Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 เมษายน 2545
CPF ชี้ Q1/45ยอดขายโต15%             
 


   
search resources

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, บมจ.




"เจริญโภคภัณฑ์อาหาร" มั่นใจไตรมาสแรกปีนี้ยอดขาย โต 10-15% เนื่องจากตลาดส่งออกขยายตัวขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและราคา โดยเฉพาะเนื้อไก่ส่งออก

ยืนยันไม่ได้รับผลกระทบจากการตรวจเข้มหาสารตกค้างจากสหภาพยุโรป ลั่นยอดขายทั้งปีคาดว่าเป็นไปตามเป้าหมาย 8.2 หมื่นล้านบาท นายอดิเรก ศรีประทักษ์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า ยอดขายในไตรมาส 1/2545 เติบโตเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 10-15% เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 15,700

ล้านบาท หรือคิดเป็นยอดขายรวม 17,270-18,055 ล้านบาท คาดว่า ยอดขายทั้งปี 2545 น่าจะอยู่ที่ระดับ 82,000 ล้านบาท สาเหตุที่ยอดขายปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาขายและปริมาณอยู่ในเกณฑ์ที่ดีในตลาดส่งออก

โดยเฉพาะเนื้อไก่ขยายตัวทั้งในแง่ปริมาณและราคา ซึ่งในไตรมาสแรกปีนี้ CPF ส่งออก ไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 70-80% จากยอดส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วส่งออกเพียง

60% โดยตลาดสหภาพยุโรปขยายตัวปีละ 30% สำหรับกรณีที่สหภาพยุโรปตรวจพบสารไนโตรฟูแรนต์นั้น CPF ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว เพราะมีการตรวจเข้มงวดก่อนส่งออกไก่และกุ้งอยู่แล้ว

แต่เชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลดีต่อธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร โดย CPF ส่งออกไก่ไปจำหน่ายในสหภาพ ยุโรปประมาณ 35-40% ญี่ปุ่น 40% ที่เหลือส่งออกไปยังเกาหลีและสิงคโปร์ เป็นต้น

ปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของ CPF 40% จะมาจากธุรกิจอาหารสัตว์บก สัตว์น้ำ ซึ่งมีความมั่นคงในแง่ของรายได้ โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 60% และ 40% ตามลำดับ ส่วนรายได้ที่เหลือ 35% จะมาจากการขายไก่

ไข่ไก่ หมูในประเทศ ซึ่งกำไรแต่ละตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ทำให้การควบ คุมกำไรไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ตาม เฉลี่ยแล้วกำไร ขั้นต้นยังคงไปได้ดี โดยมีส่วนแบ่งการตลาดไก่ 1 ใน 3 ของประเทศ

ส่วนหมู มีส่วนแบ่งการตลาด 20% ส่วนรายได้ที่เหลืออีก 20-25% จะมาจากการส่งออกไก่ และกุ้ง โดยมีอัตราการขยายตัวที่ดี เพราะประเทศมีข้อได้เปรียบทางด้านพื้นฐานวัตถุดิบ แรงงาน และค่าเงิน ซึ่งคาดว่า

ในส่วนนี้จะมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้น เพราะในปีนี้บริษัทได้ขยายการลงทุนโรงงานอาหารสัตว์น้ำในประเทศจีน มูลค่าลงทุน 400-500 ล้านบาท และคาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุนภายในระยะเวลา 3-5 ปี นอกจากนี้ CPF

ยังได้ลงทุนในธุรกิจไก่ครบวงจร มูลค่าลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการผลิตเนื้อไก่แช่แข็ง และเนื้อไก่แปรรูป เพื่อการส่งออกประมาณ 105,000 ตันต่อปี สำหรับการลงทุนในต่างประเทศของบริษัท

อาทิ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย อินเดียนั้น ยังมีกำไรเข้ามา ยกเว้นการลงทุนในประเทศสหรัฐ- อเมริกาที่ยังรับรู้ผลขาดทุนอยู่ โดยในปี 2544 มีผลขาดทุนสุทธิ 14.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยคาดว่าจะสามารถลดการขาดทุนได้หมดในปีนี้ ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุว่า สำนักงานมาตรฐานอาหารของอังกฤษ (FSA) แถลงผลการตรวจสอบเนื้อไก่นำเข้าจากไทย และบราซิลพบว่า

มีสารไนโตรฟูแรนต์ปนเปื้อนอยู่ 5 ตัวอย่างใน 45 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นของไทย 3 ตัวอย่าง และบราซิล 2 ตัวอย่าง แต่ปริมาณสารปนเปื้อนยังต่ำมาก และทาง FSA

ไม่ได้แนะนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการรับประทานแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังมีการพบสารไนโตรฟูแรนต์ ในตัวอย่างของไก่ที่วางขายใน Tesco ของ Belfast แต่ตัวอย่างนี้ยังไม่ทราบว่ามาจากประเทศใด

นับเป็นข่าวจิตวิทยาทางลบต่ออุตสาหกรรม ส่งออกไก่ของไทย โดยเฉพาะ CPF และ GFPT ซึ่งเป็นผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดี

ผลกระทบต่อการดำเนินงานจะไม่มาก เนื่องจากสาร ปนเปื้อนที่พบมีน้อยมาก และเชื่อว่าทางอังกฤษจะยังไม่มีการยกเลิกการนำเข้าไก่จากไทย เพียงแต่จะตรวจสอบเข้มงวดต่อไปอย่างน้อยถึงมิถุนายนศกนี้

ด้านผู้บริหารของ CPF เชื่อมั่นว่าไก่ที่ส่งออกไปยุโรปและขายใน Tesco จะไม่ใช่ของ CPF แน่นอน เพราะบริษัทใช้ไก่จากฟาร์มของตนเองและ Contract farm ทั้งหมด ซึ่งสามารถควบคุมการใช้สารปฏิชีวนะได้

นอกจากนั้นการส่งออกทุกล็อตที่การตรวจสอบเข้มงวด รายย่อยเสนอยืดอายุวอร์แรนต์ ด้านบรรยากาศการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เมื่อวานนี้ (17 เมษายน) มีผู้ถือหุ้น CPF

ได้เสนอให้บรรจุวาระเพิ่มเติมคือ การขอยืดอายุใบสำคัญสิทธิชุดที่ 1(CPF-W1) ออกไปอีก 2 ปีจากเดิมวอร์แรนต์ดังกล่าว จะหมดอายุเดือนมิถุนายนนี้ โดยให้เหตุผลว่าการยืดอายุ CPF-W1เป็นเวลา 2 ปี

จะช่วยยอดขายของ CPF เพิ่มขึ้นประมาณ 10-15% ตรงจุดนี้จะส่งผลให้ราคาใช้สิทธิน่าจะดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม มีผู้ถือหุ้นราย อื่นแสดงความไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่าอายุวอร์ แรนต์เป็นสิ่งที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทฯได้เสนอให้นับคะแนนเสียงว่าสมควรให้มีการยืดอายุ CPF-W1 ออกไป เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม ปรากฏว่า มีผู้ถือหุ้นเห็นด้วยในการยืดอายุวอร์ แรนต์เพียง 1.2 ล้านหุ้น

จึงส่งผลให้ข้อเสนอยืดอายุ CPF-W1 ไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมฯ ซึ่งจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่าย หรือคิดเป็นจำนวนเสียง 1,297 ล้านหุ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us