แฉเงื่อนปมสำคัญในการจับรวมการสื่อสารฯ เข้ากับองค์การโทรศัพท์ฯ เรื่องปัญหาการรวมกิจการองค์การโทรศัพท์ฯ
และการสื่อสารฯ ประธานสหภาพระบุ กลุ่มเอกชน หวังไม่จ่ายค่าต๋ง
อ้างไม่มีคู่สัญญาคาดทำให้รับเสียประโยชน์ มูลค่าไม่ตำกว่า 3 แสนล้านบาทตลอดระยะเวลาสัญญาสัมป
ทานแถมเด้งสองไม่ต้องแปรสัญญาทันทีเพราะสัญญาถูกยก เลิกหมดแล้ว
ขณะที่ปลัดคมนาคมยืนยันยังได้เงินตามเดิม การรวมกิจการระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
(ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เป็นประเด็น ที่ถูกสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ทศท.คัดค้านอย่างหนัก ซึ่งวานนี้สหภาพได้ทำหนังสือคัดค้านถึงนายศรีสุข จันทรางศุ
ปลัดกระทรวงคมนาคมอีกครั้งเพื่อให้นำไปพิจารณาตัดสิน นายมิตร เจริญวัลย์
ประธานสหภาพ แรงงาน ทศท.กล่าวว่า
สหภาพได้คัดค้านการ รวมกิจการกับกสท.เนื่องจากทำให้รับเสียหาย เพราะจะทำให้คู่สัญญาระหว่างทศท.กับเอกชน
อาทิ TT&T, TA ,TAC ,AIS
จะไม่ต้องจ่ายสัญยาสัมปทานแก่รัฐทันทีเพราะทศท.และกสท.ถูกยกเลิกไปแล้ว เหลืออยู่เพียง
แผนกหนึ่งในบริษัท ไทยเทเลคอม เท่านั้น ทำให้เป็นช่องว่างทำให้เอกชนไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทาน
ซึ่งหากนับรวมตลอดสัญญาทุกฉบับ จะมีมูลค่าถึง 3 แสนล้านบาท เมื่อนับจากวันยกเลิกสัญญาถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
"การรวมกิจการทศท.กับกสท.ทำให้ไม่จำเป็นต้องแปรสัญญาสัมปทาน
เพราะสัญญาถูกยกเลิกหมดแล้ว และทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าต๋งให้รัฐทันที ซึ่งการผลักดันให้รวมกิจการเกิดจากสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย
โดยอ้างว่าเป็นแนวคิดของรัฐบาล แต่จากการสอบถามพบว่า
รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้สั่งให้เพียงนำไปศึกษาแนวทางเท่านั้น ไม่สั่งให้รวม
กิจการ แต่มีการแอบอ้าง ขณะที่ดร.สมคิด จาตศสรีพิทักษ์ รมว. คลังเองก็ปฏิเสธว่าการรวมกิจการไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล
แต่
กลับมีความพยายามให้มีการรวมกิจการ" นอกจากนี้เขาระบุว่า ขณะนี้ TT&T
ได้ทำการฟ้องศาลปกครองแล้วว่าจะไม่จ่ายค่าสัมปทานแก่ทศท.โดยอ้างว่าขณะนี้
ไม่มีองค์การโทรศัพท์ฯแล้ว
ซึ่งศาลปกครองก็รับฟ้องไว้แล้วทำให้เอกชนรายอื่นอาจจะทำเหมือนกัน ส่งผลให้รายได้เข้ารัฐหายไปทันที
"การยกเลิกทศท.และกสท.ก็ทำให้ต้องมีการเปลื่ยนมือคู่สัญญาใหม่ ซึ่งเอกชนต้องเป็นชอบด้วย
แต่หากเอกชนไม่เห็น ชอบก็มีปัญหา" ทั้งนี้นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพฯทศท.ได้ทำหนังสือ
ถึงนายศรีสุขระบุว่า ตามที่ท่านในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกิจการร่วมค้า
(Steering Commitlee)
ได้มีหนังสือชี้แจงให้สหภาพแรงงานฯทราบถึงความชัดเจนในปัญหาต่างๆ รวมทั้งหมด
8 ข้อ รายละเอียดตามหนังสือที่อ้าง ถึงนั้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การโทรศัพท์ฯได้จัด
การประชุมสัมมนา
และชี้แจงทำความเข้าใจกับพนักงานและสมาชิก ในประเด็นต่างๆ ทั้ง 8 ข้อ ปรากฏว่ามีปัญหาเกี่ยวกับ
ความชัดเจนในข้อที่ 3,4 และ 5 ดังนี้ 1. ความไม่ชัดเจนในข้อที่ 3. คือ สิทธิ
ทรัพย์สิน และผลประโยชน์ต่างๆ
ตามสัญญาร่วมการงานต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทั้งสององค์การ นั้น หากมีการจัดตั้งบริษัท
Thai Telecom และให้องค์การโทรศัพท์ฯ และการสื่อสาร (ด้าน โทรคมนาคม) เป็นหน่วยงานภายใต้บริษัท
Thai Telecom
แล้ว สหภาพแรงงานฯ เห็นว่า มีความ เสี่ยงสูงที่จะทำให้บริษัทร่วมการงานทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็น TA, TT&T, AIS และ TAC ปฏิเสธการจ่ายเงินส่วนแบ่งรายได้ให้กับรัฐ
เนื่องจากองค์ การโทรศัทพ์ฯ
และการสื่อสารฯ ซึ่งเป็นคู่สัญญา ได้มีการเปลี่ยนสถานะภาพเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งใน
บริษัท Thai Telecom เท่านั้น บริษัทร่วมการงานจะอ้างได้ว่า "มิได้เป็นคู่สัญญากับบริษัท
thai Telecom" 2.
