ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง เตรียมรีไฟแนนซ์เงินกู้มูลค่า 4.25 หมื่นล้านบาท
เผย 2 ทางเลือกคือ การออกหุ้นกู้ หรือขอ ลดอัตราดอกเบี้ยวงเงินกู้เดิม คาดสรุปได้เร็วๆ
นี้
ระบุสามารถลดภาระดอกเบี้ยจ่ายได้กว่า 1 พันล้านบาท ส่วนโครงการร่วมทุนกับกฟผ.
เพื่อติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก จะสามารถเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปี
2547 วานนี้ (18 เมษายน) บริษัท
ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ได้รับโอนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรีชุดที่
1 และ 2 จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
ไทย (กฟผ.) หลังจากที่เลื่อนรับมอบโอนโรงไฟฟ้ามาแล้ว 2 ครั้ง กำลังการผลิตรวม
1,450 เมกะวัตต์ มูลค่าทรัพย์สินรวม 18,715.965 ล้านบาท พร้อมทั้งจะเบิกเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้ง
19 แห่ง
เพื่อชำระค่าโรงไฟฟ้าดังกล่าว นายบุญชู ดิเรกสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท
ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่าง
การหาแนวทางการปรับโครงสร้างทางการเงิน (รีไฟแนนซ์) เงินกู้ทั้งหมด 42,500
ล้านบาท ซึ่งอาจจะออกหุ้นกู้หรือรีไฟแนนซ์หนี้เงินกู้เดิม โดยจะเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
คาดว่าจะสรุปผลได้เร็วๆ นี้
ปัจจุบันบริษัทเบิกเงินกู้จากสถาบันการเงิน ทั้ง 19 แห่ง เพื่อชำระค่าโรงไฟฟ้าคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น
36,000 หมื่นล้านบาท และจะเบิกเงินกู้เพิ่มอีกประมาณ 5,600 พันล้านบาท
เพื่อชำระค่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชุดที่ 3 ที่จะรับโอนในเดือนพฤศจิกายนปีนี้
หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร กรรมการ ผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด
ในฐานะที่ปรึกษาการออกหุ้นกู้ของบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา
2 ทางเลือก คือ เจรจาขอให้แบงก์เจ้าหนี้เดิมลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง จากเดิมที่คิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
เท่ากับค่าเฉลี่ย MLR ของ 4 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์
จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
(มหาชน)
แนวทางที่สอง คือ การออกหุ้นกู้ เพื่อนำเงินมาชำระคืนเงินกู้ ซึ่งบริษัทคาดว่าจะสามารถสรุปแนวทางได้ภายใน
3-4 วันนี้
โดยขณะนี้มีความเป็นไปได้ที่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เดิมจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง
ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถประหยัดเงินที่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ย จ่ายได้นับ
1 พันล้านบาท
ขณะนี้เราเจรจากับแบงก์เจ้าหนี้เดิมเพื่อขอให้ลดดอกเบี้ยเงินกู้จำนวน 37,000
ล้านบาท ส่วนจะลดได้เท่าใดนั้น ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรอง
คาดว่าภายใน 3-4
วันนี้จะได้ข้อสรุป ทำให้บริษัทประหยัดเงินได้เป็นพันล้านบาท ส่วนวงเงินกู้ที่เหลือที่อยู่ระหว่าง
การรอเบิกชำระค่าโรงไฟฟ้าชุดที่ 3 ไม่ได้นำมาเจรจาด้วย เพราะยังไม่ถึงกำหนดเวลาการขอเบิก
จ่ายเงินกู้
โดยความเห็นส่วนตัว การเจรจาขอลดดอกเบี้ยมีความเป็นไปได้สูง ขณะที่การออกหุ้นกู้มีความเสี่ยงในการขายหุ้นกู้
และค่าธรรมเนียม ในการดำเนินการ แม้ว่าการออกหุ้นกู้จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า
แต่เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายแล้วจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก นายบุญชู กล่าวเพิ่มเติมถึง
โครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย กับกฟผ.
ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่เขื่อนของกรมชลประทาน ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเป็นของประชาชนในพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า
คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้
และจะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้า เข้าระบบกฟผ.ได้ภายในเดือนกันยายน 2547 สำหรับโครงการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กดังกล่าว
บริษัทราชบุรีพลังงาน จะถือหุ้นใหญ่ประมาณ 51% และกฟผ.
49% มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 1 พันกว่าล้านบาท ซึ่งแหล่งเงินทุนจะมาจากกระแสเงินสดในการดำเนินงาน
และเงินกู้ยืม โดยปัจจุบัน RATCH มีกระแสเงินสดอยู่ประมาณ 1 พันล้านบาท ภายหลังจาก
การจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 1 บาท นายบุญชู กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนอกรูปแบบ
หรือพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ให้คุ้มค่า
จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเป็นค่าพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากอัตรารับซื้อไฟ
ตามโครงการ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 0.20 บาทต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้า
ทั้งนี้กฟผ.และ RATCH จะติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่เขื่อนกรมชลประทานรวมทั้งสิ้นจำนวน
3 โครงการ คือ เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี
และเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 14 เมกะวัตต์,
8 เมกะวัตต์, และ 10 เมกะวัตต์ ตามลำดับ โดยมีระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่ปี
2545-2547
และจะเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าในวันที่ 30 กันยายน 2547 เป็นต้นไป นายวิทยา คชรักษ์
ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้า พลังความร้อนร่วมทั้ง
2 ชุด
ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก และใช้น้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ 0.25% เป็นเชื้อเพลิงสำรอง
โดยมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 1,450 เมกะวัตต์ แต่ละชุดมีกำลังผลิต 725
เมกะวัตต์
ประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซจำนวน 2 เครื่อง กำลังผลิตเครื่องละ 230 เมกะวัตต์และเครื่องกังหันไอน้ำจำนวน
1 เครื่อง กำลังผลิต 265 เมกะวัตต์ สำหรับระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมนั้น
ในด้านคุณภาพอากาศ โรงไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักอยู่แล้วจึงมีมลสารต่ำ
และมีการดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ปลายปล่องของโรงไฟฟ้าทุกปล่อง นอกจากนี้
ยังมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้าด้วย ในด้านคุณภาพน้ำ
ได้มีการติดต่อหอหล่อเย็นเพื่อลดอุณภูมิน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ก่อนที่จะนำกลับไปใช้ใหม่หรือปล่อย ลงสู่บ่อพัก เพื่อทำการบำบัดอีกหลายขั้นตอนก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการกำจัดกากของเสีย และมีมาตรการ
ความปลอดภัยในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า และดูแลชุมชนบริเวณใกล้เคียงสม่ำเสมอ
เสนอหุ้น 40% ให้ประชาชนทั่วไป ส่วนนโยบายการแปรรูป นายวิทยา กล่าวว่า
กฟผ.จะกระจายหุ้นให้กับประชาชนในสัดส่วนประมาณ 40-45% เพื่อเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในไตรมาส 3 ปี 2546 ซึ่งเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
โดยรัฐบาลจะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่เกิน 50% โดยการกระจายหุ้นเข้าตลาดนี้จะไม่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน
แต่จะนำหุ้นเดิมที่มีอยู่ขายให้กับประชาชน
โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาทางการเงินศึกษาถึงมูลค่าหุ้นที่จะเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป
สำหรับรูปแบบการนำบริษัทเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น อยู่ระหว่างการพิจารณา
อยู่ 2
แนวทาง คือ แนวทางแรก การนำกลุ่มบริษัทเข้าจดทะเบียนเหมือนกับบริษัท ปตท.
จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ขณะที่แนวทางที่จะจะแยกออกเป็น 3 บริษัท เพื่อนำเข้าจดทะเบียน
ได้แก่ บริษัท
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จำกัด บริษัท โรงไฟฟ้าพลังความร้อน จำกัด และบริษัท
สายส่งไฟฟ้า จำกัด โดยส่วนตัว ผมต้องการนำทั้งกลุ่มบริษัท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เหมือนปตท.
เพราะสามารถระดมทุนได้เงินมากกว่า อีกทั้งการแยกเป็นรายบริษัทจะทำให้เกิดการแข่งขันกันเอง
ปัจจุบันกฟผ. มีสินทรัพย์รวม 4 แสนล้านบาท อัตราหนี้สินต่อทุนมากกว่า 2 ต่อ
1 เท่า
กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 1.5-1.6 หมื่นเมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศรวม
2.2 หมื่นเมกะวัตต์ โดยขณะนี้มีโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้าระบบคือ โรงไฟฟ้ากระบี่
ขนาด 300 เมกะวัตต์
เข้าระบบภายในปลายปีนี้ โรงไฟฟ้าลำตะคอง 2 โรง ขนาด 250 เมกะวัตต์ จะเข้าระบบในเดือนสิงหาคม
2545 ปัจจุบันกำลังสำรองไฟฟ้าส่วนเกินมีอยู่ประมาณ 30%
ขณะนี้ที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าปีนี้คาดว่าจะโตประมาณ 3-4% และปีหน้าจะโตขึ้นอีก
4% ดังนั้น กำลังสำรองไฟฟ้าคาดว่าจะสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าอีกประมาณ 2-3
ปีข้างหน้า แต่ในปี 2550
จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าเข้าระบบอีก 1500-2000 เมกะวัตต์ ส่วนการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าเก่า
(รีเพาเวอริ่ง) ถ้าจะทำจะต้องใช้เวลาประมาณ 4 ปี ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตอีก
60-70%
สำหรับเงินทุนจะจัดหาจากเงินกู้ต่างประเทศ โดยกระทรวงการคลังจะต้องเป็นผู้ค้ำประกัน
และเงิน บางส่วนจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นโยบายการแปรรูปกิจการไฟฟ้าของรัฐบาล
กฟผ.ได้ดำเนินการตามนโยบายมาตั้งแต่ปี 2535 จนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2539 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรี
ขนาดกำลังผลิตทั้งหมด 3,645
เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศขึ้น
ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 2 เครื่อง รวม 1,470 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
3 ชุด รวม 2,175
เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก นอกจากนี้ ตามแผนแม่บทการแปรรูปของ
รัฐบาลในปี 2541 ระบุให้ กฟผ.จัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด
(มหาชน) เพื่อระดม
ทุนจากโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี และจัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือขึ้น เพื่อรับซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
ทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกัน และที่ดินจาก
กฟผ.ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดย บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี
จำกัด จะดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบให้กับ กฟผ.ได้ส่งมอบโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีทั้ง
2 เครื่อง
กำลังผลิต 1,470 เมกะวัตต์ มูลค่า 30,472.492 ล้านบาท ไปเมื่อ 31 ตุลาคม
2543