงทุนเมกะโปรเจกต์             
 


   
www resources

โฮมเพจ บลจ. เอ็มเอฟซี

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
Funds




MFC เดินสายโรดโชว์ "บาห์เรน" หวังดึงกลุ่มทุน "ตะวันออกกลาง" ร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า และเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลที่จะมีขึ้นในช่วง 4-6 ปีข้างหน้า เผยรูปแบบการลงทุน มีทั้งการเข้ามาร่วมทุนการทำ "ซีเคียวริไทเซชัน" ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะรัฐบาลส่งเสริมการออม หลังรัฐบาลมีนโยบายลงทุนโครงการสาธารณูปโภคเฉลี่ยกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) "MFC" และกรรมการคณะทำงานระดมทุนโครงการรถไฟฟ้า เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 5-9 ก.พ.ที่ผ่านมา บลจ.เอ็มเอฟซีในฐานะผู้บริหารกองทุนเปิด เอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ (MFC Islamic Fund หรือ MIF) จะเดินทางไปนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ให้กับนักลงทุนที่ประเทศบาห์เรน ได้รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน และชักชวนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนผ่านกองทุน MIF

ทั้งนี้ กองทุน MIF เป็นกองทุนเปิด โดยมีมูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินสุทธิเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มี 343.51 ล้านบาท มูลค่าหน่วยลงทุน 10.1984 บาท ราคาขาย 10.1985 บาท

กองทุน FIF จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและสถาบันการเงิน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กองทุนประกันสังคม และธนาคารทหารไทย จำกัด เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา และอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการศาสนา (Shariah Committee) โดยเปิดขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2547

"การเดินทางไปบาห์เรนครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการชักชวนนักลงทุน ในตะวันออกกลางเข้ามาลงทุนในกองทุนอิสลามิกฟันด์ และรวมถึงลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของรัฐบาล ที่จำเป็นต้องมีเงินตราต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนผ่านการร่วมลงทุน หรือการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชัน)" นายพิชิตกล่าว

นายพิชิตกล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนของภาครัฐในช่วง 4-6 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่าสูง ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องระดมเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุน โดยเฉพาะในส่วนของโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่ง ระบบการจัดการน้ำ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ในช่วงก่อนหน้าคณะทำงานระดมทุนโครงการรถไฟฟ้าวงเงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งมีนายพรชัย นุชสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะทำงาน ได้มีการจัดประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าในประเทศกลุ่มอาหรับ 57 ประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกลุ่มนักลงทุนอาหรับมีความสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุน

"การไปโรดโชว์ครั้งนี้ นักลงทุนจะเห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับการลงทุนในเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาล เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน"

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้คณะทำงานระดมทุนโครงการรถไฟฟ้าวงเงิน 5 แสนล้านบาท ได้สรุปผลการศึกษาแนวทางการระดมทุนในเบื้องต้น ประกอบการทำซีเคียวริไทเซชัน การหารายได้จากการพัฒนาพื้นที่บริเวณโครงการการหาผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศ

โดยคาดว่า หลังจากการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว จะมีการเสนอแนวทางระดมทุนให้รัฐบาลพิจารณา โดยจะเสนอให้มีการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ) จัดตั้งองค์การขึ้นมาระดมทุนโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งจะอยู่ในรูปขององค์การมหาชน แต่รัฐบาลจะไม่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งสาเหตุที่ต้องออกเป็น พ.ร.ฎ. เนื่องจากการตั้งองค์การดังกล่าวมีความจำเป็นเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการออก พ.ร.ฎ.ไปแล้วระยะหนึ่งจะมีการเสนอพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เพื่อทำให้องค์การเป็นองค์การที่มีหน้าที่ระดมทุนอย่างถาวร

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า การลงทุนของภาคเอกชนไทยที่ยังมีแนวโน้มขยายตัว ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตเป็นผลจากการปรับเพิ่มของอัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ภาครัฐก็มีแผนการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) โดยมูลค่า การลงทุนเฉลี่ยของโครงการต่างๆ ดังกล่าวระหว่าง ปี 2548-2551 อาจจะสูงถึงปีละ 377,000 ล้านบาท โดยปี 2548 คาดว่าการลงทุนจะยังคงเป็นแรงหนุนหลักให้เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการส่งออกและการบริโภคจะชะลอตัวลงก็ตาม ซึ่งหากการขยายตัวของการลงทุนของภาครัฐและเอกชนเป็นไปอย่างที่คาด จะมีผลให้สัดส่วนของการลงทุนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อาจจะเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 28.3% ในปี 2548 และอาจขึ้นแตะระดับ 30.4% ต่อจีดีพีในปี 2549 ในขณะที่สัดส่วนการออมต่อจีดีพีค่อนข้างจะทรงตัวใกล้เคียงระดับ 31% ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่าในอนาคตการออมคงจะลดลงมาต่ำกว่าการลงทุน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยให้ความเห็นว่า แนวทางการแก้ปัญหาการลดลงของช่องว่างการออมและการลงทุน ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการออมมากขึ้นทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยในปีนี้ น่าที่จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีการออมเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวผ่านการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเงินได้ที่เป็นดอกเบี้ย เงินฝากธนาคารในประเทศประเภทเงินฝากประจำตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี ในจำนวนรวมกันไม่เกิน 30,000 บาทตลอดปีภาษี

ตลอดจนแนวคิดที่จะจัดตั้งกองทุนเงินออมกลางคาดว่าจะช่วยเพิ่มการออมของระบบเศรษฐกิจให้สามารถรองรับการลงทุนที่มีแนวโน้มขยายตัวในระยะข้างหน้าได้ แต่การเพิ่มอัตราการออมของระบบเศรษฐกิจไทยยังเป็นปัญหาเร่งด่วนในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า ที่ต้องเร่งจัดการ เพราะหากปล่อยไว้เนิ่นนานแล้วก็อาจจะสะสมจนกลายเป็นปัญหาเสถียรภาพอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us