ความไม่ชัดเจนในข้อ ที่ 4. คือ บริษัทร่วมการงานต้องปฏิบัติตามสัญญาที่มีต่อทั้งสอง
องค์กรอย่างเคร่งครัด เช่น ค่าเสื่อมต่อวงจร สหภาพแรงงานฯ เห็นว่าในขณะที่ยังมิได้มี
การรวม และจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่
ปรากฏว่าบริษัท แทค ผู้ให้บริการโทรศัทพ์เคลื่อนที่ระบบ 1800 ได้ ยกประเด็นค่าเชื่อมโครงข่ายยื่นต่อศาลปกครอง
โดยบริษัทฯ ปฏิเสธการจ่ายค่าเชื่อมโครงข่ายเลข หมายละ 200 บาท ดังนั้น
หากมีการรวมกิจการทั้ง 2 องค์การ แล้ว จะทำให้ "บริษัท แทค ปฏิเสธการจ่ายค่าเชื่อมโครงข่ายเลขหมายละ
200 บาท เนื่องจากองค์การโทรศัพท์ฯ และการสื่อสารฯ เป็นบริษัทเดียวกัน"
ซึ่งทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ค่าเชื่อมโครงข่าย 3. ความไม่ชัดเจนในข้อที่
5 คือ สถาน ภาพของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั้งสองจะต้อง ต่อเนื่องไปยังหน่วยงานใหม่นั้น
หาก องค์การโทรศัพท์ฯ
และการสื่อสารฯ (ด้านโทรคมนาคม) ต้องเป็นหน่วยงาน (Business Unit) ภายใต้บริษัท
Thai Telecom แล้ว สถานภาพของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไม่สามารถต่อเนื่องไปได้
ซึ่งพนักงานจะต้องไปดำเนินการตามขั้นตอนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจบริษัท
thai Telecom ขึ้นใหม่ สรุป การทำความเข้าใจกับพนักงานและสมาชิกแล้ว เห็นว่ายังมีประเด็นปัญหาความไม่ชัดเจน
ดังกล่าวข้างต้น นอกจากนั้น พนักงานและสมาชิกยังได้ตำหนินโยบายที่ไม่แน่นอนในการแปรสภาพองค์การโทรศัพท์ฯ
อันทำให้องค์การโทรศัพท์ฯ ต้องสูญเสียงบประมาณ
และสูญเสียเวลาในการเตรียมการปรับเปลี่ยนองค์กร อีกด้วย ดังนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
สหภาพ แรงงานฯ จึงไม่เห็นด้วย และคัดค้านการแปรสภาพองค์การโทรศัทพ์ฯตามแนวทางที่กระทรวง
คมนาคม
และกระทรวงการคลัง กำลังดำเนินการอยู่ แจงผลประชุมเตรียมรวมกิจการ ก่อนหน้านี้สหภาพฯได้ทำหนังสือคัดค้านไป
ยังคณะกรรมการพิจารณาการรวมกิจการ คณะกรรมการบริหารกิจการร่วมค้า (Steering
Committee) ในการประชุม ครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2545 ได้พิจารณาปัญหาต่าง
ๆ ที่ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของทั้งสององค์กรขอ ความชัดเจนแล้ว ซึ่งนายศรีสุข
จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม
ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการร่วมค้า (Steering Committee) ได้ชี้แจงดังนี้
1. สิทธิประโยชน์ ผลตอบแทน และสภาพ การจ้างของพนักงานทั่งสององค์กรต้องไม่ต่ำกว่า
เดิม เช่น หุ้นจำนวนหนึ่ง ในเรื่องนี้
คณะกรรมการฯมีความประสงค์ ที่จะให้พนักงานของทศท. และกสท. ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์
ผลตอบแทน และสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม
โดยยังคงยืนยันนำเรื่องการจัดสรรเงินจำนวนหนึ่งและหุ้นจำนวนหนึ่งในสัดส่วน
6:2:2 ตามที่ได้มีการตกลงกันไว้เสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ และคณะ
รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
และจากการพิจารณาของคณะกรรมการฯ เห็นว่า การรวมกิจ การของทั้ง 2 หน่วยงาน
เข้าด้วยกันน่าจะทำให้หุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2. ความมั่นคงในการทำงานของพนักงานทั้งสององค์กร
จะต้องไม่มีการถูกเลิกจ้าง
คณะกรรมการฯ ขอยืนยันว่าพนักงานของ ทั้งสององค์กรจะมีความมั่นคงในการทำงานตาม
สัญญาการจ้างงานที่ผูกพันกันอยู่ และนับอายุการ ทำงานต่อเนื่องกันไป 3. สิทธิ
ทรัพย์สิน และผลประโยชน์ต่างๆ
ตามสัญญาร่วมการงานต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทั้งสององค์กร ในการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
ครั้งที่ 2/2545 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2545 ที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันว่าจะโอนทรัพย์สินทั้งหมดของ
ทศท.
