ดีลรวมกิจการ บล. ยูไนเต็ดและทรีนีตี้ล้ม นักลงทุนสวด สร้างความเสียหายหลังจากเข้าซื้อหุ้น
หลังจากเห็นแนวโน้มดี ก.ล.ต.เตรียมตรวจสอบรู้ล่วงหน้าแล้วไม่แจ้ง
ส่วนเรื่องนักลงทุนที่เสียหายจากราคาหุ้นต้องไปร้องที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ นักวิเคราะห์รับหุ้น
US ปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยน เผยคน US เสียเปรียบเรื่องเก้าอี้เลยต้องล้ม มาร์เก็ตติ้งจี้ผู้บริหาร
2
โบรกต้องรับผิดชอบ นายศิริพงษ์ สมบัติศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์
(บล.) ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) หรือ US เปิดเผยภายหลังการประชุม วิสามัญประจำปี
2545 ว่า
ที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกวาระการประชุมส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการกับบริษัทในกลุ่มทรีนิตี้
และมีมติอนุมัติในเรื่องการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 11,125,286 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
5
บาทรวมเป็นทุนจดทะเบียน 172 ล้านหุ้น การยกเลิกมติการควบรวมกิจการกับกลุ่มบริษัททรีนิตี้
หลังจากที่ ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจไป แล้วก่อนหน้านี้
เนื่องจากไม่สามารถที่จะเจรจาในรายละเอียดเกี่ยวกับแผน การดำเนินธุรกิจในอนาคตได้จึงจำเป็น
ต้องยกเลิก "เรื่องนี้เพิ่งมีการเจรจากันเมื่อคืน
นี้แล้วไม่สามารถตกลงในรายละเอียดในด้านวิธีการที่จะควบรวมได้ จึงต้องมีการยกเลิก
ซึ่งเรื่องนี้พยายามที่จะไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล แม้แต่ที่ปรึกษาทางการเงินก็ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว
แต่การยกเลิกการควบรวมครั้งนี้ก็เป็น มติที่เห็นชอบทั้ง 2 ฝ่าย โดยต่อไปจะมีการเจรจากันใหม่หรือไม่ขณะนี้ไม่สามารถบอกได"
ในส่วนของราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้หลังจากที่บริษัทได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าเบื้องต้นว่าจะมีการควบรวมนั้น
บริษัทได้มีการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิในส่วนเดิมที่จะออกให้แก่กลุ่มทรีนิตี้
โดยจะจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นแทน ซึ่งหุ้นจะขึ้นเครื่อง หมาย XR ภายในวันที่
24 พฤษภาคมนี้
ดังนั้นผู้ที่ซื้อหุ้นจนถึงกำหนดดังกล่าวจะมีสิทธิได้รับใบสำคัญดังกล่าว
ในอัตรา 2 หุ้นเดิมต่อ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ
สำหรับมติการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิให้แก่ผู้ถือหุ้นจะมีการนำเข้าสู่การประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่
20 พฤษภาคม เพื่อขออนุมัติ ในส่วน ของแผนการดำเนินงานหลังจากยกเลิกการควบรวม
ในส่วนของ
บล.ยูไนเต็ดคงจะไม่ได้รับผลกระทบ โดยปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาด 1.2%
ซึ่งในอัตราค่าคอมมิสชั่น 0.25% เป็นระดับ ที่บริษัทสามารถมีกำไรและอยู่รอดได้
ส่วนโครงสร้างรายได้มีรายได้จากการค้าหลักทรัพย์ 50% ธุรกิจด้านวาณิชธนกิจ
40% และรายได้อื่นๆ อีก 10% ทั้งนี้ ตามข้อตกลงเดิมก่อนที่จะมีการยกเลิกนั้น
คณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์
ยูไนเต็ดให้เข้าควบรวมกับกลุ่มบริษัททรีนิตี้ โดยการเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ
บล.ทรีนิตี้, บริษัททรีนิตี้ อินฟอร์เมชั่น และบริษัททรีนิตี้ แอ๊ดไวเซอร์รี่
2001 และออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทให้แก่ 3
บริษัทเป็นการตอบแทน แจกวอร์แรนต์ชดเชย บริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด
