Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
ทรีนิตี้-บล.ยูไนเต็ด win-win Game             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

ภควัต โกวิทวัฒนพงศ์ ทรีนิตี้ วัฒนา นักแสวงหา & โอกาส
ขุนพลคู่ใจ

   
search resources

ทรีนิตี้, บล.
ยูไนเต็ด,บล.




ไม่มีอะไรเป็นเรื่องราวสลับซับซ้อน มากไปกว่าการแสวงหาความเติบใหญ่ของการรวมกิจการกันระหว่างกลุ่มทรีนี้ตี้และ บล.ยูไนเต็ด นี่คือโบรกเกอร์สายพันธุ์ไทยแท้ที่พยายามยกระดับการแข่งขันให้สูงขึ้น ฐานเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจที่แข็งแกร่ง เป็นสิ่งที่กลุ่มทรีนีตี้ วัฒนา และ บล.ยูไนเต็ด ได้หลังจากรวมกิจการเสร็จเรียบร้อย พูดง่ายๆ หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสาม และจากนั้นทั้งสอง จะกลายเป็น บล.ไทยทรีนีตี้ ยูไนเต็ด

จุดเริ่มต้นแห่งดีลประจำปีนี้เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจโดยสมัยที่ บล.ทรีนีตี้ยังเป็นซับโบรกเกอร์ได้ส่งคำสั่งซื้อขายผ่าน บล.ยูไนเต็ดในสัดส่วนประมาณ 80% ขณะที่ บล.ทรีนีตี้ได้รับการบริการด้าน back office ทำให้ผู้บริหารทั้งสองฝ่ายสนิทสนมกันและเริ่มพูดคุยถึงการทำงานในอนาคต โดยเฉพาะประเด็นความแข็งแกร่งของโบรกเกอร์ท้องถิ่น

"พวกเราต้องการเป็นโบรกเกอร์คนไทยที่ก้าวขึ้นมาติดระดับต้นๆ ในอนาคต ทุกวันนี้มีหลักทรัพย์ท้องถิ่นแต่ศักยภาพเป็นไปในแบบเฉพาะด้าน" กุลวัฒน์ เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บล.ยูไนเต็ด บอก

ดังนั้นเมื่อ บล.ทรีนีตี้แข็งแกร่งในด้านธุรกิจหลักทรัพย์ ขณะที่ศักยภาพด้านวาณิชธนกิจอยู่ที่ บล.ยูไนเต็ดที่สำคัญทั้งสองมีฐานเงินทุนขนาดเล็กใกล้เคียงกัน โดยฝ่ายแรกมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ฝ่ายหลังมี 304 ล้านบาท การรวมกิจการกันจึงกลายเป็นข่าวดีสำหรับสององค์กร

"เป็นการสร้างความแข็งแกร่งอย่างหนึ่ง การรวมกันของบริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็กสองแห่งเป็นการเตรียมตัวขยายงานวันข้างหน้า" อรุณรัตน์ จิวางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ชี้ "มันก็ economy of scale ทั้งสองฝ่ายไม่ได้เสียหายเลย"

สำหรับผลประโยชน์ที่จะได้จากการรวมกิจการกันด้วยวิธีการแลกหุ้นครั้งนี้ ฝ่ายทรีนีตี้ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนทางอ้อม (black-door listing) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ขณะที่อีกฝ่ายไม่ต้องกังวลถึงการสูญเสียส่วนแบ่งตลาด และในเวลาเดียวกันอัตราค่าคอมมิชชั่นที่ได้รับก็เพิ่มขึ้นด้วย จากปัจจุบัน บล.ทรีนีตี้มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 2-3% แต่ บล.ยูไนเต็ดมีเพียง 1.5%

"หมายความว่าพวกเขาซื้อบริษัทที่ดีกว่าตัวเอง ซึ่งสามารถขยายฐานการทำธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีนัยสำคัญ" รัชนก ด่านดำรงรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าว

นอกจากนั้นเธอยังอธิบายว่าเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจวาณิชธนกิจ คาดว่าจะสร้างรายได้ที่ดีให้กับบริษัท "ปัจจุบันทุนจดทะเบียนทั้งสองใกล้เคียงกันแต่สินทรัพย์รวมของ บล.ยูไนเต็ดใหญ่กว่า 1.5 เท่า ดังนั้นต้องออกหุ้นใหม่เพื่อซื้อหุ้นทั้งหมดของทรีนีตี้ โดยระยะสั้นจะเกิด Dilution effect แต่ Synergy ที่เกิดขึ้นในระยะยาวน่าจะมีน้ำหนักมากกว่า"

สำหรับเก้าอี้ที่นั่งการเป็นโบรกเกอร์เบอร์ 22 ของบล.ทรีนีตี้ คาดว่าจะนำใบอนุญาตการทำธุรกิจหลักทรัพย์ออกขายในอนาคต เนื่องจาก บล.ยูไนเต็ดมีอยู่แล้ว เหมือนกับ บล.แอ๊ดคินสันซื้อใบอนุญาตมาจาก บล.อินโดสุเอซ ดับบลิว.ไอ.คาร์ เป็นจำนวนเงิน 285 ล้านบาท

"เช่นเดียวกัน หากทรีนีตี้ขายออกก็จะมีราคาเช่นกันแล้วรายได้จะเข้ามาในไทยทรีนีตี้ ข้อดีก็คือ ส่วนต่างของกำไรจากการขายใบอนุญาต" รัชนกเล่า