และกสท. (ด้านโทรคมนาคม) ในปัจจุบัน รวมทั้งทรัพย์สินร่วมการงานและโครงข่าย
(Network) ทั้งหมดไปยังบริษัทที่จะจัดตั้งใหม่ เพื่อเป็น การสร้าง Synergy
รายได้และมูลค่ากิจการให้กับบริษัทฯ
อีกทั้งจะทำให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป เป็นการผนึกกำลังของ
ทั้งสององค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อเข้าสู่ตลาดทำให้บริษัทที่จัดตั้งใหม่มีความสมบูรณ์แบบในการให้
บริการแก่งประชาชนและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบริษัทฯ ดังกล่าวต่อไป 4.
บริษัทร่วมการงานต้องปฏิบัติตามสัญญา ที่มีต่อทั้งสององค์กรอย่างเคร่งครัด
เช่น ค่าเชื่อม ต่อวงจร คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่า
เนื่อง จากในปัจจุบันสัญญาร่วมการงานระหว่างบริษัท เอกชนกับหน่วยงานคู่สัญญาภาครัฐยังคงมีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายต่อไป
ตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ มาตรา 80 ดังนั้น
คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องมีภาระข้อผูกพันและการปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป 5.
สถานภาพของสหภาพแรงงานรัฐวิสาห- กิจ ทั้งสองจะต้องต่อเนื่องไปยังหน่วยงานใหม่
ในเรื่องนี้กระทรวงการคลังในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทของทศท.
และกสท. ได้มีหนังสือหารือไปยังกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว
ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงแรงงานฯ ซึ่งได้ติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามในส่วนของ กสท. ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 องค์กร คือ กสท. (ด้านโทรคมนาคม)
และด้านไปรษณีย์นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน คณะกรรมการฯได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังนำเรื่องนี้หารือไปยังกระทรวงแรงงานฯ
และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาให้เกิดความชัดเจนต่อไป 6. ขอให้มีผู้แทนของสหภาพแรงงานทั้งสอง
เป็นคณะกรรมการร่วมดำเนินการด้วย การประชุมของคณะกรรมการฯ ได้เชิญผู้แทนสหภาพแรงงานฯ
ของทั้ง 2
หน่วยงานเข้าร่วม ประชุมทุกครั้งด้วยแล้ว 7. ขอให้รัฐยืนยันการช่วยเหลืองบประมาณ
ให้บริษัทไปรษณีย์ และในเรื่องสิทธิประโยชน์ ของ พนักงาน โดยต้องไม่น้อยกว่าเดิม
คณะกรรมการฯเห็นด้วยกับข้อเสนอทั้งสอง ของสหภาพฯ และจะนำเสนอต่อรัฐบาลให้ความ
ช่วยเหลือและสนับสนุนกิจการไปรษณีย์ต่อไป
โดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณเงินช่วยเหลือกิจการไปรษณีย์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
เตรียมการจัดตั้งบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ส่วนในเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานไปรษณีย์ก็ยังคงได้รับไม่น้อยกว่าเดิม
ตามที่ได้มีการพิจารณาในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทของทศท. และกสท.
8. กิจการใหม่ที่เกิดจากการรวมกิจการของ
ทั้งสององค์กร จะต้องมีการบริหารงานที่มีความคล่องตัวเหมือนธุรกิจเอกชน
เพื่อสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการเดิมได้ คณะกรรมการฯ ขอชี้แจงว่า
ในการจัดตั้งบริษัทใหม่จะมีความคล่องตัวในการดำเนินงานเพื่อให้สามารถแข่งขันกับเอกชนได้
ผู้บริการมีอิสระในการดำเนินงานและในแง่พนักงานก็จะไม่ได้รับผลกระทบ
เพราะเป็นการนำโครงสร้างองค์กรเดิมของทศท. และกสท. มาจัดตั้งเป็น Business
Unit I (ทศท.) และ Business UnitIl (กสท. โทรคมนาคม) เพียงแต่ปรับโครงสร้างการ
บริหารการจัดการให้เป็นระบบเดียวกัน เช่น
เรื่อง โครงสร้างเงินเดือน ซึ่งคณะกรรมการฯ มีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้โครงสร้างเงินเดือนของหน่วย
งานที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา และปรับ ระเบียบการจัดซื้อจ้างให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
เป็นต้น
โดยพนักงานยังคงทำงานในสถานที่ทำงานเดิม มีบรรยากาศการทำงานเช่นเดิม