ประธานตลท. เผยมี 2 แนวทางในการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ เสนอให้กระทรวง คลังพิจารณา
ทั้งลดโครงสร้างกรรมการ หรือตั้งบริษัทลูกรับทำ งานปฏิบัติการ พร้อมพอใจภาพรวมตลาดหุ้นไตรมาสแรก
นายชวลิต
ธนะชานันท์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า
ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาการปรับองค์กรตลาดหลักทรัพย์เป็นองค์กรเอกชน ได้จัดทำแนวทาง
การแปรรูป ตลท.
เสร็จเรียบร้อยแล้วจะนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป สำหรับแนวทาง
ในการแปรรูป ตลท.มีอยู่เพียง 2 แนวทาง คือ การปรับปรุงโครงสร้าง คณะกรรมการ
ตลท. ให้มีความหลากหลาย
และสะท้อนความมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ในตลาด ทุนมากขึ้น ด้วยการลดสัดส่วนตัวแทนจากบริษัทหลักทรัพย์ที่เดิมมี
5 คน เหลือ 3 คน โดยให้ตัวแทน 2 คน ที่ถูกลดลงไป มาจาก
การสรรหาของคณะกรรมการสรรหากรรมการ ตลท. ขณะที่อีกแนวทางหนึ่งคือการจัดตั้งบริษัทลูกในรูปของบริษัทปฏิบัติการหรือ
อ็อปโค ได้มีการวางแนวทางเบื้องต้นไว้แล้ว แต่ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี
เนื่องจากเป็นเรื่องที่ต้องผ่านขั้นตอนนิติบัญญัติจากรัฐสภาก่อน ทั้งนี้
การแปรรูปของ ตลท. จะหยุดอยู่แค่ 2 แนวทางดังกล่าวก่อน โดยจะยังไม่มีการดำเนินการในเรื่องการกระจายหุ้นให้กับประ-
ชาชนทั่วไป
และนำหุ้นของ ตลท. เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่า
การแปรรูปอย่างเต็มรูปในลักษณะดังกล่าว
จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาระบบตลาดทุนของประเทศมากน้อยเพียงใด "การขายหุ้นให้กับประชาชนยังเป็นเรื่องที่ไกลเกินไป
และไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง เพราะเมื่อ ตลท.
แปรรูปเป็นเอกชนแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่า ตลท. จะยังทำทุกอย่างเพื่อนักลงทุนอย่างแท้จริง
เนื่องจากตัวเองก็ต้องเปลี่ยนบทบาทไปทำธุรกิจเพื่อแสวงหากำไรมากขึ้น ส่วนการจัดตั้งอ็อปโคนั้น
จะต้องมีการกำหนดออกมาว่าจะให้ใครเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนเท่าใด ใครเป็นเจ้าของ
และจะมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร ซึ่งประเด็นที่ว่าการจัดตั้งอ็อปโคแล้วจะทำให้การดำเนินงาน
ของ ตลท.
ปลอดการแทรกแซงจากการเมืองหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่พูดยาก แต่ที่แน่ ๆ
คือ จะทำให้การดำเนินงานของ ตลท. มีความคล่องตัวมากขึ้น" Q1'45 พอใจ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์
กล่าวต่ออีกว่า
ผลการดำเนินงานของ ตลท.ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาว่า โดยภาพรวมถือว่าน่าพอใจ
เพราะดัชนีราคาหุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากเมื่อ สิ้นปีที่แล้วถึงร้อยละ 27-28
ขณะที่มาร์เกตแคป ก็ปรับตัวสูงขึ้นกว่าร้อยละ 40
มาอยู่ที่ 1.96 ล้านล้านบาท แต่จุดที่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร คือ
การเพิ่มบริษัทจดทะเบียนในตลท.รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) โดยในส่วน
ของบริษัทเอกชนมีจำนวนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
ส่วนรัฐวิสาหกิจนั้น ปรากฏว่ายังไม่มีรัฐวิสาหกิจ แห่งใดที่สามารถเข้าจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลท.เพิ่มเติม
หลังจากที่ปีก่อนมีรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือ บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย หรือไอเน็ตและบริษัท
ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าจด ทะเบียน ขณะเดียวกัน กลับมีบริษัทจดทะเบียน เดิมหลายแห่งที่ขอเพิกถอนตัวเองออกไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีบริษัทเอกชนอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเข้าจดทะเบียนทั้งในตลท.
และเอ็มเอไออยู่ประมาณ 30 บริษัท ซึ่งทุกบริษัทแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการกระจายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป (ไอพีโอ) ได้ตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไป
ทำให้ ตลท.มั่นใจว่า
เป้าหมายการเพิ่ม บริษัทจดทะเบียนของทั้ง 2 ตลาด รวม 50 บริษัทในปีนี้ที่เคยประกาศออกไป
จะเป็นไปตามที่วางไว้ สำหรับปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้ม ตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้ไป
ปัจจัยหลักยังเป็นเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มีทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจน
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บริษัทที่กำลังเตรียมเข้าจดทะเบียนใน ตลท.
เกิดความ ลังเล เพราะหากเศรษฐกิจไม่ดีอย่างที่คาดการณ์
ไว้ จะส่งผลต่อการเสนอขายหุ้นของบริษัททันที เท่าที่ทราบขณะนี้มีหลายบริษัทที่อยู่ในภาวะต้องตัดงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ
ลงไปค่อนข้าง มาก สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทเหล่านี้มองว่าทิศทาง
เศรษฐกิจยังไม่ดีนัก "แม้ภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาส ที่แรกผ่านมายังดูไม่ดีนัก
โดยจากข้อมูลของเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ตัวเลขการส่งออกที่เป็นตัวจักรสำคัญอย่างหนึ่งในการฟื้นเศรษฐกิจยังปรับตัวลดลงร้อยละ
8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
แต่ก็ถือว่าเร็วไปที่จะมาสรุปถึงทิศทางเศรษฐกิจในปีนี้ทั้งปีซึ่งยังเหลือเวลาอยู่อีกหลายเดือน
โดยยอมรับว่า การที่เศรษฐกิจ ไทยจะฟื้นตัวหรือไม่ จะต้องดูทิศทางของเศรษฐกิจโลกด้วย
โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หากเศรษฐกิจสหรัฐฯดี ประเทศไทยก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย"
นายชวลิต กล่าว รายงานข่าวจาก ตลท. ระบุว่า บริษัทจดทะเบียนที่เข้าจดทะเบียนใน
ตลท.ในไตรมาสแรกที่ผ่านมามีจำนวน 1 บริษัท ได้แก่ บริษัทไอทีวี ส่วนที่เข้าจดทะเบียนในเอ็มเอไอมี
1 บริษัทเช่นกันคือ บริษัท ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) ขณะที่บริษัทจดทะเบียนที่ขอเพิกถอนออกจาก
ตลท.มีจำนวน 4 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทเงินทุน เอไอจี ไฟแนนซ์ (ประเทศไทย)บริษัท
ชลประทาน ซีเมนต์บริษัท ยูไนเต็ดฟูดส์ และบริษัท เดอะโคเจเนอเรชั่น