(มหาชน) ขอชี้แจงให้ทราบว่า ตามที่คณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้เข้าควบรวมกิจการกับบริษัทกลุ่มทรีนิตี้
โดยการเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้,บริษัททรีนิตี้
อินฟอร์เมชั่น และบริษัท ทรีนิตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 และออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทให้แก่
ผู้ถือหุ้นของ 3
บริษัทดังกล่าวเป็นการตอบแทน ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจไปแล้วนั้นเนื่องจากจนถึงปัจจุบันไม่สามารถที่จะเจรจาในรายละเอียด
เกี่ยวกับแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้
ดังนั้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2545 ของบริษัท จังได้มีมติให้ยกเลิกวาระการประชุมส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการกลับบริษัทกลุ่มทรีนิตี้
และมีมติอนุมัติในเรื่องการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 111,125,286 หุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท รวมเป็นทุนจะทะเบียน 172 ล้านหุ้น โดย 1. จำนวน
30,437.357
หุ้นเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมที่มีรายชื่อปรากฏ ณ วันปิดสมุด ทะเบียนวันที่
25 เมษายน 2545 ตามสัดส่วนในอัตราส่วนการจองซื้อ 2 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่โดยมีราคาเสนอขายหุ้นละ
5
บาทและกำหนดระยะเวลาการเสนอขายในวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2545 ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นเดิมมีสิทธิแสดงความจำนงที่จะจองซื้อนอกเหนือจากสิทธิได้ในราคาเดียวกัน
2. จำนวน 60,874,714
หุ้นสำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมที่มีรายชื่อปรากฏ
ณ วันปิดสมุดทะเบียนวันที่ 25 เมษายน 2545 ที่ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามข้อ
1 ในอัตราส่วน
1 หุ้นสามัญใหม่ต่อ 2 ใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยไม่มีราคาเสนอขายและใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวมีอายุ
3 ปีและมีราคาการใช้สิทธิ 5 บาทต่อ 1 หุ้นสามัญ 3. จำนวน 4,500,000
หุ้นสำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิที่เสนอขายแก่กรรมการและพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย
โดยมีอายุ 5 ปีและมีราคาการใช้สิทธิ 5 บาทต่อ 1 หุ้นสามัญ 4. จำนวน
15,313,215 หุ้นเสนอขายให้แก่ บุคคลในวงจำกัด ทั้งนี้การออกและเสนอขายใบสำคัญแสดง
สิทธิตามข้อ 2 และ 3 จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งได้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ก่อน ภายหลังจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้จะทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น
860
ล้านบาทซึ่งเป็นการขยายฐานเงินทุนของบริษัทสำหรับรองรับการขยายธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอนาคต
ทำให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนมากขึ้น
ก.ล.ต.เตรียมดูเจตนา แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) กล่าวว่า
เรื่องดังกล่าวจะต้องเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จะเข้าไปตรวจสอบ
เนื่องจากการล้มการเจรจานี้ทำให้มีผู้ที่เสียประโยชน์เป็นจำนวนมาก
เพราะตอนที่มีการประกาศรวมกิจการกันนั้นทำให้หุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ยูไนเต็ดปรับตัวเพิ่มขึ้นไปพอสมควร
"ในส่วนของ ก.ล.ต.มีหน้าที่ที่จะต้องดูว่า เหตุผลที่ไม่สามารถควบกิจการกันได้นั้นของทั้ง
2
บริษัททราบล่วงหน้านานแค่ไหน เพราะโดยหลักการแล้วเมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะต้องแจ้งต่อผู้ถือหุ้นในทันที
