อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย กำลังได้รับการคาดหมายกันว่าจะเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ
ที่กำลังจะกลับมาสู่ความเฟื่องฟูอีกครั้ง เหมือนในยุคก่อนฟองสบู่แตกเมื่อปี
2540 ยอดขายรถยนต์รวม
เคยทำตัวเลขได้สูงสุดที่ 589,000 คัน ในปี 2539 ก่อนที่จะลดลงมาอย่างวูบวาบ
ภายหลังเกิด วิกฤติจากการลอยตัวค่าเงินบาทในปีถัดมา หลังต้องวนเวียนอยู่กับวิกฤติ
และยอดขายที่ลดต่ำลงมาตลอด 4
ปีเต็ม ในปีที่แล้วอุตสาหกรรมรถยนต์ได้เริ่มปรากฏสัญญาณเชิงบวกออกมาให้เห็นได้อย่างเด่นชัด
โดยมี ยอดขายรถยนต์รวม 297,000 คัน เพิ่มขึ้น 13.3% จากปี 2543
และหากเปรียบเทียบกับยอดขายที่เคยทำได้สูงที่สุดในปี 2539 แล้ว ยอดขายรถยนต์ในปี
2544 เริ่มกระเตื้องขึ้น มาเท่ากับ 50.42% หรือครึ่งหนึ่งของยอดขายสูงสุดที่เคยทำได้
"ตัวเลขยอดขายรถปีที่แล้ว
นับว่าเกินจากความคาดหมายของคนในวงการรถยนต์ เพราะเป็นปีที่ภาวะเศรษฐกิจ
ของประเทศไทย กำลังได้รับผลกระทบจากการก่อวินาศกรรม ที่เกิดขึ้นกับตึกเวิลด์เทรด
เซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกา"
คนในวงการรถบอก สัญญาณบวกของวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้ถูกตอกย้ำอีกครั้งจากยอดขายรถช่วง
2 เดือนแรกของปีนี้ เพราะทั้งเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ยอดขายรถยนต์ที่ได้มีการสรุปกันออกมา ปรากฏว่าเพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันของปี
2544 ถึง 40% "หลังจากได้ตัวเลขยอดขายรวมปี 2544 ตอนแรกมีการคาดหมายกันว่ายอดขายรถปีนี้
น่าจะได้ประมาณ 3.2 แสนคัน แต่จากตัวเลขที่ปรากฏใน 2 เดือนแรก ซึ่งตลาดโตขึ้นมาถึง
40% หากเอาตัวเลขนี้เป็นฐาน ยอดขายรถปีนี้อาจจะสูงถึงกว่า 4 แสนคัน แต่ผมมองอย่างอนุรักษนิยม
ก็คาดว่าตลาดน่าจะโตได้ประมาณ 30% ก็คือในปีนี้ ยอดขายรถโดยรวมน่าจะได้ประมาณไม่ต่ำกว่า
350,000 คัน" นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์
ประเทศไทย
กล่าว การที่ยอดขายรถ 2 เดือนแรก ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ประกอบกับในปลายเดือนมีนาคม
เป็นช่วงที่จะมีการจัดงานมหกรรมรถยนต์ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์
ครั้งที่ 23
ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มีนาคม- 7 เมษายน ทำให้ตลาดรถยนต์ของไทยในเดือนมีนาคมมีความ
คึกคักอย่างมาก โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ใหญ่ 4 แห่ง ได้มีการเปิดตัวรถยนต์หลายรุ่นในเวลาใกล้เคียงกัน
ทั้งที่เป็นช่วงก่อนถึงกำหนดการจัดงานมอเตอร์โชว์เพียงไม่กี่วัน รถยนต์ค่ายแรกที่เริ่มเปิดตัวก่อน
