|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
MFC สรุปเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ ผ่านกองทุนรวม "สึนามิไทยแลนด์ รีคัฟเวอรี่ฟันด์" มูลค่า 1.4 พันล้านบาท จะเร่งอนุมัติวงเงินให้แล้วเสร็จภายใน 31 มี.ค.นี้ หวังพลิกฟื้นอันดามัน ควบคู่ไปกับกองทุนของสสว. วงเงินสูงสุดไม่เกิน 350 ล้านบาท
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เอ็มเอฟซี (MFC) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนในกองทุนรวม "สึนามิไทยแลนด์ รีคัฟเวอรี่ฟันด์" ว่า เป้าหมายการลงทุนเน้นการฟื้นฟูกิจการบริษัทที่มีศักยภาพให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ วงเงินไม่เกิน 350 ล้านบาท ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือควบคู่ไปกับกองทุนของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) ที่มีวงเงินให้ความช่วยเหลือจำนวน 2 พันล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท
สำหรับหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย 2. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และ 3. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคม
นายพิชิตกล่าวว่า ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย หลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนจะต้องสอดคล้องกับที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือชี้ชวนที่ยื่นให้ขอต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ส่วนเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ผู้ประกอบการที่กองทุนจะเข้าไปปล่อยกู้ หรือเข้าไปร่วมทุนจะต้องมีศักยภาพ มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล และที่สำคัญงบการเงินต้องโปร่งใส
สำหรับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับความช่วยเหลือ จะต้องดำเนินธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญจะต้องมีการจ้างงาน
"ในช่วงนี้ ธนาคารพาณิชย์จะนำเสนอข้อมูลมาให้บลจ.พิจารณาเป็นระยะ เพื่อพิจารณาคุณสมบัติ หากบริษัทไหนมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ก็มีโอกาสที่จะ ได้รับการพิจารณา โดยคาดว่าจะสามารถอนุมัติวงเงิน ช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทั้ง 6 จังหวัดได้ภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้" นายพิชิตกล่าว
สำหรับโครงสร้างคณะกรรมการพิจารณาลงทุนประกอบด้วยกรรมการ 10 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากธนาคารพาณิชย์ 4 ราย ได้แก่ธนาคารกรุงเทพ กสิกร ไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงไทย ตัวแทนจากธนาคารออมสิน 2 ราย, ตัวแทนตลาดหลักทรัพย์ 1 ราย จากบลจ.เอ็มเอฟซี 1 ราย นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคาร และตัวแทนจากกระทรวงการคลัง 1 คน
สำหรับเงินในการลงทุนคาดว่าจะเข้าในกองทุน รวมสึนามิไทยแลนด์ รีคัฟเวอรี่ฟันด์ในวันที่ 14 ก.พ. นี้ โดยจะมีเม็ดเงินเบื้องต้นประมาณ 1,400 ล้านบาท จากที่ยื่นโครงการกับก.ล.ต.มูลค่า 3 พันล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่มาจากสมาคมธนาคารไทยธนาคาร 700 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 500 ล้านบาทและตลาดหลักทรัพย์ 200 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากเงินได้มีการลงทุนหมดก็อาจจะมีการพิจารณาเพิ่มเม็ดเงินแต่จะต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การลงทุน
สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.4 พันล้านบาท มาจากกองทุนรวมสึนามิ ไทยแลนด์ รีคัฟเวอรี่ฟันด์ ส่วนกองทุนของสสว. มูลค่า 2 พันล้านบาท จะให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ประกอบการที่มีขนาดสินทรัพย์ต่ำกว่า 200 ล้านบาท โดยคาดว่าทั้ง 2 กองทุนจะสามารถอนุมัติให้กับผู้ประกอบการได้ภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้
|
|
 |
|
|