Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
ขุนพลคู่ใจ             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

ภควัต โกวิทวัฒนพงศ์ ทรีนิตี้ วัฒนา นักแสวงหา & โอกาส
ทรีนิตี้-บล.ยูไนเต็ด win-win Game

   
search resources

ทรีนิตี้, บล.
กัมปนาท โลหเจริญวนิช
ขนิษฐา สรรพอาษา




นอกเหนือไปจากภาพลักษณ์ของภควัติ โกวิทวัฒนพงศ์ เป็นแม่ทัพนั่งบัญชาการภายกลุ่มธุรกิจทรีนีตี้ วัฒนา (หลังการรวมกิจการกับ บล.ยูไนเต็ดจะกลายเป็น บล.ไทยทรีนีตี้ ยูไนเต็ด) ยังมีมืออาชีพ 2 ท่าน ซึ่งถือเป็นขุนพลของเขานั่งทำงานเคียงข้างเพื่อสร้างอาณาจักรให้แข็งแกร่ง เหมือนที่ทั้งสองเคยฝากฝีไม้ลายมือเอาไว้ใน บล.เอกธำรง

กัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการแห่งบล.ทรีนีตี้ ผู้ผ่านร้อนผ่านหนาวในวงการตลาดทุนไทยมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ดังนั้นเขาย่อมไม่ธรรมดาในสายตาภควัติ เพื่อนร่วมรุ่นสมัยเรียนธรรมศาสตร์ ที่สำคัญทั้งสองมีความรู้สึกประเภท "คอเดียวกัน" คือ การไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ เห็นได้ชัดจากการไม่เห็นด้วยในการเข้ามาเทกโอเวอร์ บล.เอกธำรงของกลุ่มคูส์ จนต้องล่าถอยออกมาจัดตั้งธุรกิจเพื่อต่อสู้ตามวิถีทางแห่งธุรกิจ

เส้นทางชีวิตการทำงานของกัมปนาทเริ่มจากนักวิจัยโท กองเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2518 เพียงแค่ปีเดียวลาออกไปทำงานที่ธนาคารกรุงไทยในตำแหน่งเศรษฐกร ฝ่ายวิชาการจากคำเชิญชวนของเพื่อน และในปี 2521 ถูกโปรโมตให้เป็นหัวหน้าส่วนคอมพิวเตอร์เพื่อดูแลโครงการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์

กัมปนาทเข้าสู่วงการตลาดทุนในปี 2522 จากคำชักชวนของสุวิชา มิ่งขวัญ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลในขณะนั้น เพื่อให้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติราชาเงินทุน ซึ่งมีผลกระทบต่อตลาดหุ้น ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการตลาดหลักทรัพย์

ณ จุดนี้เองที่เป็นสนามบ่มเพาะประสบการณ์ตลาดทุนให้กับเขา เพราะเป็นช่วงที่ตลาดทุนไทยกำลังได้รับการพัฒนาไปในลักษณะที่เป็นสากล อย่างไรก็ตามหลังจากสิริลักษณ์ รัตนากร เข้ามาเป็นกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เขามีความอึดอัดกับแนวทางการทำงานจึงลาออก

ด้วยความที่เป็นผู้บริหารหนุ่มใหญ่ไฟแรง ไม่แปลกใจที่ถูกทาบทามให้เป็นผู้จัดการสมาคม สมาคมไทยเงินทุนและหลักทรัพย์ในปี 2526 และดูเหมือนจะเป็นความยินดีของเขาด้วยที่มองเห็นปัญหาธุรกิจเงินทุนเป็นเรื่องท้าทาย แต่ก็นั่งอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ก็ลาออกไปรับตำแหน่งผู้จัดการสมาคม สมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์และสมาคมบริษัทเงินทุน แต่ดูเหมือนว่าเป็นช่วงเลวร้ายช่วงหนึ่งของกัมปนาทเนื่องจากสมาคมฯ กำลังล่มสลายจากธุรกิจซบเซาจนต้องแยกสมาคมหลักทรัพย์และเงินทุนออกจากกัน สุดท้ายต้องยุบสมาคมไทยเงินทุนฯ แล้วตั้งสมาคมบริษัทเงินทุนขึ้นแทนและสมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์โดยมีกัมปนาทนั่งควบ 2 ตำแหน่ง

เป็นเวลาถึง 8 ปี สำหรับการคลุกคลีอยู่กับหน่วยงานทางการที่ดูแลตลาดทุน ถึงเวลาแล้วที่กัมปนาทต้องพิสูจน์ฝีมือในฝั่งเอกชนซึ่งประจวบเหมาะกับปิยะพงษ์ กณิกนันท์ กรรมการผู้จัดการ บงล.ธนไทยเปิดธุรกิจหลักทรัพย์ จึงดึงเขาเข้ามานั่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการเพื่อดูแลสายงานใหม่ที่ว่า

