Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
ตลาดหุ้นปี 2545 บรรยากาศกระทิงเริ่มเห็นรางๆ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 





การสัมมนาในหัวข้อ "เศรษฐกิจฟื้น ธุรกิจเริ่มเข้มแข็ง ตลาดหุ้นถึงเวลาทะยาน?" ซึ่งจัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนจะกระตุ้น

ให้บรรยากาศการพูดคุยในเรื่องของตลาดหุ้นกลับมาสู่ความคึกคักอีกครั้งหนึ่ง หลังจากต้องอยู่กับภาวะซบเซาติดต่อกันมา เกือบ 5 ปีเต็ม "ช่วงตั้งแต่เกิดวิกฤติ ก็มีการจัดวงสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องหุ้น

กันหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ดูจะคึกคักที่สุด" ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ผู้ดำเนินรายการ Money Talk ซึ่งได้ไปร่วมเป็นพิธีกรในการสัมมนาครั้งนี้ด้วย กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ดร.ไพบูลย์ เคยเป็นวิทยากรเจ้าประจำ

ในฐานะนักวิชาการที่เข้าร่วมการสัมมนา และอภิปรายเรื่องตลาดหุ้นแทบทุก ครั้ง ในยุคตลาดหุ้นเฟื่องฟูระหว่างปี 2530-2538 ซึ่งระยะนั้น มีนักวิชาการที่เป็นวิทยากรร่วมกับ ดร.ไพบูลย์ประกอบด้วย

ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และดร.พิพัฒน์ พิชญาอฉริยกุล ปัจจุบัน ดร.สมคิด ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่วนดร.พิพัฒน์

เสียชีวิตไปแล้วด้วยโรคมะเร็ง ขณะที่ ดร.สมชาย ค่อนข้าง low profile ลงไปในเรื่องนี้ แต่ยังคง ทำหน้าที่เป็นวิทยากรผู้บรรยายในเรื่องของการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ

สำหรับการสัมมนาเรื่องตลาดหุ้นในครั้งนี้ ได้จัดขึ้นในช่วงเย็น บรรยากาศภายในห้องนภาลัย ของโรงแรมดุสิตธานี แน่นขนัดไปด้วย ผู้ที่เข้ามาร่วมสัมมนา ซึ่งมีทั้งนักลงทุน

เจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ฯ และสื่อมวลชน จนเก้าอี้ที่เตรียมไว้ไม่พอนั่ง "เฉพาะคนที่ซื้อบัตรเข้ามาลงทะเบียนร่วมสัมมนาครั้งนี้ ไม่ต่ำกว่า 750 คน"

เจ้าหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งทำหน้าที่ลงทะเบียนผู้เข้าสัมมนา บอก การสัมมนาเริ่มต้นด้วยการกล่าวเปิดของ ดร.สมคิด จาตุ ศรีพิทักษ์

ซึ่งพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาว่ารัฐบาลกำลังพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ พร้อมชี้ว่าเศรษฐกิจของไทยโดยภาพรวม เมื่อเปรียบเทียบกับหลายปีที่ผ่านมาดีขึ้นมาก

หลังจากนั้นเป็นการสัมมนาในช่วงแรก ซึ่งมีการพูดถึงภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย โดยผู้ที่มาเป็นวิทยากรล้วนเป็นระดับผู้นำหน่วยงานรัฐที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจ

ประกอบด้วยจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการ สภา พัฒน์, สมพงษ์ วนาภา เลขาธิการ บีโอไอ, วิโรจน์ อมตกุลชัย ประธานกรรมาธิการเศรษฐกิจ พาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา และดร.ธนวรรธน์

พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอ การค้าไทย โดยมี ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ เป็นพิธีกร การสัมมนาช่วงแรก เน้นหนักไปทางด้านวิชาการ และภาพรวม

และได้เริ่มเข้มข้นขึ้นในช่วง ที่ 2 ซึ่งมีการพูดกันลงลึกถึงเรื่องของธุรกิจและ ตลาดหุ้น ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมฟังสัมมนามากขึ้น วิทยากรที่มาร่วมอภิปรายช่วงนี้