ได้แก่ ฟอร์ด ซึ่งได้เปิดตัวรถซีดาน 4 ประตูขนาดกลาง ฟอร์ด เลเซอร์ เทียร่า
โฉมใหม่ในช่วงเช้าของวันที่
19 มีนาคม ช่วงบ่ายวันเดียวกัน ค่ายโตโยต้า ก็ได้เปิดตัวโตโยต้า คัมรี่
เวอร์ชั่นใหม่ พร้อมประกาศนโยบายยกระดับรถโตโยต้า คัมรี่ ให้ขึ้นไปแข่งขันในตลาดรถหรูขนาดเล็ก
ซึ่งมีคู่แข่ง อย่าง บีเอ็มดับบลิว
และเบนซ์ ซีคลาส ถัดจากการเปิดตัวฟอร์ด เทียร่า และโตโยต้า คัมรี่ เพียงวันเดียว
บริษัทไทย เพรสทีจ โอโต เซลส์ ของตระกูลจึงสงวนพรสุข เจ้าของพระนครยนตรการ
ก็ได้เปิดตัวรถอัลฟ่า โรมิโอ 156
รถซีดาน 4 ประตู ซึ่งประกอบในประเทศ โดยโรงงานของบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์
ซึ่งเป็นรถที่ถูกวางอันดับ ไว้ในตลาดรถหรูสำหรับคนที่นิยมรถจากอิตาลี หลังจากนั้นอีกเพียง
2 วัน ค่ายบีเอ็มดับเบิลยู
ก็ได้เปิดตัวบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 7 รูปโฉมใหม่ ที่ถูกวางให้เป็นหัวหอกในการเข้ามาแข่งในตลาดรถหรูขนาดใหญ่ในปีนี้
การเปิดตัวรถยนต์ของทั้ง 4 ค่าย จัดว่าฉีกจากแนวปฏิบัติที่เคยทำมา เพราะในอดีต
รถรุ่นใหม่ๆ ของปี ของแต่ละค่าย จะอาศัยจังหวะการเปิดตัวประชันกันภายในงานมอเตอร์
โชว์ ซึ่งเป็นงานที่ได้รับความนิยมจากผู้คนเป็นจำนวนมาก มีการวิเคราะห์กันว่า
การที่ทั้ง 4 ค่าย
ตัดสินใจชิงออกมาเปิดตัวรถรุ่นใหม่ก่อนถึงกำหนดวันงาน เนื่องมาจากเห็นว่าการเปิดตัวรถภายในงาน
ซึ่งทุกค่ายต่างก็กระทำกัน อาจทำให้รถรุ่นใหม่ของตนเองที่ต้องการนำมาโชว์
ขาดความ โดดเด่น
เพราะต้องไปประกบกับรถของคู่แข่งอีกหลายๆ ค่าย จึงต้องการสร้างความแตกต่างออกมาให้เห็น
โดยเฉพาะรูปแบบการเปิดตัวรถ ของ 2 ค่าย คืออัลฟ่า โรมิโอ และบีเอ็มดับเบิลยู
ซึ่งพยายามสรรหารูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างจุดเด่น โดยอัลฟ่า ได้เปิดตัวกันกลางแม่น้ำ
เจ้าพระยา โดยให้แขกรับเชิญยืนชมอยู่บนเรือโอเรียนเต็ล ควีน ซึ่งใช้งบประมาณเฉพาะในการจัดงานครั้งนี้
ถึง 8
ล้านบาท และค่ายบีเอ็มดับเบิลยู ที่ได้อาศัยบ้านของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ในซอยสวนพลู เป็นสถานที่จัดงานเปิดตัว อย่างไรก็ตาม การชิงเปิดตัวรถก่อนงานมอเตอร์โชว์
ของค่ายรถทั้ง 4
นับว่าประสบความสำเร็จพอประมาณ เพราะอย่างน้อยรถ 2 ยี่ห้อ ก็มียอดขายเข้ามาทันทีหลังเปิดตัว
โดยโตโยต้า คัมรี่ มียอดจองเข้ามาถึง 1,650 คัน ภายใน 3 วันแรก หลังเปิดตัว
ส่วนบีเอ็มดับเบิลยู
ซีรี่ส์ 7 ก็มียอดจองเข้ามาทันที 25 คัน ส่วนสีสันของงานมอเตอร์ โชว์ ปีนี้
จุดเด่นของงาน คงไปอยู่ที่ค่ายยนตรกิจ ซึ่งได้นำรถเบนท์ลีย์ รุ่น ARNAGE
LWB รถหรูช่วงยาว ซึ่งเป็นรถที่มีราคาแพงที่สุดของงาน