จากการทำงานในระบบครอบครัวของกลุ่มธุรกิจดังกล่าว กัมปนาทใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปีก็สามารถสร้างให้เป็นองค์กรที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้นได้ แต่เมื่อภควัติเอ่ยปากชวนให้มาร่วมกันสร้าง บล.เอกธำรงด้วยกันเขาไม่รอช้าที่จะตอบตกลง เพราะทั้งคู่รู้จักมักคุ้นกันดีมาสมัยเรียนที่ธรรมศาสตร์

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการคือ ตำแหน่งแรกของกัมปนาทที่ บล.เอกธำรงที่ดูแลด้านสำนักงาน และในปี 2539 ถูกโปรโมตให้เป็นกรรมการผู้จัดการ และที่นี่จึงเป็นจุดสูงสุดของชีวิตการทำงานบนถนนสายนี้ และก็เป็นจุดพลิกผันเช่นเดียวกัน เพราะเขาถูกกลุ่มคูส์เข้ามายึดกุมธุรกิจ จนต้องถอยท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของเขาว่าจะมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง

ในที่สุด กลุ่มทรีนีตี้ วัฒนา เกิดขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ แต่ด้วยความเชื่อมั่นของภควัติและเพื่อนร่วมงานส่งผลให้กัมปนาทกลับมาดูแลงานที่ตนเองถนัดอีกครั้ง และดูเหมือนว่าเป็นแรงผลักดันให้เขาทำงานหนักมากกว่าเดิมเพื่อพิสูจน์ถึงความเป็นมืออาชีพในตลาดทุน

ส่วนขุนพลอีกหนึ่ง คือ ขนิษฐา สรรพอาษา กรรมการอำนวยการทรีนีตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 เป็นผู้หญิงเก่งที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นวาณิชธนากรหาคนเทียบได้ยากคนหนึ่ง ผู้ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์แห่งรั้วจุฬาลงกรณ์ฯ แต่ด้วยแรงดึงดูดจากทุนของธนาคารกสิกรไทยเธอจึงสมัครสอบและไม่ผิดหวังเมื่อได้ทุนไปศึกษาเอ็มบีเอ สาขาไฟแนนซ์ที่ University of Pennsylvania

ปี 2523 เดินทางกลับมาใช้ทุนที่กสิกรไทยในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จากนั้นถูกย้ายไปเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายกิจการสาขาในปี 2532 จนกระทั่งในปี 2534 เธอตัดสินใจลาออกหลังจากถูกทาบทามจากภควัติ ซึ่งเคยทำงานร่วมกันในกสิกรว่า สนใจงานวาณิชธนกิจกับ บล.เอกธำรงหรือไม่ แน่นอน เธอไม่รอช้าเพราะนี่เป็นโอกาสสำหรับการพัฒนาตนเอง และตลาดโดยรวมกำลังเติบใหญ่ในขณะนั้น

ขนิษฐาเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจการเงิน จากนั้นขยับเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจในปี 2536 และถูกโปรโมตขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการในปี 2539 ภายใต้ชื่อ บล.เอกธำรงเคจีไอ

ด้วยสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมืออาชีพใน บล.เอกธำรง ไม่ว่าจะเป็นภควัติ, กัมปนาท, กิตติรัตน์ ณ ระนอง (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์), พิเชษฐ์ วิภวศุภกร และชาญ ศรีวิกรม์ ทำให้ขนิษฐาบ่มเพาะวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดสูงสุดแห่งชีวิตการทำงานของเธอ คือ 2-3 ปีก่อนเศรษฐกิจไทยจะล่มสลาย เพราะช่วงนั้นเธอต้องทำงานแข่งกับเวลาจากความต้องการของลูกค้าและตลาดที่เปิดกว้าง จนกระทั่งเจอวิกฤติ เธอและเพื่อนร่วมงานต้องดิ้นรน เพื่อความอยู่รอด แต่แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุ่มเทลงไปผลตอบแทนกลับเจ็บปวดจากพันธมิตรที่เธอคิดว่าเลือกไม่ผิด

จากความไว้วางใจซึ่งกันและกันเมื่อทรีนีตี้ วัฒนา ถูกรังสรรค์ขึ้นเธอต้องเข้ามารับผิดชอบงานสายวาณิชธนกิจ ซึ่งถือเป็นงานที่รักที่สุด และจากประสบการณ์ที่มากพอที่จะทำงานในแง่เป้าหมายเธอคิดว่าจะพยายามสร้างชื่อให้ได้ก่อน โดยพุ่งเป้าหมายไปยังที่ปรึกษาทางการเงินในด้านการระดมทุนก่อนที่จะขยายงานต่อไป ที่สำคัญเธอไม่กลัวการแข่งขันเพราะการทำงานจะกว้างมากและตลาดเริ่มตอบรับดีมากขึ้น

เพียงแค่หนึ่งปีสำหรับการปลุกปล้ำทรีนีตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 ขนิษฐาดูมีความสุขกับการทำงานมาก ซึ่งเธอต้องการให้องค์กรนี้ประสบความสำเร็จและมีความสามารถในการทำกำไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us