นักลงทุนเสียหาย เจ้าหน้าที่การตลาดรายหนึ่งกล่าวว่า เมื่อตอนที่บล.ยูไนเต็ด
แจ้งขอต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อหยุดพักการซื้อขายหุ้นของบริษัทเป็นการชั่วคราว
ในช่วงการซื้อขายภาคบ่าย ของวันที่ 18 เมษายน 2545 เนื่องจากจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นกรณีพิเศษ
ในเวลาประมาณ 15.00 น. ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อระดับราคาหุ้นของบริษัท ทำให้ทุกคนเริ่มตั้งข้อสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นกับยูไนเต็ด
เพราะการประชุมกรรมการบริษัท
ถ้าเป็นเรื่องปกติหุ้นก็ซื้อขายได้ตามปกติ แต่การขอหยุดพักการซื้อขายก็แสดงว่า
น่าจะมีเรื่องที่เป็นข่าวเชิงบวกหรือเชิงลบกับทางบริษัท แต่คาดว่าน่าจะเป็นเชิงลบมากกว่า
เนื่องจากราคาหุ้น US
ได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปิดที่ 19 บาท ลดลง 0.4 บาทหรือลดลง 2.06%
มูลค่าการซื้อขาย 103.27 ล้านบาท หลังจากนั้นก็มีการพูดกันว่าการควบรวมกิจการระหว่างยูไนเต็ดกับทรีนีตี้ล้มลง
จึงทำให้บรรยากาศการซื้อขายหุ้นในกลุ่มหลักทรัพย์แย่ลง ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่การควบรวมกิจการของโบรกเกอร์ทั้ง
2 ไม่สามารถดำเนินตามจุดประสงค์เดิมนั้น
ทำให้มีผู้เสียหายจากการเข้าไปซื้อหุ้น US เนื่องจากเห็นว่าการควบรวมกิจการจะทำให้เกิดผลดีกับ
US ราคาหุ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 ปิดที่ 13.80 บาท รุ่งขึ้น (1
มี.ค.45)
มีการประกาศการควบรวมกิจการทำให้ราคาขยับขึ้นไปปิดที่ 17.70 บาท เพิ่มขึ้น
28.26% และราคาหุ้นได้พุ่งขึ้นไปถึง 20.60 บาท เท่ากับเพิ่มขึ้น 46.28%
"เรื่องตรงนี้คงจะต้องมีหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบ เพราะผู้ที่เข้าไปซื้อหุ้นก็เห็นความชัดเจนในการควบรวมทุกระยะ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนหุ้น 63.748 ล้านหุ้นที่ US ออกให้เพื่อแลกหุ้นกับทรีนีตี้
หรือการแจกแจงรายละเอียดว่าผู้บริหารของทรีนีตี้จะได้รับการจัดสรรหุ้นเท่าไหร่
เราไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ทำให้ดีลนี้ไม่ผ่าน แต่ที่แน่ๆ เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว
และถือว่าผู้บริหารทั้ง 2
แห่งไม่มีความรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น พื้นฐานเปลี่ยน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า
"เราทราบ แต่เพียงว่าการจัดสรรตำแหน่งผู้บริหารไม่ลงตัว เนื่องจากคนของ US
มองว่าการรวมครั้งนี้ตัวเองมีสถานะเป็นรองทรีนีตี" เมื่อดีลนี้ล้มลงปัจจับพื้นฐานของบริษัทหลักทรัพย์ยูไนเต็ดก็จะเปลี่ยนไปจากเดิม
เพราะปัจจุบันทรีนีตี้มีสถานะเป็นโบรกเกอร์
สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้เอง จึงทำให้ส่วนแบ่งการตลาด ของยูไนเต็ดลดลงไป
และส่วนแบ่งการตลาดของทรีนีตี้ก็สูงกว่ายูไนเต็ด เชื่อว่าดีลนี้น่าจะจบลงเพียงเท่านี้
รายได้ของยูไนเต็ดก็จะต้องลดลง
ขณะที่รายได้จากงานด้านวาณิชธนกิจของยูไนเต็ดก็อาจจะสู้ทรีนีตี้ ไม่ได้
ที่สำคัญคือการเพิ่มทุนของ US เมื่อธุรกรรมหลักไม่เกิดขึ้นแล้วจะนำเงินไปขยายกิจการอย่างไร
คงจะเป็นสิ่งที่คาใจนักลงทุนอยู่ไม่น้อย สิ่งที่เกิดขึ้นจะกระทบกับราคาหุ้นของ
US ในวันนี้ แต่ทางผู้บริหารของยูไนเต็ดก็แก้ลำด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม
คือการให้ใบสำคัญแสดงสิทธิ 2
ใบสำหรับผู้ที่เข้าซื้อ หุ้นเพิ่มทุนใหม่ของ US เพื่อประคองไม่ให้ราคาหุ้นของ
US ปรับตัวลดลงไปมาก นักลงทุนจะต้องพิจารณาว่าถ้าไม่มีทรีนีตี้ร่วมทีมแล้ว
US จะเป็นอย่างไร
และเงื่อนไขที่ผู้บริหารเสนอมานั้นคุ้มค่าหรือไม่