โดย ตั้งราคาขายไว้ที่ 35.5 ล้านบาท โดยยนตรกิจตั้งเป้าว่าจะสามารถขายได้ประมาณ
2 คันในปีนี้ ขณะที่ค่ายเดมเลอร์ ไครสเลอร์ ได้นำรถเมอร์เซเดส เบนซ์ รุ่น
S 63 AMG
รถสปอร์ตที่สร้างขึ้นมาจากเอสคลาส ออกมาโชว์ ตั้งราคาขายไว้ที่คันละ 30
ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้นำรถสปอร์ตพวงมาลัยขวาของเมอร์เซเดส เบนซ์ คือ รุ่น
CLK ซึ่งเป็นรถคูเป้ 2 ประตู
ออกมาโชว์ในงานมอเตอร์ โชว์ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในโลก โดยตั้งราคาขายไว้ที่
12.5 ล้านบาท ด้านบริษัท เอเอเอส ออโต้เซอร์วิส ผู้นำเข้ารถสปอร์ต ปอร์เช่
ก็ได้นำรถรุ่น 911 GT2 เครื่องยนต์ 3600 ซีซี
มาโชว์ โดยตั้งราคาขายไว้คันละ 23.75 ล้านบาท รถราคาสูงเหล่านี้ ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานเป็นอย่างยิ่ง
ปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานจัดการ งานมอเตอร์ โชว์ ครั้งนี้ ได้คาดว่า
จะมียอดจองรถยนต์ภายในงานปีนี้ประมาณ 8,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ซึ่งมียอดจอง
7,500 คัน และจะมีเงินหมุนเวียนเกิดขึ้นภายในงานนี้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท
ความเคลื่อนไหว
กิจกรรมที่เกิดขึ้นในวงการรถยนต์ในเดือนมีนาคม 11 มีนาคม แลนด์โรเวอร์ ประเทศไทย
ออกแคมเปญ Discovery Privilege Program ให้กับผู้ที่จองซื้อรถแลนด์โรเวอร์
ดิสคัฟเวอรี่ ทู ด้วยเงินดาวน์ต่ำสุด
19% และระยะเวลาผ่อนชำระนาน 12-60 เดือน ในอัตราดอกเบี้ย 3.19% 19 มีนาคม
ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) เปิดตัวรถฟอร์ด เลเซอร์ เทียร่า
ใหม่ 3 รุ่น คือ รุ่น 1600 VXI ทั้งเกียร์ธรรมดา
และ เกียร์ออโต้ และรุ่น 1800 GHIA ที่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล พลาซ่า 19
มีนาคม โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดตัวรถโตโยต้า คัมรี่ ใหม่ 3 รุ่น คือ
รุ่น 2.4 Q, 2.4 G และ 2.0 E พร้อมประกาศยกระดับ
รถรุ่น 2.4 Q ให้ขึ้นไปแข่งในตลาดรถหรู ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
20 มีนาคม ไทย เพรสทีจ โอโต เซลส์ เปิดตัวรถอัลฟ่า โรมิโอ 156 ซึ่งประกอบในประเทศไทย
บนเรือโอเรียนเต็ล ควีน 22 มีนาคม
บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย เปิดตัวรถซีรี่ส์ 7 รุ่น 745 Li และ 735Li ซึ่งเป็นรถนำเข้า
ที่บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซอยสวนพลู 29 มีนาคม เริ่มงานมหกรรมรถยนต์
บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์
ครั้งที่ 23 ซึ่งมีไปถึงวันที่ 7 เมษายน ที่ศูนย์แสดงสินค้า นานาชาติไบเทค