ปี2545 "วิโรจน์ นวลแข" เร่งสะสางปัญหาภายในแบงก์กรุงไทย โดยเฉพาะ
ปฏิรูปสาขา-พนักงาน เพื่อรองรับเศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า เตรียมขายหนี้เอ็นพีแอล
6 หมื่นล้านราคา 60-70%
ให้บสท.เร่งลดสินทรัพย์รอการขาย 2 หมื่นล้านเพื่อสร้างเงินคืนกับธนาคาร
พร้อมเปลี่ยนโฉมบริการธนาคารเป็น 24 ชั่วโมง นายวิโรจน์ นวลแข กรรม-การผู้จัดการ
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
เปิดเผยเป้าหมายของธนาคารในปี 2545 ว่า มีหลายปัญหาที่ธนาคารจะต้องพยายาม
สะสางให้แล้วเสร็จเพื่อทำให้ธนาคาร สามารถดำเนินธุรกิจและแข่งขันกับ ธนาคารพาณิชย์อื่นได้
ซึ่งภารกิจเร่งด่วนคือ
จะต้องจัดการทุกเรื่องภายในธนาคารให้เรียบร้อยก่อน "ต้องล้างบ้านเพื่อให้บ้านมีความสะอาดเพราะจากการประเมิน
เศรษฐกิจนับจากนี้ไป 1-2 ปีเศรษฐกิจน่าจะเริ่มดีขึ้น เพราะฉะนั้น
ธนาคารต้องเร่งทำความสะอาดบ้านให้แล้วเสร็จหากปีนี้ยังไม่สามารถทำได้อีกปีหน้า
และปีต่อๆไปก็จะเป็นเรื่องที่ยากเพิ่มขึ้นตลอด ภารกิจที่ว่าคือ สางปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ
การระบายสินทรัพย์รอการขาย
การปฏิรูปสาขา รวมถึงการปฏิรูปคนของแบงก์กรุงไทยด้วย" นายวิโรจน์กล่าว
สำหรับหนี้ด้อยคุณภาพที่มีปัญหาอยู่กับธนาคารจำนวน 6 หมื่นล้านบาทจะดำเนินการขายหนี้ดังกล่าวให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์
ไทย (บสท.) ซึ่งธนาคารคาดว่าจะขายได้ในราคา 4.7 หมื่นล้านบาทหรือในราคาประมาณ
60-70% จากราคามูลหนี้ที่มีอยู่ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มียอดหนี้ต่ำกว่า
50 ล้านบาท โดยธนาคารไม่ได้รับเป็นเงิน
สดจากการขายหนี้ดังกล่าว แต่จะได้รับเป็นตั๋วเงินแทน (ซึ่งธนาคารจะได้รับดอกเบี้ยจากการถือตั๋วเงิน
ดังกล่าว) ธนาคารจะดำเนินการขาย ให้กับบสท.ให้แล้วเสร็จภายในเดือน
พฤษภาคมนี้เพราะได้มีการประชุมหารือกับบสท.มาแล้วกว่า 2 สัปดาห์ "ธนาคารจะเหลือหนี้ที่ต้องบริหารจัดการประมาณ
2 หมื่นล้าน บาท ขณะเดียวกันธนาคารก็ต้องเร่งจัดการกับสินทรัพย์รอการขายที่มีอยู่
2
หมื่นล้านบาทโดยจะเปิดให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เข้ามาประมูล อีกครั้งเพื่อนำสินทรัพย์ดังกล่าวไป บริหารต่อไปเป้าหมายของธนาคารคือต้องจัดการ
ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ทั้งหมด" นายวิโรจน์กล่าวอย่างชัดเจนว่า เป้าหมายการขยายสินเชื่อปีนี้จะเป็นไปได้ตามแผนที่วางไว้
170,000 ล้านบาท
โดยสินเชื่อส่วนใหญ่จะเน้นการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเพราะไม่มีความเสี่ยง
เฉพาะเดือนเมษายนเดือน เดียวแม้ว่ายังไม่จบเดือนธนาคารยังสามารถปล่อยกู้ไปแล้ว
45,000 ล้านบาท
"การให้ความสำคัญกับการปล่อยกู้กับหน่วยงานรัฐทำให้ธนาคารไม่ต้องมีภาระเรื่องการ
ตั้งสำรองและการปล่อยสินเชื่อให้กับรัฐบางครั้งก็ได้รับการค้ำประกันอีกด้วยจึงถือว่าไม่มีความเสี่ยง"
นายวิโรจน์กล่าว
สนองลูกค้าคือหัวใจแบงก์กรุงไทย นายวิโรจน์ กล่าวว่า ในส่วนของการปฏิรูป
สาขา ธนาคารต้องการให้สาขาเปิดให้บริการ24 ชั่วโมงแต่ไม่ได้หมายความว่าทุกสาขาต้องเปิดให้บริการลูกค้า
24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ให้สาขาแต่ละแห่งเป็นผู้บริหารจัดการเองว่าจะดำเนินการได้หรือไม่
"ในความเป็นจริงแล้วธนาคารต้องการให้สาขาเป็น CEO เพราะปัจจุบัน มีผู้ว่าราชการจังหวัด
CEO
อยู่แล้วและเป็นสิ่งที่ไม่แปลกที่ธนาคารกรุงไทยจะมี สาขา CEO" นายวิโรจน์กล่าวและย้ำว่า
"ผมมั่นใจว่ากรุงไทยทำสาขา CEO
ได้เพราะปีนี้ระบบรีเอ็นจิเนียริ่งของสาขาเสร็จสมบูรณ์แน่ ในขณะที่การรีเอ็นจิเนียริ่งคนก็เสร็จแล้ว
โครงสร้างผู้บริหารใหม่ก็เสร็จไปแล้วและใช้มาแล้วเมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพราะฉะนั้นลำดับต่อไปคือต้องเปิดให้บริการกับลูกค้าได้24
ชั่วโมง โดยที่พนักงานของแบงก์ไม่ต้องทำงาน 24 ชั่วโมง แต่ให้ระบบงานทำหน้าที่แทนโดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์"
ขณะเดียวกันเป้าหมายที่จะทำให้ธนาคารเป็นจริงได้ พนักงานระดับผู้จัดการสาขาต้องเขียน
เป้าหมายหรือแผนการทำงานว่าใน 6 เดือนจะทำอะไรบ้างเสนอมา 6 ข้อ เพราะหากเกิน
6 ข้อผู้จัดการสาขาจะไม่สามารถปฏิบัติได้ สำหรับสินเชื่อผู้บริโภค ที่ส่วนใหญ่เป็นราย
ย่อยมาก ๆนั้น
ธนาคารยังไม่มีความชำนาญ และเชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบก็ยังไม่มีใครรู้เรื่อง
นี้จริงเหตุที่ธนาคารยังไม่เน้นเพราะยังไม่มีข้อมูล
ที่แท้จริงไม่มีความพร้อมในช่วงนี้ธนาคารกำลังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาหาข้อมูลอยู่คาดว่าใช้เวลาประมาณ
6 เดือนนับจากนี้ สินเชื่อผู้บริโภค บริษัทจีอี และ
อิออนธนสินทรัพย์เท่านั้นที่มีความชำนาญในเรื่องนี้และมีฐานลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจนและถือว่าเป็นบริษัท
ที่รู้เรื่องนี้จริงและบริษัทเหล่านี้ไม่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.)
ทำให้สามารถทำธุรกรรมได้สะดวกและรวดเร็วกว่าธนาคารพาณิชย์และที่สำคัญไม่ต้องมีภาระการตั้งสำรองเหมือนกับธนาคารพาณิชย์