ล้วนแต่เป็นคนระดับนำในองค์กรธุรกิจ ที่เกือบทั้งหมดมีบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ประกอบด้วยธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทเครือซีพี, ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการ

ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ, อนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ แลนด์แอนด์เฮ้าส์, อนุทิน ชาญวีรกูล กรรมการผู้จัดการ ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัค, นินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธาน

กรรมการ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย และศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส เดอะมอลล์ กรุ๊ป มี ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา เป็นพิธีกร ความที่ ดร.ไพบูลย์ เป็นคนคุยสนุก

และมักมีมุขเด็ดๆ ที่สามารถเรียกเสียงหัวเราะจากผู้เข้ารับฟังการสัมมนาได้บ่อยครั้ง ทำให้บรรยากาศช่วงนี้ไม่เป็นแบบวิชาการเหมือนช่วงแรก เพราะ

นอกจากจะเปิดโอกาสให้วิทยากรแต่ละท่านได้พูดถึงทิศทางของธุรกิจของตนเองแล้ว ยังมีการตอดเล็กตอดน้อย ให้พูดถึงเรื่องแนวโน้มของราคาหุ้นในลักษณะทีเล่นทีจริง เป็นที่ถูกใจคนที่นั่งฟังอยู่มาก

"บรรยากาศการสัมมนาครั้งนี้ เหมือนกับในช่วงปี 2536-37" ผู้ร่วมฟังสัมมนาผู้หนึ่งให้ความเห็น ปี 2536-2537 เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยบูมสุดขีด ดัชนีราคา หุ้นเคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1,700 กว่าจุด

ก่อนที่จะค่อยๆลดระดับลงมา จนกระทั่งเกิดวิกฤติในปี 2540 การเปรียบเทียบบรรยากาศในห้องสัมมนาครั้งนี้ กับบรรยากาศในห้องสัมมนาช่วงหุ้นบูม อาจเป็นเพียงความพยายามสร้างกำลังใจ

และความเชื่อมั่นของนักลงทุนผู้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาเท่านั้น แต่หากพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่แสดงออกอย่างไม่อ้อมค้อมว่าต้องการกระตุ้นตลาดหุ้น

และตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เป็นธงนำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบกับเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นตั้งแต่ต้นปี จนทำให้มูลค่าการซื้อขายกลับขึ้นมายืนเหนือระดับวันละ

1 หมื่นล้านบาท ประกอบกับความเคลื่อนไหวในวงการธุรกิจหลักทรัพย์ ที่เริ่มมีความคึกคักขึ้นมาแล้ว บ่งบอกถึงแนวโน้มได้ว่าบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นปีนี้ ไม่น่าจะหงอยเหงา เหมือน 4-5

ปีที่ผ่านมา การสัมมนาในวันนั้น มีต่อไปจนถึงช่วงดึกประมาณ 4 ทุ่มกว่าๆ เพราะหลังจากช่วงที่ 2 ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุดแล้ว ยังมีช่วงที่ 3

ที่ให้ผู้จัดการกองทุนขึ้นมาพูดถึงทิศทางการลงทุนในตลาดหุ้นของกองทุนรวม ซึ่งแม้จะมีผู้ร่วมรับฟังหลายคนทยอยเดินทางกลับบ้านไปบ้างแล้ว แต่ผู้คนที่ยังเหลือนั่งฟังอยู่ ก็ยังดูแน่นห้องประชุม

หลังเสร็จสิ้นการสัมมนา นักลงทุนที่ได้เข้าไปรับฟังดูเหมือนจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า จากนี้ไป การลงทุนในตลาดหุ้นคงจะไม่เลวร้ายลงไปกว่านี้อีกแล้ว แต่จะให้กลับมาคึกคัก

เป็นบรรยากาศกระทิงเต็มตัวเหมือนเมื่อหลายปีก่อนได้นั้น คงต้องรอให้ปัจจัยพื้นฐานปรับทิศทางให้ลงตัวก่อน รวมถึงต้องให้เวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการกระตุ้นต่อไปอีกสักระยะ ระหว่างนี้

คงต้องดูแต่เงาของกระทิงตัวใหม่ไปพลางๆ ก่อน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us