|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติยืนยันกองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมขายหุ้นธนาคารยูโอบีรัตนสิน ที่ถืออยู่ทั้งหมด 16% ให้กลุ่มยูโอบี สิงคโปร์ แต่ต้องมีกำไรจากการขายหุ้น และไม่มีปัญหาในกรณีที่จะยุบยูโอบีรัตนสิน หลังจากรวมกิจการกับแบงก์เอเชีย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ธนาคารยูโอบี สิงคโปร์ แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ว่าจะเพิกถอนกิจการธนาคารยูโอบี รัตนสิน จำกัด (มหาชน) หรือ UOBR หลังจากโอนกิจการรวมกับธนาคารเอเชีย จำกัด (BOA) ว่า ในฐานะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เป็นผู้ถือหุ้นในธนาคาร ยูโอบีรัตนสิน คงจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ หากทางธนาคารยูโอบี สิงคโปร์ เข้ามาเจรจาขอซื้อหุ้นทั้งหมดจากกองทุนฟื้นฟูฯ ทุกอย่างเป็นอันเสร็จเรียบร้อย แต่การที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะพิจารณาขายหุ้นออกไปนั้นก็ต่อเมื่อมีกำไรเท่านั้น
"ไม่มีปัญหาอะไร ธนาคารทั้ง 2 แห่ง ก็แจ้งแล้วว่าจะควบกิจการกัน ดังนั้นก็แค่มาขอซื้อหุ้นทั้งหมดคืนจากกองทุนฟื้นฟูฯ เท่านั้น ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ จะขายหุ้นในช่วงที่มีกำไร ถ้ายังไม่ได้กำไร ก็ไม่ขาย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ธนาคารยูโอบี รัตนสิน (UOBR) ได้ควบรวมกิจการกับธนาคาร เอเชีย (บีโอเอ) ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยธนาคารยูโอบี สิงคโปร์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ส่วนกองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นอยู่ในธนาคาร ยูโอบีรัตนสินประมาณ 16% จากการเข้าไปช่วยเหลือทางการเงินมาตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทั้งนี้ ล่าสุดทางธนาคารยูโอบีสิงคโปร์ ยังไม่ได้มีการติดต่อเข้ามายัง ธปท. เพื่อขอเจรจาซื้อหุ้นแต่อย่างใด
ในส่วนของการดำเนินงาน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ไปร่วมประชุมกับธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ของเอเชียมา ซึ่งกลุ่มประเทศในเอเชียได้มีการหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางด้านการเงินร่วมกัน แต่ภายหลังการประชุมยังไม่ได้มีข้อตกลงที่จะปฏิบัติร่วมกันอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นการหารือในเบื้องต้นเท่านั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาคณะกรรมการธนาคารทั้ง 2 แห่งได้อนุมัติแผน การรวมกิจการฉบับสุดท้าย โดยมีโครงสร้างการ รวมกิจการแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม - กรกฎาคม 2548
ขั้นตอนที่ 1 UOB เข้าซื้อหุ้นของ UOBR จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ประมาณ 83.77% ส่วนที่เหลือถือโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) 16.22% และรายย่อยประมาณ 1,100 ราย 0.01% ซึ่ง UOB เสนอ ที่จะทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ซึ่ง UOBR จะทำการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
ขั้นตอนที่ 2 หลังจากการเพิกถอนหุ้น UOBR แล้ว BoA จะเสนอซื้อหุ้น UOBR ทั้งหมดที่ถือโดย UOB การซื้อหุ้นดังกล่าว BoA จะทำการเพิ่มทุนจดทะเบียนและออกหุ้นใหม่ให้กับ UOB เพื่อเป็นค่าตอบแทน โดยเป็นการเสนอ ขายหุ้นแบบ Private Placement ซึ่งอัตราส่วน การแลกหุ้นจะได้มีการกำหนดต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2 แล้ว BoA จะถือหุ้น UOBR เป็นจำนวนมากกว่า 99.99% ทำให้ UOBR กลายเป็น บริษัทย่อยของ BoA และ UOBR จะเสนอให้ทำการโอนกิจการ ทรัพย์สิน และพนักงานทั้งหมด ให้ BoA เพื่อตอบแทนการที่ BoA จะเข้ารับหนี้สิน/ความรับผิดชอบทั้งหมดของ UOBR โดยคาด ว่าวันที่มีผลเป็นการโอนธุรกิจจะเป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2548 และ BOA จะสามารถ เริ่มประกอบธุรกิจที่ได้รวมกันได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป
ขั้นตอนสุดท้าย ดำเนินการชำระบัญชี UOBR โดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่เหลืออยู่ใน UOBR นอกเหนือไปจาก BoA จะได้รับเงินคืนทุนและส่วนเกินทุน ตามสัดส่วนจากการดำเนินการเลิกกิจการ และการชำระบัญชี
|
|
|
|
|