ส่วนผลของการรวมกิจการจะเห็นเด่นชัดในครึ่งปีหลัง จากการคาดการณ์ของฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ ณ สิ้นปี 2545 บล.ไทยทรีนีตี้ จะมีกำไร 161 ล้านบาท และมีมูลค่าบัญชีต่อหุ้น 5.60 บาท จากที่ขาดทุนสุทธิในปีที่แล้ว 9 ล้านบาท เนื่องจากได้รับค่าคอมมิชชั่นต่ำมาก แต่หลังจากรวมกับทรีนีตี้กำไรจะพุ่งขึ้นจากค่าคอมมิชชั่นที่ได้รับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.25% รายได้ค่าธรรมเนียมที่จะเพิ่มขึ้นประกอบกับมูลค่าการซื้อขายของตลาดโดยรวมก็เพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ดี การเพิ่มทุนของ บล.ยูไนเต็ดที่จะมาแลกหุ้นกับทรีนีตี้ วัฒนา ดูเหมือนว่าจะสร้างความแปลกใจให้กับตลาดพอสมควรเพราะไม่คาดคิดว่าจำนวนการเพิ่มทุนจะมากมายถึง 111.13 ล้านหุ้น ทำให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 172 ล้านหุ้น เนื่องจากไม่เพียงแต่จะเพิ่มทุนเพื่อแลกหุ้นกับบริษัทที่มีศักยภาพสูงอย่างทรีนีตี้แล้ว ยังถือโอกาสเพิ่มทุนขายผู้ถือหุ้นเดิมด้วยจำนวน 30.44 ล้านหุ้น ขายที่ราคาพาร์เท่ากับ 5 บาท

"หุ้นที่ออกให้กับกลุ่มทรีนีตี้จำนวน 63.75 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 6.24 บาท ดูเหมือนจะถูกเกินไปเมื่อเทียบกับราคาตลาดของ บล.ยูไนเต็ด" รัชนกอธิบาย "แต่เราเชื่อว่าเป็นการแลกหุ้นที่คุ้มค่าในระยะยาวเพราะทำให้พวกเขาแข็งแกร่งทั้งในแง่ขนาด คือ ฐานทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวและศักยภาพในการหารายได้"

หลังการแลกหุ้นกลุ่มทรีนีตี้จะถือหุ้น 37% ในไทยทรีนีตี้ และจะเพิ่มเป็น 47% หากใช้สิทธิ์ซื้อลูกหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 16.94 ล้านหุ้น ที่เสนอขายเฉพาะเจาะจง แม้ต้องจ่ายแพงกว่า 6.24 บาทก็ตาม และในอนาคตมีโอกาสซื้อเพิ่ม เพื่อให้มีสัดส่วนการถือหุ้น 50% จากศักยภาพการประกอบธุรกิจ

การกำจัดจุดอ่อนของการดำเนินธุรกิจระหว่างกลุ่มทรีนีตี้และยูไนเต็ด ดูเหมือนจะเป็นการพูดภาษาเดียวกันจากการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาในอดีต นั่นคือ การประสานผลประโยชน์ให้กับองค์กรธุรกิจ และผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่สุด

"ถ้าฐานเงินทุนเราไม่โตขณะที่เศรษฐกิจเติบโต เราจะไปตามคู่แข่งไม่ทัน" ภควัติ โกวิทวัฒนพงศ์ กรรมการอำนวยการกลุ่มทรีนีตี้บอก "ในแง่การแข่งขัน ถ้าปริมาณการซื้อขายหุ้นกลายเป็นหมื่นล้านบาทต่อวัน ถ้าสัดส่วนของเรามีมากพอสมควรมันก็ต้องมีฐานทุนที่ใหญ่เพื่อรองรับการขยายตัว"

กระนั้นก็ดีคำถามอยู่ที่ความขัดแย้งในการดำเนินกิจการโดยเฉพาะความทับซ้อนของลูกค้า แต่ดูเหมือนว่าอุปสรรคที่ว่าไม่เป็นที่กังวลของผู้บริหาร เนื่องจากยูไนเต็ดมีกลุ่มลูกค้าในแถบถนนเพชรบุรี และมีสาขาที่รังสิต นครปฐม และนครสวรรค์ ขณะที่ทรีนีตี้ล้วนแล้วแต่มีลูกค้าแถวสีลมและสาทร ส่วนต่างจังหวัดมีสาขาที่หาดใหญ่ 2 แห่ง เชียงใหม่ และปัตตานี

บล.ยูไนเต็ด ก่อตั้งในปี 2514 ในนามซิลโก้ ด้วยทุนจดทะเบียน 5 แสนบาทโดยกลุ่มครอบครัว "สุขะนินทร์" ต่อมาในปี 2532 ผู้ถือหุ้นเดิมขายกิจการทั้งหมดให้กับกลุ่ม "ว่องกุศลกิจ" และกลุ่ม "เจนวัฒนวิทย์" แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นบล.ยูไนเต็ดและเป็นโบรกเกอร์หมายเลข 38 ในปี 2536 และหนึ่งปีถัดมาเป็นสมาชิกศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้เบอร์ 49

ในปี 2538 ปรับโครงสร้างถือหุ้นของบริษัทโดยบริษัททาวน์ เรียล เอสเตท ซื้อหุ้นจากกลุ่มมอร์แกน เกรนเฟลล์ เอเชีย โฮลดิ้ง และวิคเคอร์ส บัลลาส โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ได้เข้ามาถือในปี 2533

ปี 2540 ขาดทุนสะสม 317 ล้านบาทจึงได้ปรับโครงสร้างทางการเงิน อีกสามปีถัดมาตั้งยูไนเต็ด แอ็ดไวเซอรี่ เซอร์วิส เพื่อให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ถัดมาอีกปีทำการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป และปีนี้ประกาศรวมกิจการกับกลุ่มทรีนีตี้ประกาศความเป็นโบรกเกอร์สัญชาติไทยเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งต่างชาติ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us